pawarisa


การพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์

การพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีปลายเปิดในชั้นเรียน 

                   การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายเท่าที่ควร  เนื่องจาก

ส่วนใหญ่ยังเป็นบรรยากาศการเรียนรู้ตามหลักสูตรแบบเดิม  ซึ่งก็คือหลักสูตรที่ยึดหนังสือเรียนเป็นสื่อการสอน  โดยการสอนเป็นแบบครูอธิบายหรือบรรยายตามเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเรียน  จากนั้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียน  โดยแบบฝึกหัดที่ปรากฏในหนังสือเรียนหรือคู่มือที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์เอกชน  ส่วนใหญ่ยังเน้นการคำนวณในเรื่องต่าง ๆ และเทคนิคในการทำโจทย์แบบฝึกหัด  ให้ได้ในระยะเวลาสั้นเพื่อเตรียมตัวสอบมากกว่าเน้นที่กระบวนการคิด   เด็กไม่เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

จากปัญหาดังกล่าวจึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีปลายเปิดในชั้นเรียน  กลุ่มเป้าหมายคือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2551 เนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนคือเรื่อง  อัตราส่วนและร้อยละ  ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 12  แผน แผนละ 1 ชั่วโมง  และใช้แบบฝึกทักษะแบบปลายเปิดจำนวน 12  แบบฝึก ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติแบบฝึกด้วยตนเองโดยใช้วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่หลากหลาย  โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและคอยช่วยเหลือในเวลาที่นักเรียนมีปัญหา จากนั้นคำคะแนนที่ได้จากแบบฝึกมาวิเคราะห์การพัฒนาการเรียนรู้

 ผลจากการพัฒนาพบว่านักเรียนมีการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น  เนื่องจากแบบฝึกทักษะปลายเปิดมีคำตอบที่หลากหลาย  มีกระบวนการในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย  และปัญหาแบบปลายเปิดไม่ได้เน้นการได้มาเพียงแค่คำตอบ  แต่เน้นไปที่การค้นหาวิธีการคิดที่แตกต่างกันนำไปสู่คำตอบ  ทำให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันในชั้นเรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเอง   ปัญหาปลายเปิดเปิดโอกาสให้นักเรียนจำนวนมากสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเต็มศักยภาพ   และลักษณะเด่นของปัญหาปลายเปิดอีกประการหนึ่งคือ  สามารถดึงกระบวนการทางคณิตศาสตร์ออกมาจากนักเรียนได้มาก  และสามารถนำนักเรียนไปสู่การค้นพบสูตร  กฎ  หลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตัวของนักเรียนเอง

ผลสู่ความสำเร็จ  How  to…

1.สำรวจการจัดการเรียนรู้ของครู

2.วางแผนออกแบบกิจกรรม  คิดนวัตกรรม  กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

3.กำหนดนวัตกรรม

4.สร้างนวัตกรรม  ทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม

5.นำนวัตกรรมมาทดลองใช้  ปรับปรุงแก้ไข

6.นำมาใช้จริง

7.ประเมินผลการใช้

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ed km
หมายเลขบันทึก: 226048เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท