อัตตลักษณ์ไหมมัดหมี่เมืองชลบต ไม่ใช่ไหมสามกะตอ


เรื่องเล่าจากโรงทอผ้า

มีความเข้าใจกันมากในเรื่องอัตตลักษณ์ผ้าเมืองชลบตที่ว่า ผ้าไหมมัดหมี่เมืองชลบตเป็นผ้าไหมประเภทที่ทอ 3 ตะกอ แต่สำหรับผมไม่ได้คิดเห็นว่าเป็นเช่นนั้น

จากการสำรวจและเจอช่างทอผ้าในเขตเมืองชลบต ซึ่งในปัจจุบันเมืองชลบตเดิมมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่อำเภอชนบท อำเภอแวงใหญ่ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล อำเภอมัญจาคีรี อำเภอแวงน้อย และอำเภอหนองสองห้อง พบว่าพื้นฐานการทอผ้าของคนแถบนี้ในสมัยก่อนเป็นผ้าทอแบบสองตะกอเท่านั้น

ผู้คนแถบนี้มีกลุ่มชนสองกลุ่มคือ กลุ่มคนลาวซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ และ กลุ่มฟากซี(ฟากชี)อยู่แถบตะวันตกของเมืองแถบแวงน้อย มัญจาคีรีซึ่งพูดภาษาออกไปทางชัยภูมิหรือทำเนียงแปร่งไปทางไทเลย ซึ่งคนคนลาวเรียกกลุ่มคนที่พูดภาษาเช่นนี้ว่า ไทฟากซี(แม่น้ำชี)

การทอผ้าของกลุ่มชนทั้งสองกลุ่มในเขตเมืองชลบตนี้ผลิตผ้าไหมมัดหมี่แบบสองตะกอเท่านั้นไม่พบว่ามีผ้าโบราณที่ทอจากพื้นที่แถบนี้เป็นผ้าทอแบบสามตะกอเลย จะพบเพียงผ้าหน้านางหรือผ้าปูมในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งช่างทอแถบเมืองพล ชนบททอขายให้กับนายหน้าที่เอาผ้าไปขายเชียงใหม่อีกทอดหนึ่ง

คุณสมบัติที่ดีของผ้าสองตะกอแบบโบราณนั้นมีหลายประการ ทั้งนี้จึงเป็นที่นิยมของผู้คนแถบนี้อาทิ ผ้าสองตะกอสามารถเก็บตะกอ(เก็บเขา) ได้ง่ายหาซื้อง่ายในพื้นที่   ผ้าไหมมัดหมี่สองตะกอให้ผ้าที่มีลวดลายสีสันเท่ากันทั้งสองด้าน  ผ้าไหมสองตะกอมีการขัดกันพอดีเมื่อทอด้วยไหมพื้นบ้านทำให้เส้นใยขยายตัวส่งผลให้ผ้านุ่มน้ำหนักเบาง่ายต่อการซักและการดูแล 

ส่วนผ้าสามตะกอที่โปรโมทกันว่าเป็นอัตตลักษณ์ผ้าเมืองชลบตนั้นเห็นที่จะขอฟันธงเป็นแค่การโปรโมตทางการตลาดและการประดิษฐ์วัฒนธรรมของข้าราชการหรือหน่วยธุรกิจในพื้นที่เท่านั้น  ชุมชนไหนจะวิ่งตามตลาดก็ต้องหาเงินซื้อฟืมที่มีสามตะกอ งานนี้ใรได้ประโยชน์ก็พอรู้  ส่วนเขาแบบสองตะกอเห็นที่ขึ้นหิ้งให้ปลวกกินให้สิ้น(เพราะมันไม่ใช่อัตตลักษณ์ของประดิษฐวัฒนธรรมร่วมสมัยนั้นเอง)

 

หมายเลขบันทึก: 225992เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะ น้องออต
  • สงสารชาวทอผ้านะคะที่ต้องตามกระแส
  • ผ้าแดงดูผ้าไม่ค่อยเป็น ก็เชื่อๆๆเขาไปค่ะ
  • เพิ่งไปซื้อผ้าฝ้ายจากสะหวันนะเขตมา ดูแล้วไม่แตกต่างจากฝั่งไทยเราเลย
  • ป้าแดงคิดไปเองว่า ไม่ว่าฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวาแม่น้ำโขงก็ล้วนเป็นคนชนเผ่าเดียวกัน

สวัสดีครับ

เคยไปดูผ้าที่ชนบท ส่วนใหญ่เป็นผ้่าสามตะกอ อย่างที่ว่า

ถ้าใช้ทอเป็นผ้านุ่งทั่วไปก็ไม่สู้จำเป็น

นับว่าเป็นเอกลักษณ์ใหม่ก็ได้มั้งครับ

สงสัยเหมือนกันว่า ผ้าไหมทางเหนือบางแห่งอาจรับจากอีสานไป

เพราะไม่ค่อยเห็นทอไหมทางเหนือมากนัก

สวัสดีค่ะน้องอ๊อต

เข้ามาทักทาย ด้วยระลึกถึง และชื่นชม

เอกลักษณ์ อันดีงามของพื้นถิ่น

...

อัตตลักษณ์ ของ แต่ละสิ่งอย่าง

ล้วนแตกต่าง แต่ขอให้

สร้างงาน บนพื้นฐาน และมีจรรยาบรรณ

...

เอาใจช่วย เป็นกำลังใจในการงานค่ะ

ไม่ได้แวะมาเสียนานค่ะ

สิ่งที่นำมาเขียนเล่านี้เป็นความรู้ที่นักพัฒนาและชาวบ้านเองน่าจะได้รู้ จะได้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง

วัฒนธรรมประดิษฐ์ของทางการนี่น่ากลัวนะคะเพราะมันทำลายรากเหง้าความรู้เดิมจนแทบหาต้นตอไม่เจอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท