การจำลองการผลิตมันสำปะหลัง


การจำแนกความเหมาะสมของพื้นที่

ใช้เวลากับการเขียนรายงานผลการวิจัยซึ่งอยากได้ข้อสรุปว่าสภาพแวดล้อมแบบไหนที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง เลยแยก SMU หรือหน่วยจำลองการผลิตจากกลุ่มที่ดีที่สุด และกลุ่มที่แย่ที่สุดมาศึกษาในรายละเอียด มีข้อมูลที่น่าสนใจจากข้อมูลที่เลือกมา กลุ่มที่ดีจะอยู่ในกลุ่มภูมิอากาศที่ไม่มีฝนมากเกินไป ชุดดินสตึกเป็นกลุ่มที่มีพื้นที่มากที่สุุดในกลุ่มที่ดี ซึ่งมีลักษณะหน้าดินลึก ระบายน้ำดี ความอุดมสมบรูณ์ต่ำ-ปานกลาง เรียกได้ว่า ไม่เกี่ยงความอุดมสมบรูณ์ แต่การระบายน้ำต้องดี พบมากในเขตภาคตะวันออก บางส่วนของจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ บริเวณที่ฝนมากก็เหมาะที่จะปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอยู่แล้ว การคัดเลือกชนิดของพืชก็เกิดตามธรรมชาติและการเรียนรู้ของเกษตรกร ฝนมากเกินไปไม่เหมาะสมต่อการปลูกมัน แต่เราก้เห็นได้ชัดว่าการให้นสามารถเพิ่มผลผลิตมันได้ แต่เมื่อไร และปริมาณครั้งละเท่าไรก็ยังเป็นคำถามว่าแค่ไหนที่คุ้มทุน เรื่องการให้น้ำนี้เกษตรกรหลายรายบอกว่าให้น้ำอย่างเดี่ยวไม่สามารถให้ผลผลิตคุ้มทุนต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น การให้ธาตุอาหารเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุ ซึ่งผลการจำลองการผลิตก็ให้ผลสอดคล้องกับเรื่องปริมาณน้ำ ส่วนดินที่แย่มากเป็นชุดดินโชคชัยและอยู่ในภูมิอากาศของโชคชัยด้วยซึ่งปริมาณน้ำฝนน้อย เมื่อศึกษาคุณลักษณะดินของโชคชัยแล้วเป็นดินเหนียวซึ่งผนวกกับฝนน้อยทำให้ปริมาณน้ำที่มันสำปะหลังใช้จะไม่เพียงพอ

หมายเลขบันทึก: 225760เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2008 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนใจอยากทราบข้อมูลฉบับเต็มเพิ่มครับ

ข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติมคืออะไร โปรดแจ้งด้วย และลองดูที่ www.doa.go.th/cassava ในหัวข้อแนะนำพันธุ์เรานำสภาพแวดล้อมที่ได้จากการศึกษามาให้แสดงผลลัพธ์โดยผู้ใช้สามารถค้นหาจากเขตการปกครอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท