การเคลื่อนย้ายสัตว์-ซากสัตว์ (ต่อ)


การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

       การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

       1. การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ภายในเขตราชอาณาจักร

       2. การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ระหว่างประเทศ

       จากข้อมูลการเกิดโรคระบาดที่ผ่านมาปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้โรคระบาดแพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว คือ การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ที่เป็นพาหาของโรคระบาดจากท้องที่หนึ่งไปยังอีกท้องที่หนึ่ง นอกจากนี้การนำสัตว์และซากสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และมาเลเซีย เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพร่ของโรคระบาดของโรคได้ ตัวอย่างเช่น โรครินเดอร์เปสต์ ซึ่งได้ถูกกำจัดให้หมดไปตั้งแต่ปีพ.ศ. 2499 แล้ว กาฬโรคสัตว์ปีก (Fowl Plaque) ซึ่งไม่เคยมีรายงานการระบาดในประเทศไทย โรคแอนแทรกซ์ สามารถติดต่อถึงคนได้

       โรคระบาดสัตว์ที่สำคัญตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ได้แก่

1.โรคกาฬโรคเป็ด                                  13.โรคมดลูกอักเสบติดต่อในม้า

2.โรคกาฬดรคแอฟริกาในม้า                     14.โรคเรื้อนม้า

3.โรคไข้หวัดใหญ่ม้า                               15.โรคเลปโทสไปรา

4.โรคไข้เห็บม้า                                     16.โรคโลหิตจางติดเชื้อในม้า

5.โรคแซลโมเนลลา                               17.วัณโรค

6.โรคดูรีน                                            18.โรควัวบ้า

7.โรคทริคิโนซิส                                    19.โรคสมองอักเสบนิปาห์

8.โรคนิวคาสเซิล                                   20.โรคสมองและไขสันหลังอักเสบในม้า

9.โรคบลูเซลโบซีส                                21.โรคสมองและไขสันหลังอักเสบเวเนซูเอลาในม้า

10.โรคปากอักเสบพุพอง                         22.โรคสมองอักเสบเจเปนิส

11.โรคฝีดาษม้า                                    23.โรคหลอดเลือดแดงอักเสบติดเชื้อในม้า

12.โรคโพรงจมูกและปอดอักเสบในม้า        24.โรคเอเวียนอินฟลูเอนซา

        ซึ่งโรคต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลเสียต่อการพัฒนาปศุสัตว์ของประเทศเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในปัจจุบันการเคลื่อนย้าสัตว์และซากสัตว์ จะมีกฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เช่น

  • ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการอนุญาต การตรวจโรคและการทำลายเชื้อโรคในการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ ภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2499

  • พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บันทึกกิจกรรม#km
หมายเลขบันทึก: 2257เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2005 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากทราบรายละเอียดของแต่ละโรค เช่น สาเหตุ  อาการ  การป้องกันรักษา  ถ้าอย่างไงช่วยส่งข้อมูลโรคทั้งหลายมาที่  [email protected]  ก่อนวัน 29  ก.พ  51  ขอบคุณคะ

อยากทราบรายละเอียดของแต่ละโรค เช่น สาเหตุ อาการ การป้องกันรักษา

อยากทราบข้อมูลด่วน ครับ

ส่งมา [email protected] นะครับ

ขอบคุณครับ

นนทพร สงวนเพชรจินดา

อยากทราบรายละเอียดของแต่ละโรค เช่น สาเหตุ อาการ การป้องกันรักษา ถ้าอย่างไงช่วยส่งข้อมูลโรคทั้งหลายมาที่ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท