การศึกษาท้องถิ่น


การศึกษาท้องถิ่น

การจัดการศึกษาท้องถิ่น

 

1.  เป้าหมายที่สำคัญของการจัดการศึกษาท้องถิ่น

          การจัดการศึกษาท้องถิ่นมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการพึ่งพิงตนเองได้ทางเศรษฐกิจ  ความสามารถในการแก้ไขปัญหาของตนเอง  และการมีเอกลักษณ์และความยั่งยืนของท้องถิ่น ดังนั้น  อาจกล่าวได้ว่า  เป้าหมายของการจัดการศึกษาท้องถิ่น คือ

1.  ถ่ายทอดความรู้  ทักษะ  ภูมิปัญญา  ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตบนพื้นฐานของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น

2. ถ่ายทอดความเชื่อและค่านิยมของท้องถิ่น  และทำให้สมาชิกมีลักษณะคล้ายคลึงกัน  จนเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ  และทำให้คุณลักษณะเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้สืบสานต่อเนื่อง  ยั่งยืน

3. เป็นการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสมาชิกในท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาของตนเองและท้องถิ่น  โดยใช้ภูมิปัญญาของตนเองได้

 

2.  ปัจจัยสำคัญในการวางแผนการศึกษาท้องถิ่นให้ประสบความสำเร็จ

                1. ปัจจัยทางด้านบุคคล    ที่ต้องมีทัศนคติและจิตสำนึกต่อประชาชนอย่างเหมาะสม  เปิดโอกาสให้ผู้นำชุมชนหรือบุคคลที่มีความคิดริเริ่มในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาให้มีบทบาทในการพัฒนาอย่างเต็มความสามารถ

                2.  ปัจจัยด้านการบริหาร  เป็นผลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามระเบียบราชการหรือองค์กรพัฒนาเอกชน  ควรนำมาใช้ให้มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติพอสมควร  เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ค่อนข้างเป็นอิสระและไม่ผูกพันกับระเบียบราชการมากเกินไป

                3.  ปัจจัยด้านโครงสร้างชุมชน

                                -  ลักษณะความสัมพันธ์ของชุมชน

                                -  โครงสร้างของประชากร

                                -  วัฒนธรรมที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม

                                -  ค่านิยมของชุมชน

                                -  คุณภาพของประชากร

                                -  โครงสร้างของอำนาจ

                                -  ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชน

                                - ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของชุมชน

 

3.  ท่านจะนำแผนไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างไร

       ในการจัดการศึกษาท้องถิ่นให้บรรลุผลสำเร็จ ครูซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญจะต้องดำเนินการดังนี้

·       ศึกษาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจลักษณะและบริบทของท้องถิ่น

·       จัดทำเนื้อหาสาระ  บทเรียนและหลักสูตรเพื่อใช้สอนนักเรียน

·       จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  จริยธรรม  ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นมาเรียนรู้

·       จัดทำแหล่งการเรียนรู้ของท้องถิ่น

·       ใช้ชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้ของนักเรียน

·       จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของประชาชนในท้องถิ่น

·       สร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับกลุ่มกิจกรรมต่างๆ

 

 

**************

 

หมายเลขบันทึก: 224817เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2008 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ชื่นชมแนวคิดท่าน ผ.อ. ครับ
  • การศึกษาไทยต้องใช้ความเป็นไทยเป็นเครื่องนำในการพัฒนา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท