การท่องเที่ยวร้อยเอ็ด


การท่องเที่ยว

                          จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักภาพด้านการท่องเที่ยวไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ อันเป็นผลมาจากการที่จังหวัดร้อยเอ็ดไม่ได้เป็นเส้นทางผ่านที่สำคัญในเส้นทางท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับขีดจำกัดของการลงทุนด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีอยู่หลายปัจจัย เช่น การไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ขาดแหล่งโบราณสถานที่น่าสนใจ ประกอบกับประเพณีและวัฒนธรรมก็ไม่แตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเด่นชัด โดยสามารถจำแนกแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ดออกไปตามอำเภอต่าง ๆ ได้ ดังนี้

 สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด

 

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด

            จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองเป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของ จังหวัด เดิมที่เดียวนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ดจัดตั้งขึ้นตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ในอันที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหม และ ผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปกรมีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง  จึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้าน ทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณี โบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถรรม เริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารต่อเนื่อง มาจนกระทั่ง ปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ ประกอบด้วยงบประมาณด้านการจัด แสดงนิทรรศการถาวร ปรับสภาพภูมิทัศน์ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุมและนิทรรศการพิเศษ ปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการจัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ ระบบสารสนเทศ การทำหุ่นจำลองและฉากชีวิตต่าง ๆ เข้ามาประกอบการนำเสนอเรื่องราว ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในความดูแลของกรมศิลปากร    

                          เวลาทำการ
เปิด 09.00 – 16.00 น. วันพุธถึงวันอาทิตย์
ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์




 

 
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด

               เป็นสวนสาธารณะกลางเมือง อยู่หน้าศาลากลางจังหวัด เปิดเมื่อปี พ.ศ.2529   ตกแต่งบริเวณด้วยไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์และต้นไม้น้อยใหญ่เพื่อความร่มรื่น จุดเด่นของสวนแห่งนี้อยู่ที่น้ำพุบริเวณใจกลางสวนที่พุ่งฉีดในระดับสูงมีหอนาฬิกากลางเมืองสีขาว สวยเด่นเป็นสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ด มีอาคารอ่านหนังสือไว้สำหรับบริการประชาชน สถานที่แห่งนี้ใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลและพิธีการต่าง ๆ ของจังหวัด  

 
 
       วัดกลางมิ่งเมือง  
 

   ตั้งอยู่บนเนินในเมืองเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนตั้งเมืองร้อยเอ็ดส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาปัจจุบันเป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรม และสถานที่สอบธรรมสถาน บริเวณผนังรอบอุโบสถมีลวดลายภาพวาดแสดงถึงพุทธประวัติ สวยงามและมีค่าทางศิลปะ             
 

 

   วัดบูรพาภิราม 
      

 

         อยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด       มีพระพุทธรูปปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทย
   คือพระพุทธรัตนมงคลมหามุนีสร้างด้วยคอน
กรีตเสริมเหล็กที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นห้อง
  พิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้องความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง59 เมตร 20         เซนติเมตร                                                                                                                              

    
 

 

 




      บึงพลาญชัย
              
     ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ดอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเเอ็ดถือเป็นสัญลักษณ์ของ    จังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร     เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนดอกไม้ขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ร่มรื่น     และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์มากมายมีเรือสำหรับให้ประชาชนได้พายเล่นในบึง

 

 
     วัดสระทอง 
 
                       ตั้งอยู่ภายในตัวเมืองเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระสังกัจจายน์
       ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพสักการะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ เมื่อปี พ.ศ.
       2325     พระยาขัตติยะ-วงษา (ท้าวธน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรกได้พบพระองค์นี้
       เห็นว่ามีความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก จึงได้นำมาประดิษฐานที่วัดสระทองและยกให้
       เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ในอดีตข้าราชการทุกคนต้องมาสาบานตนต่อหน้าหลวงพ่อว่า
      จะซื่อสัตย์ต่อบ้านเมืองเป็นประจำทุกปี





 

 

 

    
     
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ


     เป็นอาคารที่รวบรวมพันธุ์สัตว์น้ำจืดท้องถิ่น  ที่อาศัยในแหล่งน้ำต่างๆ ของภาคอีสาน  แสดงพัฒนาการความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำจืด  เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้  ตลอดจนศึกษาวิธีการแพร่พันธุ์  และสร้างจิตสำนึกตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม 
     ตั้งอยู่ในกลางเมืองร้อยเอ็ด  ระหว่างบึงพลาญชัยและวัดบึงพระลานชัย



 

 

 

 


 
สวนสาธารณะพุทธประประวัติ   เวสสันดรชาดก
 
   
 
     


                       ตั้งอยู่บ้านน้อยหัวฝาย  หมู่ที่ 8  ตำบลรอบเมือง  อำเภอเมืองร้อยเอ็ด  (เริ่มก่อสร้าง ปี 2545 )
           สร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ  ของจังหวัดร้อยเอ็ดในอนาคต  เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
           และพักผ่อน  ออก กำลังกายของประชาชน  พื้นที่สวนห้อมล้อมด้วยบึงขนาดใหญ่  ประกอบด้วยรูปหล่อสวยงามของ
          พระเวสสันดรชาดกทั้ง  13 กัณฑ์  งบประมาณ จำนวน  28,700,000 บาท  โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
          เป็นผู้ดำเนินการ

   
 

 

 

 

     
 

   สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอธวัชบุรี

ปรางค์กู่ 

                 ปรางค์กู่ หรือปราสาทหนองกู่ ตำบลมะอึอำเภอธวัชบุรี หรือสายร้อยเอ็ด – โพนทองประมาณ 8 กิโลเมตรมีทางแยกด้านขวามือ เข้าปรางค์กู่ประมาณ 1กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายอีกครั้งเข้าวัดศรีรัตนารามปรางค์กู่ตั้งอยู่ภายในวัดปรางค์กู่เป็นกลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คือ อโรคยศาสล ตามที่ปรากฏในจารีกปราสาทตาพรหมอันประกอบด้วยปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซ้อมประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควรโดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ3 ชั้นและมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบนอาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา

 






 

 
     สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย

กู่กาสิงห์

             ตั้งอยู่ที่บ้านกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย การเดินทางจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาตามทางหลวงสาย 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง ผ่านอำเภอสุวรรณภูมิ เข้าทางสาย214หรือทางไปจังหวัดสุรินทร์จนถึงบ้านกู่พระโกนาเลี้ยวขวาทางสายกู่กาสิงห์เมืองบัวซึ่งอยู่ตรงข้ามถนนหน้ากู่พระโกนาไปตาม เส้นทางแล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้งเข้าบ้านดงยาง กู่กาสิงห์ตั้งอยู่ด้านขวามือภายในวัดชื่อเดียวกันหรืออีกเส้นทางที่สะดวกกว่าก็คือ มาจากอำเภอ เกษตรวิสัยมุ่งสู่อำเภอสุวรรณภูมิระยะทางประมาณ 8 กม. ก็จะเห็นป้ายชี้ทางบอกเลี้ยวขวาเข้าไปยังกู่กาสิงห์อีก 13 กม. ก็จะถึงกู่กาสิงห์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านซ้ายมือส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็นแนว เช่น ลายกลีบบัว และลายกนกผนังก่ออิฐที่ห้องในสุดหรือส่วนครรภคฤหะนอกจากนี้ได้ค้นพบศิวลึงค์ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด(พระอิศวร)และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ
์ลัทธิไศวนิกายและยังพบทับหลังอีกหลายชิ้นชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้วโดยยืนอยู่เหนือกาลซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่งและยังได้พบซุ้มหน้าบันสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลาง
ลายก้านขดอีกด้วยส่วนปรางค์อีกสององค์ที่ขนาบนั้นมีขนาดและลักษณะเดียวกันฐานก่อด้วยศิลาทรายผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้าภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรมแบบแผนผังและโบราณวัตถุที่พบแสดงให้ทราบว่ากู่กาสิงห์เป็นแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่าแบบบาปวน” อายุราว พ.ศ. 1560  – 1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศถวายแด่ พระอิศวรเทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์      








ทุ่งกุลาร้องไห้

   








      
      เป็นทุ่งกว้างใหญ่ของภาคอีสาน มีพื้นที่กว้างประมาณ 2 ล้านไร่ มีอาณาเขตครอบคลุมถึง 5 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดยโสธรสาเหตุที่ทุ่งกว้างแห่งนี้ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้นั้นก็ด้วยมีเรื่องเล่ากันว่า พวกกุลาซึ่งเป็นพวกที่เดินทางค้าขายระหว่างเมืองต่าง ๆ ในสมัยโบราณได้ชื่อว่าเป็นนักต่อสู้ คือมีความเข้มแข็ง อดทนเป็นเยี่ยม แต่เมื่อพวกกุลาเดินทางมาถึงทุ่งนี้ ได้รับความทุกข์ยากเป็นอันมากจนถึงกับร้องไห้เพราะตลอดทุ่งนี้ไม่มีน้ำหรือต้นไม้ใหญ่เลยฤดูแล้งแผ่นดินก็แห้งแตกเป็นระแห่ง ปัจจุบันทุ่งกว้างใหญ่นี้ ได้รับการพัฒนาจากส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ บางแห่งก็ทำการเกษตรกรรม จนกลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน หรือบางแห่งก็ใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ซึ่งนับแต่จะมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ ศูนย์พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ห่างจากที่ว่าการอำเภอสุวรรณภูมิ 6 กิโลเมตร เลยกู่พระโกนาไปเล็กน้อย  
 

 

    สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ

   กู่พระโกนา

 

 

  

 











 

กู่พระโกนา ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ การเดินทาง จากจังหวัดร้อยเอ็ดเดินทางตามทางหลวงสาย 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวงแล้วเข้าสาย 202 ผ่านอำเภอสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสาย 214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากตัวจังหวัดปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีถนนเป็นทางแยกเข้าไปทางด้านซ้ายมือ ด้านหน้าจะเป็นสวนยางกู่พระโกนาประกอบด้วย ปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทรายเรียงจากเหนือ – ใต้ทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  มีกำแพงล้อม และซุ้มประตูเข้า – ออกทั้งปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหาร พระพุทธบาทประดับเศียรนาค 6 เศียร ของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลางปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่าง สร้างเป็นวิหาร มีพระพุทธบาทประดับเศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลางปรางค์องค์ทิศเหนือ ทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักรามายณะและประทับสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่ที่เดิม คือเหนือประตูทางด้านหน้า  ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตกหล่นอยู่บนพื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่าในซื้อเรือนแก้วเหนือหน้ากาลนอกจากนี้ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นที่พื้นเป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโคและมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วยสันนิษฐานว่า  กู่พระโกนาเดิมคงจะมีสะพานนาคและทางเดินประทับเสานางเรียงทอดต่อจากซุ้มประตูหน้าไปยังสระน้ำหรือบาราย ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลักและเสากรอบประตู ซึ่งเป็นศิลปะขอมที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบปาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 

    สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอเสลภูมิ     

                 บึงเกลือ (บุ่งเกลือ) อยู่ในเขตตำบลเมืองไพร  อำเภอเสลภูมิ ห่างจากตัวอำเภอเสลภูมิไปทางทิศตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 7,500 ไร่ ริมบึงมีหาดทรายขาวสะอาดกว้างขวางในวันหยุดจะมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนกันมาก
 

 

 

    สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอหนองพอก

         วนอุทยานผาน้ำย้อย 
                     อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอหนองพอก เดินทางโดยรถยนต์สายร้อยเอ็ด - อำเภอโพนทอง - อำเภอหนองพอก ระยะทาง 62 กิโลเมตร จากตัวเมืองร้อยเอ็ดผาน้ำย้อยเป็นผาหินขนาดใหญ่ ซึ่งมีน้ำไหลตกและซึมตลอดปี อยู่บนภูเขาเขียว บ้านโคกกลาง ตำบลโคกสว่าง มีเนื้อที่รอบ ๆ บริเวณ หน้าผาพื้นที่ประมาณ20,000 ไร่ เป็นป่าไม้เนื้อแข็งนานาชนิด นับเป็นป่าที่มีค่าและหายากอย่างยิ่ง มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเช่น หมู่ป่า เก้ง กวาง ไก่ป่า ฯลฯ   บริเวณเชิงเขาจะมีวัดอยู่วัดหนึ่ง สร้างในพื้นที่ 2,500 ไร่ มีศาลาการเปรียญที่ใหญ่โตมาก มีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร วัดนี้มีชื่อว่า “วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม” โดยมีพระอาจารย์ศรี มหาวิโร ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมี
“พระมหาเจดีย์ชัยมงคล” เป็นพระมหาเจดีย์ที่สูงอยู่ในลำดับต้น ๆ ของเจดีย์ในประเทศไทย มีความกว้าง 101 เมตร สูง 101 เมตร ในเนื้อที่ 101 ไร่

 











   
สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี เป็นโครงการสวนพกฤษศาสตร์ในวรรณคดี   ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติดงมะอี่ ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 85 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ เป็นเนื้อที่สำหรับปลูกต้นไม้แบ่งตามวรรณคดี เช่น เรื่องพระเวสสันดร ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย   ลานพุทธประวัติ ฯลฯ  นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรแยกตามสรรพคุณบริเวณสวนมีสภาพภูมิประเทศสวยงาม             

 

       เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอหนองพอก ควบคุมดูแลพื้นที่ประมาณ 151,242 ไร่ หรือประมาณ 242 ตารางกิโลเมตรโดยสภาพพื้นที่จะเป็นเทือกเขาหินทรายสูงชันและสลับซับซ้อน ประกอบด้วยป่าดิบแล้งป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
 ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สัตว์ป่าที่พบในพื้นที่ป่าแห่งนี้ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ หมูป่า สุนัขจิ้งจอก เป็นต้น จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณเขตห้ามล่า ฯ คือ ผาพยอม ซึ่งเป็นจุดที่ใช้สำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้น และผาน้ำทิพย์ ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ชมพระอาทิตย์ตกดิน  
 

คำสำคัญ (Tags): #การท่องเที่ยว
หมายเลขบันทึก: 224701เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2008 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคุณapple ครับผมว่าจริง หลายคนคิดว่าร้อยเอ็ดแห้งแล้ง แต่ผมเคยไปเที้ยวน้ำตก และสวนเงาะที่ร้อยเอ็ดแล้วด้วย คนร้อยเอ็ดยังงงเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท