นโยบายเศรษฐกิจพื้นที่พิเศษสามจังหวัดชายแดน (ต่อ)


นโยบายเศรษฐกิจแบบเรา(คนในพื้นที่)สามารถใช้การได้

วันก่อนได้เขียนถึงเวทีระดมความคิดเห็นของนักวิชาการและตัวแทนประชาชนที่เกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจว่าต้องเป็นแบบไหน.................

จากการพูดคุย เสนอข้อคิดเห็นจะมีการพูดถึงหลายประเด็นโดยเฉพาะเสียงจากประชาชนรากหญ้าเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือด้านเกษตรกร เรื่องราคายาง เรื่องที่นาร้าง เรื่องสนับสนุนงบให้เกษตรกร และอื่นๆ แต่ขอให้เป็นโครงการต่อเนื่อง

ในส่วนของ อ.อับดุลรอเซด จาก มอ.ปัต ก็ได้เสนอให้รัฐบาลจริงจังในนโยบายการให้มีโครงการ/อุตสาหกรรมฮาลาล(ในพื้นที่) แต่ไม่ใช่แค่ผลักดันให้มีโครงการดังกล่าว แต่จะรวมถึงการกำหนดกฎระเบียบว่าด้วยบุคคลหรือพนักงานที่สามารถเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลดังกล่าว (ต้องมาจากคนในพื้นที่เท่านั้น) เพราะเขามองว่าถ้าไม่ได้ระบุชัดเจนแบบนั้น โครงการผ่าน แต่คนงานมาจากคนภาคใต้ตอนบน คนภาคเหนือ อีสานหรือตะวันออก แล้วคนในพื้นที่อยู่ที่ไหนหละ (ก็ทำงานที่เค้าทำอยู่) โดยรัฐจะอ้างว่าคนในพื้นที่ทำงานไม่เก่ง ไม่สู้งาน (แล้วให้โอกาสเขาหรือยัง) อีกอย่างท่านมองว่า พื้นที่บ้านเรา (สามจังหวัด) เป็นแหล่งทรัพยากรต้นทุนต่ำที่ทางรัฐได้เปรียบกับสินค้าต่างๆ เช่น ยางพาราที่พวกเราปลูกอยู่ก็จะรับซื้อในราคาที่ต่ำ และถามว่าเขาไปขายในอัตราที่ต่ำหรือปล่าว (ตรงกันข้ามครับ) หรือไม่ราคาปาล์มที่ชาวบ้านกำลังผลิตอยู่ ราคาที่จะซื้อก็ต่ำ แรงงานคนในพื้นที่ก็จ้างถูกๆ ก็ไม่มีปัญหา และอีกหลายปัญหาที่เราไม่มีกำลังต่อรองเหมือนเกษตรกรภาคอื่นๆ

ส่วนข้อเสนอนโยบายของผม (อาจารย์ มอย.) ได้พูดถึงเรื่องการจ่ายภาษีของประชาชน คือว่าระหว่างเราที่เป็นมุสลิมกับคนที่นับถือศาสนาพุทธนั้นจะมีการจ่ายภาษีในอัตราเท่ากันไหม ใช่.....ถ้าเราดูเปอร์เซ็นต์จ่ายภาษีจะเท่ากัน แต่ในทางปฏิบัติมุสลิมต้องจ่ายแพงกว่า เพราะนอกจากที่ต้องจ่ายภาษี (ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภษีเงินได้นิติบุคคล) เราต้องจ่ายภาษีให้ภาครัฐและจ่ายซากาตอีก 2.5 % ดังนั้นเสนอให้สำหรับคนที่จ่ายซากาตแล้วสามารถเอาหลักฐานการจ่ายนั้นลดหย่อนภาษีได้ หรือไม่จำเป็นต้องเสียภาษีอีก เพราะสถานภาพเหมือนกัน ซากาตก็นำเงินที่ได้มามาช่วยประชาชนหรือสังคม

อีกประเด็นหนึ่งเสนอเรื่องสถาบันทางการเงินของอิสลาม ทำไมมีคนใช้บริการน้อยนิด ใช่พวกเราทุกคนยอมรับ แต่ถามว่าไปฝากแล้วแต่พอถึงเวลาไปต่างจังหวัดจะกด เอทีเอ็มเหมือนธนาคารอื่นได้ไหม (ตอบไม่ได้ครับ) ก็เสนอให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมกับสหกรณออมทรัพย์อิสลาม ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์บีนา สหกรณ์อิบนูอัฟฟาน สหกรณ์อิบนูเอาฟ และสหกรณ์อัสซิดดีก ร่วมกันจัดให้มีตู้เอทีเอ็ม หวังว่าประชาชนจะหันมาใช้บริการสถาบันการเงินที่ปลอดดอกเบี้ย

แล้วคุณมีอะไรจะเสนอนโยบายใหม่เกี่ยวกับ สามจังหวัดอีกหรือครับ

หมายเลขบันทึก: 224442เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2008 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท