บทความเรื่อง วิจัยชั้นเรียน


การศึกษาของชาติจะพัฒนา ถ้าครูทำวิจัยในชั้นเรียน

บทความเรื่อง  วิจัยชั้นเรียน

 

                การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญไม่เฉพาะต่อผู้สอนในการพัฒนาวิชาชีพของตนเอง  แต่มีความสำคัญต่อผู้เรียน หากมีการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้  ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการ  ความถนัด  ความสนใจอย่างเต็มตามศักยภาพ  การที่ผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจมีความสามารถและมีพื้นฐานที่ดีในการทำวิจัยจะทำให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะสามารถทำให้กระบวนการวิจัยไปสู่ผู้เรียนได้ด้วย  นั่นคือ  ทำให้ผู้เรียนมีการวางแผนทำงาน (เขียนเค้าโครงการวิจัย)  ปฏิบัติจริง (เก็บรวบรวมข้อมูล)  นำเสนอผลการทำงานหรือ    กิจกรรม (เขียนรายงาน)

                รูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยจำแนกตามผู้ดำเนินการวิจัยและเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา  โดยกำหนดเป็น  3  รูปแบบ  ได้แก่  1)  การวิจัยโดยครูเพียงคนเดียว  2)  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือ  และ 3)  การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนระดับสถานศึกษา ซึ่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะ  ดังนี้

                1.  การวิจัยโดยครูคนเดียว  (Individual Teacher Action Research)  เป็นการทำงานของครูที่กำลังเผชิญกับปัญหาจาการปฏิบัติงานสอนและมีความพยายามที่จะศึกษาและแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนเอง โดยอาจขอความช่วยเหลือหรือมีผู้ให้คำปรึกษาการวิจัยประเภทนี้ เรียกว่า  การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน  (Classroom Action Research )  ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรง คือผู้เรียน  ขณะเดียวกันยังส่งผลให้ครูได้พัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย  โดยรูปแบบการวิจัยสามารถศึกษาจากนักเรียนเพียงคนเดียว (case study)  หรือศึกษาวิจัยทั้งห้องเรียน  ซึ่งแล้วแต่ขนาดผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั่นเอง

                2.  การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบร่วมมือ   (Collaborative Action Research)  เป็นการวิจัยที่ทำเป็นกลุ่ม  ผู้วิจัยมีจำนวน  1-2  คนขึ้นไป  ซึ่งพบปัญหาในการจัดการเรียนการสอนเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน  มาวางแผนการทำวิจัยร่วมกัน  ครูที่ทำวิจัยลักษณะนี้อาจอยู่ในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษากันก็ได้  แต่ต้องมีปัญหาที่มุ่งแก้ไขเหมือนกัน  การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบร่วมมือ  จึงเป็นการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียนหนึ่งหรือมาร่วมในกระบวนการวิจัยด้วย  เช่น  ผู้บริหารสถานศึกษา  นักวิชาการ  หรือผู้ปกครอง  เป็นต้น  การวิจัยลักษณะนี้ จะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการวิจัยและเทคนิค  การดำเนินงานของผู้สอนด้วย  เนื่องจากทีมวิจัยประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถและมุมมองต่างกัน  จึงเป็นประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย

                3.  การวิจัยปฏิบัติการระดับสถานศึกษา  ( Schoolwide Action Research )  เป็นการวิจัยที่มี จุดมุ่งหมายสำคัญ  เพื่อการแก้ปัญหาของผู้เรียนซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งสถานศึกษาหรือเฉพาะกลุ่ม  เช่น  ปัญหาเรื่องสารเสพติดในสถานศึกษา  การยกระดับมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เป็นต้น  ซึ่งผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูทุกคน บุคลากรอื่น รวมถึงชุมชนและคณะที่ปรึกษาภายนอก

                จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าครูผู้สอนสามารถเป็นนักวิจัยได้  โดยใช้เวลาและการวางแผนในการส่งเสริมทักษะ  ทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ  จะช่วยให้ครูผู้สอนมีการพัฒนาสู่ความเป็นครูมืออาชีพ  นอกจากนี้ผลการทำวิจัยในชั้นเรียนช่วยให้ครูเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทชั้นเรียนของตนเอง  การสอน และรู้จักนักเรียนนักศึกษาดีขึ้น จะส่งผลทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

 

แหล่งอ้างอิง

 

สรุปประเด็นจากการประชุมสัมมนาครั้งที่ 9  หัวข้อ การวิจัยในชั้นเรียน.” [online].  เข้าถึงได้จาก

http://www.sut.ac.th/tedu/meeting/research.doc. (2551,  พฤศจิกายน 20)

 

รองศาสตราจารย์เทื้อน  ทองแก้ว.  การวิจัยในชั้นเรียน [online].  เข้าถึงได้จาก: http://dusithost.dusit.ac.th/

              ~ei/tuan/file21122005013.doc. (2551,  พฤศจิกายน 20)

 

นงลักษณ์  วิรัชชัย.  การสังเคราะห์งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน [online].  เข้าถึงได้จาก: http://www. 

                ksp.or.th/upload/301/files/280-9056.doc. (2551,  พฤศจิกายน 20)

หมายเลขบันทึก: 224224เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลดี ๆ ครับ และสนับสนุนการทำวิจัยของคุณครูครับ

จาก ... ผู้สร้างสถานการณ์ทางการเรียนการสอน

หวัดดีครับพี่ อ่านดูแล้วครับ ได้ประโยชน์มากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท