Six Thinking Hats


การพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ

การพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ 

-หลักการ Six Thinking Hats ของเอ็ดเวิร์ด เดอโบโน มีรายละเอียด ดังนี้ ท่านจบการศึกษาทางด้านแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เป็นปรมาจารย์ทางด้านการคิดชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลก ได้ศึกษาและคิดค้นวิธีคิด (Thinking  Method) เพื่อช่วยให้มนุษย์มีการคิดที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์และครอบคลุมรอบด้านยิ่งขึ้น โดยเสนอวิธีคิดแบบ Six Thinking Hats  หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบ  เป็นการแยกกรอบความคิดเป็นด้าน ๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หาเหตุผลภายในกรอบความคิดนั้น ๆ อันจะช่วยให้คิดพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ครอบคลุมและมีคุณภาพมากขึ้น  แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน  ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน  หมวกแห่งความคิด 6 ใบ หรือการคิด 6 ด้าน ประกอบด้วย

1.  หมวกสีขาว หมายถึงข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลดิบที่ต้องเก็บรวบรวมไว้ให้มากที่สุด เช่น การนำเสนอข้อมูลข่าวสารของตนเองออกมาแบบไม่ต้องวิเคราะห์หรือถกเถียงว่าข้อมูลของตนเองดีกว่าของคนอื่น เน้นการให้ข้อมูลจริงที่ปรากฎ

2.  หมวกสีแดง  หมายถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ต้องการสื่อออกมาถึงหัวเรื่องนั้น เช่น ทุกคนสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องที่นำเสนอได้อย่างเต็มที่ เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะไม่สามารถใช้เหตุผลได้ตลอดเวลา เพราะมีอารมณ์และความรู้สึกมาปะปนบ่อย ๆ จึงเป็นการคิดแบบไม่สนใจข้อมูลความจริง แต่สนใจอารมณ์ความรู้สึกของคนที่มีต่อข้อมูลนั้น ๆ ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการคิดแบบหมวกสีแดง  ก็เพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้เผยอารมณ์ความรู้สึกของตนต่อเรื่องนั้น ๆ ออกมา  ประโยชน์ที่ได้คือ เราจะไม่นำความรู้สึกและข้อมูลเหตุผลมาปะปนกันจนเกิดความสับสนในการคิด

3.  หมวกสีดำ  หมายถึงการตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย  เป็นเรื่องเกี่ยวกับ  การตัดสินใจในเรื่องที่ไม่ดี  แง่ลบของเรื่องนั้นว่ามีอะไรบ้าง  เช่น  ทุกคนต้องใช้เหตุผลวิพากษ์  วิเคราะห์  ตั้งข้อสงสัยและข้อควรระวังในเรื่องที่นำเสนอ  การคิดแบบหมวกสีนี้เป็นการคิดที่มีเหตุผลสนับสนุนและรอบครอบ  ผู้คิดต้องตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น (เรื่องราวเป็นเช่นนี้จริงหรือมีสิ่งใดแอบแฝงหรือไม่) 

         

 

4.หมวกสีเหลือง  หมายถึงการมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง  เป็นเรื่องในแง่บวกและความเป็นจริงที่จะทำให้บรรลุในหัวข้อนั้น เช่น ทุกคนจะหาแง่มุมด้วนบวกเต็มไปด้วยความหวังแต่ความหวังนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลของเรื่องที่นำเสนอ หรือการมองไปข้างหน้า ถามตนเองว่าถ้าทำสิ่งนี้แล้ว  จะเกิดประโยชน์ ผลดีอย่างไร แม้คนไม่เห็นด้วยก็ต้องพยายามหาข้อดีของเรื่องนั้น

5.หมวกสีเขียว  หมายถึงการคิดอย่างสร้างสรรค์  เป็นเรื่องที่คิดใหม่ ๆ ในหัวเรื่องนั้น ๆ ต้องการให้แตกต่างจากครั้งก่อน เช่นทุกคนต้องแสดงความคิดสร้างสรรค์ โดยหาทางออกหรือแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีอยู่  ข้อเสนอแนะหรือแนวคิดแบบหมวกสีนี้  ไม่ต้องมีเหตุผลที่หนักแน่นมาสนับสนุนเป็นเพียงการนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ขึ้น  หลังจากนั้นรองสำรวจตรวจความเป็นรไปได้ของแนวคิดนั้นต่อไป

6.หมวดสีฟ้า  หมายถึงการสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิด  เป็นเรื่องสรุปที่ต้องพูดคุยกันว่าหมวกสีอื่น ๆ ผ่านมานั้นจะเกิดได้จริง เช่นสรุปความคืบหน้าของการคิด  หรือการอภิปรายที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ต้น  เป็นหมวกเกี่ยวกับการวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน  เหมือนประธานของที่ประชุม  เป็นผู้บอกว่าเมื่อไรควรสวมหมวกสีใด  หรือเปลี่ยนสวมหมวกสีใด  หมวกสีอื่นๆ จะมุ่งคิดแบบหมวกสีฟ้า ผู้คิดจะมุ่งสังเกตกระบวนการคิดของตนโดยทั่วๆ ไป  การคิดแบบหมวกสีนี้อาจครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น ตอนนี้เรากำลังคิดแบบใดอยู่  และคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว อะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการทบทวนหลายรูปแบบ (หลายหมวกความคิด)  และมีข้อน่าสังเกตหรือข้อท้วงติงใดบ้าง (เช่น กำลังหลงประเด็นอยู่หรือไม่ หรือใช้ความคิดแบบหมวกสีแดง  หมากไปหรือไม่)

-  การใช้เครื่องมือในการช่วยคิด  ช่วยจำ  เช่น  เพื่อพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ  ได้แก่

1. การจด

2.  การอัดเทปเสียง

3.  การเขียนเป็นภาพ  เช่น การเขียนเป็นแผนที่ กราฟ และรูปภาพ

4.  การเล่าเรื่อง

5.  การเขียนแผนภูมิช่วยคิด  ช่วยจำ เช่น แผนภูมิต้นไม้ (Tree Diagram) แผนภูมิก้างปลา (Fish – Bone Diagram) แผนภูมิสมอง (Brain Mapper Diagram)  และ Mind  Mapping

 

 

จากสรุปการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม  สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร

 

 

หมายเลขบันทึก: 224056เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2008 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

-ขอบคุณค่ะ คุณหมออัจฉรา ที่แวะเข้ามาอ่าน ขอให้มีความสุขนะค่ะ

         ผมเคยใช้การประชุมแบบหมวกหกใบครับ ตอนเป็นผู้บริหารโรงเรียน

         ประหยัดเวลา ได้เนื่อหาดี   มีคุณภาพครับ

         เพียงแต่ว่า  ก่อนประชุม ต้องปรับตัว ปรับใจ ปรับความคิด  ขลุกขลักไปบ้าง

         ตอนนี้พยายามจะนำมาใช้อีก อต่ยังหาฌอกาสไม่ได้

เมื่อวันที่ 22-23 ธ.ค.51 ได้เข้าอบรมเรื่องการคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อาจารย์ให้ทำ workshop เรื่องการคิดใหม่อย่างสร้างสรรค์ สนุกดีค่ะ ถ้านำไปใช้ก็จะได้ประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณนะค่ะ คุณsmallman

ได้รับประโยชน์ ความคิดเป็นระบบมากเลยนะคะ

อยากให้ทุกคน..และหลายๆ คน ที่อารมณ์ร้อนๆ

สวมหมวกสีเหลือง...บ่อยๆ...จัง

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี - ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน ๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด ๒. ค่ายพุทธบุตร อบรมบุคลากรในหน่วยงาน ๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี

- ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน

๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด

๒. ค่ายพุทธบุตร

อบรมบุคลากรในหน่วยงาน

๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท