พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพิฆเนศ


ภารตวิทยามาแพร่หลายอย่างจริงจังในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ ๖) ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และทรงสนใจภารตวิทยาอยู่มาก ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีความเข้าใจถ่องแท้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ของฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดูเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้นำรูปเคารพของพิฆเนศวรมาใช้ในรัชสมัยของพระองค์

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพิฆเนศ

ภารตวิทยามาแพร่หลายอย่างจริงจังในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ ๖) ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และทรงสนใจภารตวิทยาอยู่มาก ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีความเข้าใจถ่องแท้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ของฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดูเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้นำรูปเคารพของพิฆเนศวรมาใช้ในรัชสมัยของพระองค์ ตามอย่างที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ พระองค์ท่านได้กำหนดให้พระคเณศเป็นดวงตราเครื่องหมายวรรณคดีสโมสร โดยดวงพระราชลัญจกรรูปกลมองค์นี้ตามตำแหน่งคือ ดวงพระราชลัญจกรรูปกลม ศูนย์กลางกว้าง ๓ นิ้ว ๓ อนุกระเบียด (๗ เซนติเมตร) ลายเป็นรูปพระคเณศนั่งแท่น แวดล้อมด้วยลายกนกสวมสังวาลนาคหัตถ์ขวาเบื้องบนถือวัชระเบื้องล่างถืองาหัตถ์ซ้ายเบื้องบนถือบ่วงบาศก์ เบื้องล่างถือครอบน้ำ (ขันน้ำมนต์หรือ หม้อน้ำ) เมื่อปี ๒๔๘๐ พระพิฆเณศได้กลายเป็นดวงตราประจำกรมศิลปากรโดยลายกลางเป็นพระคเณศรอบวงกลมมีลวดลายเป็นดวงแก้ว ๗ ดวง อันมีความหมายถึง ศิลปวิทยาทั้ง ๗ แขนงคือ ช่างปั้น, จิตรกรรม, ดุริยางค์ศิลป์, นาฏศิลป์, วาทศิลป์, สถาปัตยกรรม, อักษรศาสตร์ ฉะนั้นชนทั้งหลายจึงนับถือพระคเณศเป็นบรมครูทางศิลปะ ในสมัยอยุธยานั้น ลัทธิพราหมณ์ฮินดูยิ่งชัดเจนขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นชื่อราชธานี (อยุธยา) หรือพระนามของกษัตริย์ที่ขึ้นต้นด้วย สมเด็จพระรามาธิบดีก็คืออิทธิพลที่ได้มาจากมหากาพย์รามเกียรติ์นั่นเอง สมัยพระเจ้าปราสาททอง ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขา มีเรื่องเกี่ยวกับการรื้อย้าย เทวสถานพระอิศวรและพิธีลบศักราช ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการจัดพิธีตรียัมปวายและมีบันทึกว่า เคยจัดข้าวของจากอยุธยาไปทำพิธีที่เทวสถานเมืองนครศรีธรรมราช และทรงโปรดให้มีการหล่อรูปพระพิฆเนศวร และทรงนับถือเป็นบรมครูช้าง นอกจากนี้ยังได้เกิดวิทยาการแขนงต่าง ๆ อันมีพื้นฐานจากแขนงวิชาอุปเวทและอาถรรพ์เวท การอวตารและพระนามของพระพิฆเนศ แต่ละองค์ที่อวตารก็มักมีลักษณะที่แตกต่างกันในด้านรูปลักษณ์ พระนาม พระกร อาวุธ และพลังอำนาจในแต่ละช่วงเวลา พอจะรวบรวมได้ดังนี้ ๑. บัล คณปติ (ภาคเด็ก) สีโลหิต ๔ กร ๒. พระ ตรุน คณปติ (ภาคเป็นหนุ่ม) สีแดงส้ม ๘ กร ๓. พระ ภักตะ คณปติ (แห่งความรัก) สีบริสุทธิ์ ๔ กร ๔. พระ วีระ คณปติ (แห่งนักรบกล้า) สีโลหิต ๑๐ กร ๕. พระ ศักติ คณปติ (แห่งพระพลังอำนาจ) สีแป้งจันทร์ ๔ กร ๖. พระ ทวิช คณปติ (แห่งผู้เกิดสองหน) สีขาว ๔ กร ๗. พระ สิทธ คณปติ (แห่งความสมบูรณ์) สีน้ำตาล ๔ กร ๘. พระ อุจฉิต คณปติ (แห่งอาหาร บวงสรวง) สีฟ้า ๔ กร ๙. พระ วิฆณะ คณปติ (ผู้ทรงขจัดความยุ่งเหยิง) สีทองคำ ๑๐ กร ๑๐. พระกษิประ คณปติ (พระผู้รวดเร็วในการแบ่งภาค) สีแดงโลหิต ๔ กร ๑๑. พระเฮรัมพะ คณปติ (พระผู้เป็นปฐมแห่งการกราบไหว้บูชา ทรงมี ๕ พักตร์ (มีสิงโตเป็นพาหนะ) สีขาวสว่าง ๘ กร ๑๒. พระ ลักษมี คณปติ (แห่งทรัพย์สมบัติ) สีขาว ๑๐ กร ๑๓. พระ มหา คณปติ (แห่งความยิ่งใหญ่) สีแดงโลหิต ๑๐ กรและ ๓ เนตร ๑๔. พระ วิชัย คณปติ (แห่งความชนะ) สีแดง ๔ กร ๑๕. พระ นฤตะ คณปติ (แห่งการร่ายรำ) สีเหลือง ๔ กร ๑๖. พระ อุรทวะ คณปติ (แห่งผู้ให้การช่วยเหลือ) สีทองคำ ๖ กร ๑๗. พระ เอกสร คณปติ (แห่งอักษรพยางค์เดียว) สีโลหิต ๔ กร ๑๘. พระวรัท คณปติ (แห่งผู้ประทานพรทั้งหมด) สีแดง ๔ กร ๑๙. พระ ตระยักศร คณปติ (แห่งตัวอักษร) สีทองคำ ๔ กร ๒๐. พระ กศิปร ปรสัท คณปติ (ผู้ทรงให้พรที่รวดเร็ว) สีแดงผงจันทร์ ๖ กร ๒๑. พระ ฮริทรา คณปติ (แห่งสีสรรพ) สีเนื้อ ๔ กร ๒๒. พระ เอกทันตะ คณปติ (แห่งผู้มีงาข้างเดียว) สีฟ้า ๔ กร ๒๓. พระ สริสติ คณปติ (แห่งส่วนโค้งงอ) สีแดงส้ม ๔ กร ๒๔. พระ อุททานทะ คณปติ (แห่งพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุด) สีแดง ๑๒ กร ๒๕. พระ รีนา โมจัน คณปติ (พระผู้ขจัดหนี้สิน) สีแดง ๑๒-๑๖ กร ๒๖. พระ ทุนทิ คณปติ (พระผู้มีรูปร่างเตี้ย) สีแดงส้ม ๔ กร ๒๗. พระ ทวีรมุข คณปติ (พระผู้มี ๒ พักตร์) สีเนื้อ ๔ กร ๒๘. พระ ตรีมุข คณปติ (พระผู้มี ๓ พักตร์) สีแดงส้ม ๖ กร ๒๙. พระ สิงห คณปติ (พระผู้มีเศียรเป็นสิงห์) สีขาว ๘ กร ๓๐. พระ โยคะ คณปติ (แห่งกรรมฐานสมาธิ) สีทองคำ ๘ กร ๓๑. พระทุรคา คณปติ (แห่งอำนาจความคิด) สีทองคำ ๘ กร ๓๒.พระ สันกัสตหร คณปติ (พระผู้ทำลายอุปสรรค) สีแดงส้ม ๔ กร แต่ลักษณะเด่นสำคัญของพระคเณศในทุก ๆ ภาคอวตารทรงมีรูปร่างเป็นมนุษย์ที่มีเศียรเป็นช้าง แต่มีเพียงภาคเดียวที่ทรงมีเศียรเป็นสิงห์ที่เรียกว่า ภาค สิงหะคณปติ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.mai-amulet.com/payment.template.php?lang=th

คำสำคัญ (Tags): #พระวิฆเนศวร
หมายเลขบันทึก: 224008เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2008 02:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พิธีกรรมและวันสำคัญบูชาพระพิฆเนศวร์ที่ยึดถือกันมาคือ

ประจำปี วันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๙ และวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๐

ส่วนในแต่ละเดือน บูชาวันขึ้น ๔ ค่ำ และแรม ๔ ค่ำ ของแต่ละเดือน

ของที่ถวายเช่น ขนมโมทกะ ขนมหวาน ผลไม้ นมสด หญ้าแพรก เป็นต้น

สำหรับบทสรรเสริญพระพิฆเนศวร์ มีหลายบท คาถาบูชาจำง่ายสั้น ๆ ดังนี้

“ โอมศรีคเณศายะนะมาฮา ”

ใหม่ 081-498-9235

www.mai-amulet.com

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.mai-amulet.com/payment.template.php?lang=th

15/10/2550 (update 07/08/2551)

คือหนูสนใจศึกษาพระพิฆเนศ

สามารถหาข้อมูลจากที่ได้จากที่ไหน

หรือมีผู้รู้ท่านใดที่สามารถให้คำปรึกษาแนะนำได้บ้างคะ

........ช่วยบอกที

ยินดีที่น้องสนใจ ค้นหาในกูเก้ล ง่ายที่สุด

เทพแห่งความสำเร็จ  บูชา ศึกษา ค้นคว้า แล้วเผยแพร่ น้องจะโชคดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท