การบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในองค์การ


การบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในองค์การ

 

                    ความสำคัญของการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในองค์การ  ว่าแม้การบริหารงานเพื่อให้ความสนใจกับทรัพยากรมนุษย์  ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่สามารถทำให้องค์การอยู่รอด  อยู่ได้นานก็คือ มนุษย์ในองค์การ  ดังเช่น ผู้เขียนได้ให้ความสำคัญของคนในองค์การไว้ว่า  ความมีค่าของคนนั้นสามารถก่อให้เกิดผลผลิตต่อองค์การได้และเป็นหลักประกันที่จะทำให้องค์การอยู่รอด  ปลอดภัย  และเจริญก้าวหน้า  ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

                    1.  ไม่มีองค์การใดที่ตั้งขึ้นมาเพื่อล้มเลิก

                    2.  องค์การเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ

                    3.  องค์การเป็นสิ่งมีชีวิต

                    4.  องค์การจำเป็นต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

                    ความหมาย  ค่าของคน  ดังคำกล่าวที่ว่า  ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน  ว่าค่าของคนจะคงทนถาวรต้องประกอบด้วยปัจจัย 7  ประการ  ดังต่อไปนี้

                    1.  มีความขยันหมั่นเพียร

                    2.  มีความรู้ความสามารถเฉพาะตัว

                    3.  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

                    4.  มีความพึงพอใจในนโยบายการบริหารหารขององค์การ

                    5.  มีอนาคตในสายงานอาชีพ

                    6. มีระบบค่าตอบแทนที่ดีและมีเหตุผลเหมาะสม

                    7.  มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี

                    นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพชีวิตของการทำงานให้มากขึ้น  เพราะจะช่วยส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิต (Quality  of life)  ของคนในองค์การให้ดีขึ้นได้  โดยสามารถดูได้จากตัวบ่งชี้  ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพของการบริหารองค์การ  คือ  ความสามารถในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดผลอย่างเต็มที่ขององค์การ  เพราะมนุษย์มีความสำคัญที่สุดของทุกองค์การ  ซึ่งต้องมีการบริหารคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงานทุกคน 

                    ภาพรวมของบทบาทฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ  ซึ่งในองค์การหนึ่ง ๆ  ประกอบด้วยทรัพยากรมนุษย์หลายกลุ่มด้วยกัน  แต่ละกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแตกต่างกัน  โดยมีจุดมุ่งหมายที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาหนทางที่จะทำนุบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การต่อไป  ดังนี้

                    1.  บทบาทของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ตามสถานภาพ

                          ทุกคนในองค์การควรแสดงโอกาสของตนเองได้ทราบสถานภาพ  คือ  เป็นผู้ใช้แรงงาน ผู้ผลิตและผู้ใช้บริการ  ซึ่งสามบทบาทนี้ถ้าองค์การได้พัฒนาให้สมาชิกของตนเองเป็นผู้ใช้แรงงานและเป็นผู้ผลิตงานให้มากกว่าผู้ใช้บริการ  องค์การนั้นจะมีโอกาสอยู่รอดได้มาก  โอกาสและความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกเช่น  อายุ  เพศ  เชื้อชาติ  การศึกษา ฯลฯ

                    2.  บทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                มีการเสนอเค้าโครง  กระบวนการและการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ให้พิจารณาเป็น 2 นัยด้วยกัน  ดังนี้ 1)  ตามนัยที่เป็นเหตุผลส่วนบุคคล  คนเมื่อทำงานต้องการความก้าวหน้า  จึงเป็นหน้าที่ขององค์การที่ต้องพยายามหาทางทำให้สมาชิกทุกคนมีความก้าวหน้าให้ได้  ดังนั้นจึงต้องร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย  โดยฝ่ายองค์การเป็นผู้จัดหา  ริเริ่มและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการพัฒนาขึ้น  2)  ตามนัยที่เป็นเหตุผลต่อองค์การ  องค์การต้องจัดหา  ส่งเสริมให้สมาชิกเกิดความรู้  ทักษะและความสามารถเพิ่มพูนผลผลิตให้องค์การได้  ในกรณีที่พัฒนาหน่วยงานให้มีทรัพยากรในการทำงานเป็นเลิศ  ซึ่งส่งผลทางอ้อมให้สมาชิกในองค์การเกิดความพึงพอใจและอยากทำงาน  หน้าที่ของผู้บริหารองค์การระดับสูง  ต้องเป็นบุคคลรู้จักมององค์การในภาพรวมให้ทะลุปรุโปร่ง  สามารถจัดคนกับงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  คือ  ทำเค้าโครง  กระบวนการและการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

                    3.  บทบาทของผู้บริหารงานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                          สรุป  Human  Resource  Development  ไว้ว่า  ผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์  ต้องทำหน้าที่กำกับดูแลสมาชิกในองค์การและต้องเตรียมทรัพยากรมนุษย์  สำหรับอนาคตระยะยาวอีกด้วย  ดังนั้นผู้รับผิดชอบต้องกล้าเผชิญงานที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามวาระและต้องพร้อมในการพัฒนาสมาชิกให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ  ผู้บริหารจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะพิเศษบางประการ  ดังนี้

                          1)  ต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์เป็นพิเศษ

                          2)  ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจในหน้าที่หลักของงานอย่างแท้จริง

                          3)  ต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหา

                          4)  ต้องเป็นผู้ที่รู้จักพัฒนาวิธีการและจัดหากลยุทธ์ต่าง ๆ

                          เหตุผลในการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การไว้ดังนี้

                          1.  เหตุผลที่ต้องมีการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์  กล่าวคือ  มนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่า  ดังนั้นในทุกองค์การย่อมต้องรักกำลังแรงงานที่มีส่วนสำคัญในการผลิตผลงานให้มีคุณภาพสูงในระดับพึงปรารถนาอยู่เสมอ  และมนุษย์มีชีวิตจิตใจ  จึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่  ขวัญกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดพลังในการทำงาน  มนุษย์มีพลังความสามารถทางกายที่จำกัด  คือ  ถ้าร่างกายอ่อนแอ  เกิดการเจ็บป่วยก็คงจะหากำลังใจกำลังสติปัญญาที่จะทำให้เกิดผลได้ยาก  ดังนั้น ต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรงและพร้อมที่จะทำงานได้อยู่เสมอและมนุษย์เป็นผู้ที่มีสติปัญญาและความสามารถ  คือ  ส่วนหนึ่งได้ติดตัวมากับอีกส่วนหนึ่งเป็นการพัฒนาให้เกิดขึ้นได้

                          2.  เหตุผลที่ต้องแสวงหากลยุทธ์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คือ  สมาชิกทุกคนต้องการความก้าวหน้าในอาชีพ  หน้าที่ผู้บริหารต้องทำนุบำรุง  ปรับปรุง  ส่งเสริมให้สมาชิกได้รับการพัฒนาตามความเหมาะสมกับงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ  สมาชิกแต่ละคนต้องการความเสมอภาคตามฐานะและตำแหน่ง  องค์การต้องวางหลักเกณฑ์  จัดระบบงาน  โดยยึดหลัก

ความเสมอภาคและหลักความสามารถ  และในปัจจุบันผู้บริหารนิยมใช้ปรัชญาการมีส่วนร่วมมาใช้

 

                         

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 223816เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ก้อคงตระหนักว่า การหาคนดีเข้ามาทำงานในองค์กรนั้นทำได้ง่ายกว่าการรักษาคนดี ๆ ในองค์กรไว้

ขอบคุณที่ช่วยเสนอแนะค่ะ

ทุกอย่างถ้ารู้จักบำรุงรักษาก็จะดี แต่ถ้าบำรุงใจก็จะดีมาก

เห็นด้วยกับน้องลูกฮวกจ้ะ

ทุกอย่างต้องบำรุงรักษานะกั๊บ.....เจี๊ยกๆ

ขอบคุณลิงน้อยค่ะที่เสนอแนวคิด

ช่วยบอกหนูทีว่า ประสิทธิภาพของทรัพยากรมนุษย์หมายถึงอะไรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท