งานวิจัยปูนาเพื่อเกษตรกรในยุคข้าวยากหมากแพง


ในฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ปูนาจะขาดแคลนในขณะนั้นปูนามีราคาถึงกิโลกรัมละ 50 บาททีเดียว

งานวิจัยปูนา

 

ปูนาอยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวนาไทยมาช้านาน ก่อนหน้านี้อาศัยอยู่ในนาข้าวของชาวนาเพราะว่าอาหารในนาข้าวยังอุดมสมบูรณ์ หากมีประชากรปูนาที่มากเกินไป ในนาข้าวบางแห่งอดีตเคยถูกปูนากัดกินทำลายไปก็มีเช่นกัน  แต่ปัจจุบันชาวนาหันมาใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงเพื่อเพิ่มผลผลิตส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของปูนารียกได้ว่าเกือบสูญพันธุ์เลยทีเดียว การเพาะเลี้ยงปูนาเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะรักษาปูนา ที่อยู่คู่คนไทยมานานให้คงไว้นอกจากอนุรักษาพันธุ์แล้วชาวบ้านรวมทั้งเกษตรกรยังมีรายได้เสริมนำมาใช้จ่ายเลี้ยงครอบครัวได้อีกด้วย  อีกทั้งยังนำมาประกอบเป็นอาหารได้อย่างอร่อยไม่ว่าจะนำมาใส่ในส้มตำหรือจะนำมาดัดแปลงเป็นทอดมันปู และนำมาทำน้ำปูก็ได้ทั้งนั้นนอกจากนี้ยังสามารถนำไปทำอาหารได้อีกหลายอย่างด้วยกัน

 

 

            ปูนาเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ที่กระดองแข็งหุ้มลำตัว  กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่  มีสีน้ำตาลดำ หรือน้ำตาลม่วง กระดองด้านหน้าจะโค้งมนกลม และกระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบ และขอบบนมีหนามงอกออกมา ปูนามีตา 2 ตา สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตา และเหนือเบ้าตามีปุ่มเล็กๆ ข้างละปุ่มมีปากอยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้างและมีขาทั้งหมด 5 คู่ โดยขาคู่แรกนั้นมีขนาดใหญ่ เรียกว่า ก้ามหนีบ ใช้สำหรับจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร ก้ามของปูตัวผู้จะใหญ่กว่าก้ามของตัวเมีย ก้ามซ้ายและก้ามขวาจะใหญ่ ไม่เท่ากันและมักจะใหญ่สลับข้างกัน

 

 

            ตัวปูนั้นประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือส่วนหัว ส่วนอก แลส่วนท้าย ส่วนท้องมีลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น เรียกว่าจับปิ้ง จับปิ้งของปูตัวผู้นั้น มีขนาดเล็ก แต่จับปิ้งของปูตัวเมียมีลักษณะกลมและกว้าง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะใช้สำหรับเก็บไข่และลูกปูไว้ ส่วนปลายของจับปิ้งจะใช้เป็นช่องเพื่อใช้ในการขับถ่าย

 

 

              แหล่งที่อยู่อาศัยของปูนา จะขุดรูในทุ่งนา ตามคันนา คันคู หรือคันคลอง โดยจะอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ และแหล่งอาหาร และรูนั้นจะอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน คือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน กรกฎาคม การผสมพันธุ์จะใช้เวลา 3 ชั่วโมงและปูตัวเมียสามารถเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 3-4 เดือน มีไข่ในท้องประมาณ 700 ฟอง  การจับคู่จะดำเนินต่อเนื่องกัน เป็นเวลา 2-3 วัน และปูตัวผู้จะคงเกาะบนหลังตัวเมียเพื่อให้ความคุ้มครอง จนกว่าปูตัวเมียจะแข็งแรง และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ

 

 

         คุณนิตยา บุญทิม จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดเผยว่า ในปัจจุบันการจับปูนาไม่ได้ง่ายเหมือนในอดีตเพราะมีจำนวนปูในธรรมชาติน้อยลงทุกปี ในปีพศ.2549-2550 ราคาปูนาในช่วงฤดูฝนที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่นั้นมีราคาตั้งแต่ 10-15 บาทต่อกิโลกรัม แต่ในปีนี้บางท้องที่ในจังหวัดลำปางนั้นราคาปูสูงถึงกิโลกรัมละ 35 บาท ส่วนในตลาดทางภาคตะวันออกเสียงเหนือ ปูนาขายได้ในราคาตัวละ 1 บาท ซึ่งในอนาคตราคาของปูนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะสูงขึ้น โดยเฉพาะในฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ปูนาจะขาดแคลน ในขณะนั้นปูนามีราคาถึงกิโลกรัมละ 50 บาททีเดียว

 

 

           คณะผู้วิจัยจึงได้ทดลองเลี้ยงปูนา ในบ่อซีเมนต์ ทั้งบ่อกลมและบ่อสี่เหลี่ยมในท้องที่ ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยให้เกษตรกรในท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลมาเป็นเวลา ประมาณ 10 เดือน พบว่าปูนานั้นเลี้ยงง่าย กินอาหารง่าย สามารถแพร่พันธุ์ได้ และขั้นตอน ในการลี้ยงไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องดูแลอะไรมากมาย และเกษตรกรก็มีความสนใจที่จะเลี้ยงต่อเนื่องเพื่อสร้างรายได้ให้แกครอบครัว

 

 

            สำหรับการเตรียมบ่อเลี้ยงปูนานั้น สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน และบ่อซีเมนต์แต่พบว่าการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์นั้น จะมีข้อดีกว่าตรงที่สะดวกในการดุแล นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ปูนาขุดรูหนี บ่อซีเมนต์ที่ใช้เลี้ยงปูนั้นมี 2 ประเภทคือ บ่อกลม และบ่อสี่เหลี่ยม หากผู้สนใจต้องการทดลองว่าจะเลี้ยงปูได้หรือไม่ ก็ควรจะเลี้ยงในบ่อกลมก่อน บ่อกลมที่ว่าก็คือ การนำวงบ่อซีเมนต์มาเทปูนทางด้านล่าง ใส่ท่อพีวีซี ทางด้านข้าง ด้านในด้านหนึ่งเพื่อสะดวกในการถ่ายน้ำ ใส่ดินลงไปและปลูกพืชน้ำ นำปูตัวผู้และปูตัวเมียมาปล่อยลงในบ่อเลี้ยง บ่อละประมาณ 10-15 ตัว อย่าใส่ปูนาในบ่อมากนัก เพราะว่าปูจะกัดกันเอง ปูตัวไหนที่ขาหลุด ก้ามหลุด ให้เก็บออก เพราะว่าจะโดนปูตัวอื่นมารุมทำร้าย ส่วนบ่อสี่เหลี่ยมนั้น อาจใช้บ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลาหรือทำบ่อใหม่ โดยการนำอิฐบล็อกมาก่อกว้าง 2 เมตรยาว 4 เมตรและสูง 1 เมตรหรืออาจปรับเปลี่ยน ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่อย่าให้สูงมาก เพราะจะไม่สะดวกในการดูแล และเก็บผลผลิตใส่ท่อระบายน้ำไปด้วยเพราะจะทำให้สะดวกในเรื่องของการดูแลทำความสะอาด ในบ่อนี้แบ่งออกเป็น2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของปู โดยการนำเอาดินร่วนปนเหนียว หรือดินตามทุ่งนามาใส่ไว้ให้สูงประมาณ 30 ซม. ของขอบบ่อและทำให้เอียงลง ส่วนที่2 เป็นส่วนที่เป็นน้ำทำโดยลอกเลียนแบบตามสภาพธรรมชาติของแหล่งที่อยู่ โดยมีกอข้าวและพืชน้ำเช่นผักบุ้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการสังเกตการณ์การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์นั้นพบว่า ปูสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดีแม้ว่าไม่ใส่น้ำลงในบ่อ ซึ่งการเลี้ยงและการดูแลนั้นปูชอบอยู่ในที่เย็นๆ และออกหากินในตอนกลางคืน ปูนาชอบกินเศษซากเน่าเปื่อย กินต้นข้าว กุ้งฝอยและลูกปลาตัวเล็กๆ ผู้เลี้ยงปูสามารถฝึกหัดให้ลูกปูกินอาหารเม็ดโดยใช้อาหารที่เลี้ยงปลาดุก นอกจากนี้ปูนายังสามารถกินผักหรือเศษข้าวสุกเป็นอาหาร สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ ผู้เลี้ยงปูจะต้องหมั่นดูแลบริเวณที่อยู่ของปูให้สะอาด โดยต้องเก็บเศษอาหารที่ปูกินไม่หมดทิ้ง เพราะหากทิ้งไว้นานๆ จะมีเชื้อราเกิดขึ้นทำให้ปูเกิดโรคได้

 

 

          เนื่องจากนิสัยของปูชอบอาศัยอยู่ที่เย็นๆ ดังนั้นผู้เลี้ยงอาจนำกระเบื้องมุงหลังคา ท่อพีวีซี มาใส่ในบ่อเลี้ยงเพื่อเป็นที่ให้ปูใช้หลบแดดและความร้อนในช่วงเวลากลางวัน หรืออาจประหยัดงบประมาณโดยการใส่ทางมะพร้าวเข้าไปในบ่อแทน แต่ก็มีข้อเสียเพราะว่าทางมะพร้าวจะเน่าเสียเร็วผู้ดูแลต้องหมั่นดูแลโดยการเปลี่ยนทางมะพร้าวใหม่อยู่เสมอ และการจำหน่ายปูนาช่วงที่เหมาะสมนั้นควรเป็นช่วงฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงที่ปูในธรรมชาตินั้นหายาก ราคาประมาณกก.ละ 50 บาท อย่างไรก็ตามราคาปูนาที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน นั้นมีราคาประมาณ 15 บาทต่อกก. และมีแม่ค้ามาซื้อปูถึงที่โดยผู้เลี้ยงไม่ต้องนำปูไปจำหน่ายเอง และตลาดยังมีความต้องการอยู่อีกมาก

 

 

งานวิจัยปูนานี้นับได้ว่าเป็นประโยชน์แก่พี่น้องเกษตรกร ซึ่งเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยในยุคที่ข้าวยากหมากแพงเช่นนี้

 

แหล่งข้อมูล; ( 1 )คุณนิตยา บุญทิม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

               ( 2 ) เดลินิวส์ ฉบับวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2551 หน้าที่ 41

 

คำสำคัญ (Tags): #การวิจัยปูนา
หมายเลขบันทึก: 223645เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สวัสดีครับ  หลังจากที่ติดตามเรื่องกล้วย  แล้วก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ปู  สงสัยคำที่ว่า  "อย่าหาเลือดกับปู"  ....ครับผม

อ่านแล้วน่าสนใจครับ เพราะปูนาธรรมชาติหายากแล้วครับ ขอทดลองเลี้ยงดูด้วยคนครับ แล้วจะแวะมาของคำแนะนำครับ

สวัสดีครับ

ปูมีน้อยลง เพราะสภาพแวดล้อมแย่ลงหรือเปล่าครับ

- สวัสดีครับพี่ แวะมาเยี่ยมครับ

- อ่านแล้วอยากกิน "ลาบปู" ครับ แต่ก็กลัว ๆ เหมือนกัน เพราะใน "นาข้าว" ตอนนี้หลาย ๆ พื้นที่มีสภาพเหมือน "ร้านขายสารเคมี"

ที่หนองคายเริ่มมีเกษตรกรทดลองเลี้ยงบ้างแล้วครับ

ปูเลี้ยง น่าจะปลอดสารพิษดีกว่านะคะ

  • ขอบคุณหนุ่มกร
  • ที่แวะมาทักทายกันครับ
  • ขอบคุณ ARAM
  • ที่มาแวะทักทายกัน
  • ต้องทดลองเลี้ยงดูก่อนครับ

 

  • ขอบคุณธ.วัชชัย
  • ที่มาแวะเยี่ยมกัน
  • ยินดีครับ
  • ขอบคุณน้องวิศรุต
  • ที่มาแวะเยี่ยมกัน
  • รู้สึกหายไปนาน
  • เห็นด้วยครับ สภาพพื้นที่เปลี่ยนไปที่มีการใช้สารเคมี
  • ขอบคุณท่านเกษตรอยู่จังหวัด
  • หากมีการทดลองเลี้ยงแล้ว
  • ได้ผลประการใดนำมาเล่าผ่านBlog ด้วยนะครับ
  • ขอบคุณครูตา ลป.
  • ที่มาแวะทักทายกัน
  • เห็นด้วยครับ ปูเลี้ยงต้องปลอดภัยกว่าแน่นอนครับ

ได้เข้ามาอ่านบทความ น่าสนใจมากค่ะเพราะดิฉันกำลังศึกษาเรื่องของปูนาอยุ่เหมือนกัน

ก่อนอื่น ขอ ขอบคุนครับ ที่ให้ความรู้ ถ้าผมต้องการเพาะเลี้ยงต้องทำไงครับ

ต้องการซื้อปูนา 500kg/วัน ทุกขนาด ที่ไหนมีขายกรุณาบอกด้วยนะครับ 085-143-7365 กรุงเทพฯ

มีปูนาจำหน่ายตลอดทั้งปี ราคาขึ้นอยู่ตามฤดูกาล สนใจติดต่อ 081-5872867 ได้ทุกเวลาค่ะ

อยากเลี้ยงแต่ไม่รู้แหล่งรับซื้อเลย

นายอดุลย์ ใสรังกา

สนใจครับเพราะตอนนี้ปูหายาก ตามท้องนามีแต่สารเคมี

  • ขอบคุณท่านอดุลย์
  • ที่แวะทักทายและลปรร.
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งณ.ปัจจุบันปูนาหายากและราคาแพง
  • หากเลี้ยงเองได้
  • จะเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวได้ครับ

เข้ามาเยี่ยมเยือนครับเข้าน้าฝนแล้วปูคงได้ออกมาเดินเล่นกลางสายฝนที่บ้านผมชัยภูมินาบนที่ดอนปูจะตัวนิ่มและยังพอมีให้จับมาทำกับข้าวได้ การเลี้องถ้าทำได้จะดีมากครับ

  • ขอบคุณคุณอดุลย์ ใสรังกา
  • ที่มาแวะทักทายกัน
  • และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ยินดีครับ

สวัสดีครับ ผมก็กำลังทดลองเลี้ยง พึ่งจับปูนามาใส่บ่อปูน ร้อยกว่าตัว ไม่รู้ว่าจะรอดไหม 5555 เพื่อนๆพี่ๆน้องๆคนไหนมีเทคนิคการเลี้ยงที่ประสบผลสำเร็จช่วยแนะนำบ้างนะครับ ขอบคุณครับ

ปูนา เลี้ยงที่บ้านมีเยอะมาก ส่งได้ตลอดทั้งปี

เชียงใหม่ คับ 0613386014 ติดต่อสอบถามได้ตลอดคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท