ลักษณะของสแตฟฟอร์ดเชียร์ เทอร์เรียร์ (STAFFORDSHIRE TERRIER)


ลักษณะของสแตฟฟอร์ดเชียร์ เทอร์เรียร์ (STAFFORDSHIRE TERRIER)

สแตฟฟอร์ดเชียร์ เทอร์เรียร์ (STAFFORDSHIRE TERRIER)

     ความเหมาะสมในการเลี้ยงสุนัขพันธุ์สแตฟฟอร์ดเชียร์ เทอร์เรียร์ คือ ต้องการครอบครัวหรือผู้ที่สามารถอุทิศเวลาให้มันเป็นสุนัขที่ฝึกได้ง่าย มันมีความพึงพอใจที่จะเอาใจผู้เป็นเจ้าของ เป็นสุนัขที่คุ้นเคยกับผู้คนและเฉลียวฉลาดมาก เป็นสุนัขที่เต็มไปด้วยพลังงาน มีความสามารถในเชิงกีฬา ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงร่วมกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ และถ้าเลี้ยงร่วมกับเพศเดียวกันก็จะเกิดการต่อสู้กัน

     สุนัขพันธุ์นี้มีสายเลือดของสุนัขพันธุ์บูลด็อกและสุนัขพันธุ์เทอร์เรียร์เท่าๆ กัน ก็เลยตัวล่ำ สู้ไม่ถอย เคยมีประวัติมวยสุนัขติดอยู่ในประวัติศาสตร์ของอังกฤษมาตั้งแต่ต้นคริสต์ษตวรรษที่ 19 แล้ว

     ชื่อนี้เอามาจากพวกชาวเหมืองของเมืองสแตฟฟอร์ดเชียร์ประเทศอังกฤษ ที่ตั้งหน้าตั้งตาเพาะสุนัขบ่อนเอาไว้กัดกันมาช้านาน ก่อนที่จะมีกฎหมายห้ามกัดสุนัข

     อเมริกาเพิ่งรู้จักสุนัขพันธุ์นี้เมื่อปี 1870 ซึ่งในตอนแรกเรียกกันว่า แยงกี้เทอร์เรียร์บ้าง หรือไม่ก็อเมริกันบูลล์เทอร์เรียร์บ้าง พวกนักเลงเพาะสุนัขที่อเมริกาเน้นหนักกันที่ขนาดและรูปร่าง สุนัขที่เพาะจากอเริกาก็เลยตัวหนักกว่าเดิม

     สุนัขรุ่นสมัยใหม่นี้ทิ้งนิสัยนักเลงไปแล้ว กลายสุนัขที่สุภาพและวางใจได้ ว่ากล่าวก็ง่าย เมื่อนำมาเลี้ยงก็คงไม่สามารถที่จะหาใครที่น่ารักและภักดีเหมือนเจ้าสแตฟฟอร์ดเชียร์ตัวนี้ไม่ได้อีกแล้ว มันจะรักเจ้านายถึงขั้นยอมถวายชีวิตเลยทีเดียว

ลักษณะโดยทั่วไป มีขนเรียบ มีพละกำลังมากและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ไม่หยุดนิ่งและคล่องแคล่วว่องไว

ศีรษะ

สั้น ลึก กะโหลกกว้าง กล้ามเนื้อแก้มเด่นชัด มีหน้าแงที่ชัดเจน หน้าผากสั้น จมูกสีดำ หากเป็นสีชมพูเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง

ตา

นิยมสีดำ แต่อาจจะมีความสัมพันธ์กับสีขนก็ได้ ตากลมขนาดปานกลาง ตาสีจางหรือขอบตาสีชมพูเป็นข้อบกพร่อง ยกเว้นในกรณีที่ขนรอบขอบตาเป็นสีขาวขอบตาก็อาจเป็นสีชมพูได้ หูไม่ใหญ่ ใบหูตั้งครึ่งเดียว ถ้าใบหูตั้งหรือหลุมถือเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง

ปาก

สบกันแน่น ฟันที่อยู่บนหรือล่างยื่นไปข้างใดข้างหนึ่งถือเป็นข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง

คอ

เส้นหลังและลำคอเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ เส้นหลังอยู่ในแนวระดับ ด้านหน้ากว้าง ส่วนนอกที่อยู่ระหว่างขาหน้าลึก กระดูกซี่โครงโค้งได้ที่ ซี่โครงที่อยู่ใกล้ชายกระเบนเหน็บค่อนข้างบอบบาง ไม่ตัดหาง หางที่ยาวหรือโค้งเกินไปเป็นข้อบกพร่อง

ส่วนหน้า

ขาเหยียดตรง มีกระดูกที่แข็งแรง ตั้งอยู่ค่อนข้างห่างจากกัน ไหล่ไม่หย่อนยาน ฝ่าเท้าไม่อ่อนแอ เท้าควรมีอุ้งเท้าที่หนา แข็งแรงและมีขนาดปานกลาง

ส่วนท้าย

ควรจะมีกล้ามเนื้อส้นเท้าที่ต่อกับเข่าควรโค้งได้ที่ นิ้วติ่งที่ขาหลังควรตัดทิ้ง

ขน

เรียบ สั้น แนบติดหลัง ไม่ควรตัดให้สั้น

สี

สีแดง สีลูกวัว สีขาว สีดำหรือสีน้ำเงินหรือสีใดสีหนึ่งที่กล่าวมาร่วมกับสีขาว อาจจะมีเฉดสีของสีลายเสือ หรือเฉดสีลายเสือร่วมกับสีขาว สีดำ สีน้ำตาลแดงและสีตับจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ประกวด

การย่างก้าว

อิสระ เต็มไปด้วยพละกำลัง คล่องแคล่วว่องไว ไม่ต้องออกแรงมาก หากมองจากทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ขาจะเคลื่อนไหวขนานกัน
หมายเลขบันทึก: 223468เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท