ประชุมวิชาการระดับชาติมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 4 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ศาสตร์ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ใช่นักเรียนห้องบ๊วย ??

เมื่อวันที่ 13-14 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่นได้จัดประชุมทางวิชาการระดับชาติ ขึ้น เพื่อเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัย ทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์นักวิจัย ทั้งในมข และสถาบันภายนอก

วันแรกช่วงเช้า ก่อนการบรรยายท่านอธิการบดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุมนต์ สกลไชย ได้มาเป็นประธานเปิดพิธีการประชุม และท่านก็ได้กล่าวชื่นชมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมฯ ว่าได้มีการจัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการอยู่อย่างต่อเนื่อง 

และจากสถิติที่ท่านอธิการบดีได้สำรวจคร่าวๆ จากจำนวนการจัดประชุมทางวิชาการภายในม.ขอนแก่นทุกคณะ ปีหนึ่งๆ มีเป็นร้อยครั้ง นับว่าเป็นนิมิตหมายดีของการนำมหาวิทยาลัยไปสู่ การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย แต่อย่างไรก็ตาม ท่านได้ทิ้งประเด็นไว้ให้คิดว่า..งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ได้นำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในวงกว้างอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร และทำอย่างไรจึงจะทำให้งานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น มี impact มากขึ้น เมื่อเทียบกับงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ตัวเลขของการอ้างถึงจาก impact factor ในวารสารทางวิชาการ เป็นตัวบ่งชี้ได้หรือไม่ ว่างานวิจัยทางทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น มีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

  

ำหรับการบรรยายช่วงเช้า มี 2 หัวข้อซึ่ง น่าสนใจมากคือ "มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์..ความท้าทายใหม่ๆ" จากวิทยากรที่มาไกลถึงเชียงใหม่ ดร. อานันท์ กาญจนพันธ์ ท่านได้ทิ้งประเด็นน่าสนใจและน่าคิดไว้หลายประเด็น เช่น

  • กมนุษยศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ จะต้องมีคุณสมบัติหนังบางกว่าคนอื่น คือต้องรู้สึกง่ายกว่า ไม่มองอะไรแบบ"ธรรมชาติ" ามที่เห็นเพียงเท่านั้น

  • ักมนุษยศาสตร์ ต้องมองให้เห็นความสำคัญของการเป็นมนุษย์ และต้องปรับมิติในเชิงวิทยา ม่ใช่มองว่าการวิจัยเป็นแค่การเก็บข้อมูล ต่ต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องว่ามีความคิดอะไรซ่อนอยู่ มีมิติต่างๆอย่างไร และสามารถนำความคิดเหล่านั้นไปใช้ปรับใช้ได้

  • สังคมที่จะสามารถแก้ปัญหาได้เก่ง ต้องมองปัญหาได้หลายทาง คนต้องรู้จักสังเกต วิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องต่างๆได้ดีขึ้น

  • ปัญหาของการทำวิจัยปัจจุบัน มักติดกรอบและติดหน่วยวิจัย  มองเพียงขอบเขตพรมแดนของสาขาวิชา ซึ่งเป็นอุปสรรคของการวิจัยทางสังคมศาสตร์

  • สังคมศาสตร์ ไม่มองคนเป็น ปัจเจก แต่มองคนแบบ differentiate แยกแยะให้เห็นความแตกต่างและมองให้เห็นว่ามีการเชื่อมโยงแต่ละส่วนกันอย่างไร  ซึ่งจะทำให้เห็นปัญหา และเกิดวิธีวิทยา

  • การคิดแบบเชิงเดี่ยว (อจ ยกตัวอย่างพืชเชิงเดี่ยวแนวคิดของชาร์ล ดาร์วิน) ทำให้การศึกษาคับแคบ เพราะปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว แต่ควรมองหลายๆแบบ ไม่ยึดติดตายตัว เพราะมันมีความสัมพันธ์เชิงซ้อนอยู่ในเรื่องราวนั้นๆ

  • เราควรเรียนรู้จากความรู้หลายๆแขนง และไม่ติดอยู่แต่ในตำราเสมอไป

  • โลกยุคสมัยนี้ เป็น "โลกพันธุ์ทาง" คือมีความซ้อนกัน ผสมกันอย่างหลากหลาย ดังนั้น สังคมศาสตร์ จึงต้องอยู่กับความจริงนี้ เพราะไม่มีอะไร "แท้" อีกต่อไป

  • อีกข้อคิดที่น่าสนใจสำหรับนักวิจัย คือ " สังคมศาสตร์ " ต้องเสนอความคิดใหม่ๆ concept ใหม่ๆ ให้สามารถนำไปคิดต่อได้  และ ไม่ควรดูถูก concept ที่มาจากงานวิจัยในท้องถิ่น

     สำหรับการอภิปรายในวันที่สอง ก็น่าสนใจเช่นกันคือ" แนวโน้มและเครือข่ายการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ " ซึ่งวิทยากรประกอบด้วยท่านคณบดี คณะมนุษยศาสตร์ฯ มข. ผศ ดร. เยาวลักษณ์ อภิชาตวัลลภ และอีกสองท่านเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ จากม.มหาสารคามและ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี (ขออภัยอย่างยิ่งที่ไม่ได้จดชื่อท่านมาด้วย)

มีคำพูดช่วงหนึ่งที่อ่านผศ.ดร เยาวลักษณ์ กล่าวว่า "มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถูกมองว่าเป็นนักเรียนห้องบ๊วย เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาอื่นๆในมหาวิทยาลัย" ซึ่งการจะทำอย่างไรให้งานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ และมีส่วนช่วยพัฒนาสังคมวงกว้างได้ ต้องเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

 ผู้เขียนจับประเด็นที่น่าสนใจจากวันที่สองได้อีกหนึ่งความคิด คือ

  • "การทำวิจัยเรื่องของท้องถิ่น สามารถทำได้ และเป็นประโยชน์ ถ้านำมาพัฒนาเชื่อมโยงไปสู่สากลได้" 

  • "ไม่จำเป็นต้องทำวิจัยจากการมองภาพกว้างเสมอไป การจับภาพเล็กๆ ก็สามารถเชื่อมโยงปัญหาได้เช่นกัน แต่เราต้องมองให้ไกลกว่าสิ่งที่เห็น  และค้นหาให้ได้ว่ามีความคิดอะไรครอบอยู่ในสถานการณ์นั้น"

จากการได้ร่วมฟังการบรรยายในการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ ผู้เขียนได้ประโยชน์อย่างมาก ทำให้เกิดพุทธิปัญญาหลายอย่าง และคิดว่าสามารถนำไปเชื่อมโยงกับการพัฒนางานวิจัยของตนเองได้  และหวังว่าบันทึกนี้ อาจจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นได้บ้างไม่มากก็น้อย

 

หมายเลขบันทึก: 223035เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2008 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ

ชอบเนื้อหาที่นำเสนอมาก

ขอบคุณที่ช่วยสรุปเรื่องยาก...เรื่องยาว ให้สั้น

น่าติดตามและได้ความรู้...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท