ห.ร.ม.


ห.ร.ม.

 

ตั
วเลขจำนวนเต็มใด ๆ ก็ตามที่มีค่ามากกว่า 1 สามารถเขียนในรูปของตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะได้

 

            ถ้าให้ n เป็นเลขจำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่า 1
 
 

        n = p1n1 p2n2...pknk


 

 

            เมื่อ p คือเลขจำนวนเฉพาะ
                                                                p1 < p2 < ... < pk
                                                                n1, n2, n3, ...nk เป็นเลขจำนวนเต็ม > 0
                                                                k >= 1
            ตัวอย่างเช่น
                                                                28 = 22 x 50 x 71
                                                                200 = 23 x 52 x 70
-------------------------------------------------------------------------------

ห.ร.ม. คืออะไร

        ลองดูจากตัวอย่างง่าย ๆ ตัวอย่างหนึ่ง
 

"สมมุติเลิศชายมีกระดาษแผ่นหนึ่ง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า กว้าง 8 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว เลิศชายต้องการตัดกระดาษนี้ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปเล็ก ๆ หลายรูป และให้ได้ขนาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ที่สุด โดยไม่มีกระดาษเหลือเศษ"
จากตัวเลข  8 = 23 x 30
จากตัวเลข  12 = 22 x 30
                    เห็นได้ชัดว่า ตัวเลขทั้งสองตัวเขียนอยู่ในรูปจำนวนเฉพาะได้
                    ตัวเลขจำนวนเฉพาะที่ตรงกัน และพิจารณาส่วนของตัวที่ซ้ำกันน้อยที่สุด
                                            เช่น มี 2 ซ้ำกันน้อยที่สุด 2 ตัว (22)
                                                  มี 3 ซ้ำกันน้อยที่สุด 0 ตัว (30)
                    ตัวหารร่วมที่หารเลข 8 และ 12 ลงตัวที่มากที่สุดคือ 22 x 30 = 4
                                            4 จึงเป็นตัวหารร่วมของด้านทั้งสอง
                    นั่นคือหากตัดแบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้ด้านละ 4 จะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัสใหญ่สุด  
แบ่งได้  6 รูป--------------------------------------------------------------------------------
หลักการ ห.ร.ม.

          สมมุติว่าเรามีตัวเลขจำนวนเต็มบวกสองตัว a และ b เราจะหาตัวหารร่วมได้อย่างไร

ถ้าสมมุติให้ d เป็นตัวหารร่วม
                                                        d หาร a ได้ลงตัว
                                                        d หาร b ได้ลงตัว
ถ้าเขียนจำนวน a และ b ในรูปแบบเลขจำนวนเฉพาะ
                                                        a = p1a1 p2a2 ... pkak
                                                                  b = p1b1 p2b2 ... pkbk
                                                          โดยที่ ai, bi >= 0
 
เมื่อ d หาร a และ b ลงตัว เขียน d ในรูปแบบจำนวนเฉพาะ
                                                                 d = p1d1 p2d2 ... pkdk
                                                                เมื่อ di <= ai
                                                                      di <= bi
                                                                      di <= min(ai, bi)

                            หรืออาจกล่าวได้ว่า di น้อยกว่าค่าน้อยสุดระหว่าง ai, bi
        แต่ถ้าจะให้เป็นตัวหารร่วมที่มากที่สุด (ห.ร.ม.) ค่า di จะต้องเท่ากับค่าน้อยที่สุดระหว่าง ai, bi
                                                                di = min(ai, bi)

__________________________________________________________________________________________

ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 222977เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2008 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความรู้นี้ดีครับ

แต่จะเสริมนิดครับ

หรม. ส่วนมากจะใช้กับเรื่อง เศษส่วน ในระดับ ป.4, ป.5 และ ม.1

ผลจากการคิด หรม.ได้ไวจะช่วยในการทำให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ (เป็นหลัก)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท