วิวัฒนาการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


วิวัฒนาการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
วิวัฒนาการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

     ในระบบการจัดการศึกษาแต่เดิมจะจัดรูปแบบเดียว คือ การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education) ซึ่งแต่เดิมไม่ได้มีคนคำนึงถึงเด็กพิการหรือเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระบบปกติทั่วไป แต่ต่อมามีกลุ่มเด็กพิการที่นักการศึกษาเห็นว่าสามารถให้การศึกษาได้ จึงได้จัดเป็นโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการให้กับกลุ่มเด็กพิการเหล่านั้น จึงได้มีกำเนิดการศึกษาพิเศษ (Special Education) ขึ้น เมื่อจัดการศึกษาพอเศษให้เป็นระยะเวลาหนึ่ง มีกลุ่มนักการศึกษาได้พิจารณาเห็นว่า เด็กพิการกลุ่มหนึ่งสามารถพัฒนาได้มาก ได้มีการทดลองให้เด็กพิการเข้าไปเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป และเกิดวิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม เรียกว่า การเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
     จากคำจำกัดความของการเรียนร่วมและแนวทางการจัดการเรียนร่วมนี้ มีประเด็นสาระสำคัญอยู่ 2 ประเด็ก คือ
  ข้อที่ 1 โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ต้องเตรียมเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้พร้อมที่จะเข้าเรียนร่วมได้ หมายถึง เด็กจะต้องมีพัฒนาการเท่าเทียมกับเด็กปกติทั่วไปทุกประการจึงจะได้รับโอกาสให้เข้าเรียนร่วมโดยทางโรงเรียนจะมองว่า เด็กมีปัญหาจึงต้องปรับและเตรียมที่เด็ก
  ข้อที่ 2 โรงเรียนและชั้นเรียนปกติทั่วไปไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน หลักสูตร เทคนิคการสอน การประเมิน ฯลฯ โรงเรียนเพียงแต่จัดบริการสนับสนุนช่วยเหลือเพิ่มเติมฉะนั้นหากเด็กได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่ผู้บริการและครูเข้าใจก็จะได้รับโอกาสให้เข้าเรียนร่วมและได้รับการสนับสนุน แต่หากเด็กไปเข้าเรียนในโรงเรียนที่ผู้บริหารและครูไม่เข้าใจ เด็กก็จะขาดโอกาสที่จะไดรับการสนับสนุนช่วยเหลือให้สามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ได้สูง การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล และยังให้คำจำกัดคามเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารกับประเทศต่างๆ ไว้ดังนี้
"Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"
     การจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทยมีความเป็นมาตามลำดับ ดังนี้
  พ.ศ. 2478 การตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาภาคบังคับ ประกายยกเว้นให้เด็ก พิการไม่ต้อง เข้าเรียน
  พ.ศ. 2482 นางสาวเจนีวีฟ คอลฟิลด์ (พ.ศ. 2431 - 2515) สตรีตาบอดชาวอเมริกันเริ่มก่อตั้ง โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้มีคณะบุคคลร่วมจัดตั้งมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
  พ.ศ. 2494 กระทรวงศึกษาธิการเรียนการสอนให้แก่เด็กพิการประเภทต่าง ๆ ได้แก่ เรียนช้า ตาบอด หูหนวก ร่างกายพิการ และเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยทดลองเปิดโครงการ และโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการ โดยกรมสามัญศึกษาจัดตั้งหน่วยทดลองสอนเยาวชนหูหนวก 1 ห้อง เรียนในโรงเรียนเทศบาล 17 วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
  พ.ศ. 2495 มีการจัดตั้ง มูลนิธิเศรษฐเสถียร ขึ้นเพื่อร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการเปิดเป็นโรงเรียนสอนคนหูหนวกในปีต่อมา และเปลี่ยนชื่อมูลนิธิเดิมเป็น มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก แทน โดยใช้ที่ดินพร้อมอาคารตึกของคุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ บริจาคเป็นสถานที่เรียน ปัจจุบันโรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเศรษฐเสถียร
  พ.ศ. 2507 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถได้โปรดเกล้าฯ ทรงรับมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิจึงมีชื่อใหม่เป็น มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์
  พ.ศ. 2499 นักเรียนพิการตาบอดได้เข้าเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก โดยความช่วยเหลือของมูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย
  พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการจัดให้มีการทดลองนำเด็กเรียนช้าเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนปกติระดับประถมศึกษาของกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก 7 แห่ง คือ โรงเรียนพญาไท โรงเรียนวัดชนะสงคราม โรงเรียนวัดพญายัง โรงเรียนวัดหนัง โรงเรียนวัดนิมมานรดี โรงเรียนสามเสนนอก และโรงเรียนวัดชัยชนะสงคราม
  พ.ศ. 2501 กรมสามัญศึกษา อนุมัติให้กองการศึกษาพิเศษจัดทำโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคโปลิโอ หรือโรคไขสันหลังอักเสบ ในโรงพยาบาลศิริราช มีการก่อตั้งมูลนิธิสงเคราะห์คนพิการ ขึ้นเพื่อช่วยเหลือในการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่เด็กเหล่านี้ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธีอนุเคราะห์คนพิการ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และจัดตั้ง ศูนย์บริการเด็กพิการ ขึ้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพื่อช่วยเหลือเด็กพิการที่ยากจน และมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดหรือไกลจากโรงพยาบาลศิริราชในกรุงเทพฯ
  พ.ศ. 2504-2508 มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ ร่วมกับกองการศึกษาพิเศษ จัดตั้งโรงเรียนสอนเด็กพิเศษ ขึ้น โดยมีบุคลากรฝ่ายบริหารและทำการสอนจากองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งต่อมากระทรวงศึกษาธิการอนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้พระราชทานชื่อให้ว่า โรงเรียนศรีสังวาลย์ ในปี พ.ศ. 2508
  พ.ศ. 2504 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโรงเรียนสอนคนหูหนวกขึ้นอีกแห่งหนึ่งในเขตทุ่งมหาเมฆ
  พ.ศ. 2505 - 2509 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนด้านวิทยาการ จากมูลนิธิอเมริกันเพื่อคนตาบอดโพ้นทะเล(AmericanFoundation Overseas for the Blind)
 
  พ.ศ. 2505-2507 มีการจัดตั้งมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขึ้นใน พ.ศ. 2505 และชั้นเรียนพิเศษในโรงพยาบาลปัญญาอ่อน เมื่อ พ.ศ. 2506 เพื่อสอนเด็กปัญญาอ่อน อายุระหว่าง 7-15 ปี โดยจัดตามระดับความสามารถเป็น 3 กลุ่ม
  คือระดับเรียนได้
  ระดับฝึกได้
  และระดับปัญญาอ่อนรุนแรง
  พ.ศ. 2507 กรมสามัญศึกษาขยายการเปิดชั้นเรยนร่วมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินประเภทหูตึงขึ้นในโรงเรียนพยาไท ซึ่งเป็นชั้นเรียนพิเศษคู่ขนานกับชั้นประถมศึกษาปกติมีครูการศึกษาพิเศษเป็นผู้สอนและฝึกแก้ไขการพูดให้นักเรียน
  พ.ศ. 2512 - 2516 กรมการฝึกหัดครูอนุมัติการจัดตั้ง ศูนย์ทดลองสอนเด็กหูพิการชั้นเด็กเล็ก ขึ้นในวิทยาลัยครูสวนดุสิต พร้อมทั้งเปิดสอนวิชาการศึกษาพิเศษในระดับปริญญา เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2513
  พ.ศ. 2531 กรมการฝึกหัดครูได้มอบให้สถาบันราชภัฎสวนดุสิตจัดให้มีการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิเศษ และครอบครัวโดยมีจุดมุ่งหมายให้คำแนะนำพ่อแม่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กพิการซึ่งมีอายุระหว่าง 0 -7 ปี เพื่อให้ได้พัฒนาการไปตามขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กปกติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา กระทรวงศึกษาได้ขยายโครงการสอนเด็กนักเรียนช้าและเด็กหูตึงเรียนร่วมในระดับประถมศึกษาออกไปอีกหลายโรงเรียน เช่น โรงเรียนอนุบาลสามเสน โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง โรงเรียนวัดหนัง โรงเรียนประถมบางแค โรงเรียนประถมนนทรี โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดกรมสามัญศึกษา
  พ.ศ. 2520 - 2531 มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กและบุคคลปัญญาอ่อน ในปี พ.ศ. 2531 มูลนิธิฯ ได้เริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพแบบโรงงานในอารักษ์ พร้อมทั้งฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพแก่บุคคลปัญญาอ่อนวัยผู้ใหญ่ และได้รับพระราชทานชื่อว่า ศูนย์ฝึกอาชีพปัญญาคาร ตั้งอยู่ที่ซอยพระมหาการุณย์ จังหวัดนนทบุรี
  พ.ศ. 2523 - 2530 กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา ได้ขยายการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยรับโอนโรงเรียนกาวิละอนุกูล จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2523) เดิมชื่อโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์กาวิละวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนขึ้นกับค่ายกาวิละและจัดตั้งโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2530)พ.ศ. 2529 สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ดำเนินงานจัดการเรียนร่วมภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการประถมศึกษาสำหรับเด็กพิการร่วมกับเด็กปกติ โดยมอบให้นักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ดำเนินงานทดลองจัดการเรียนร่วม
สำหรับเด็กพิการ 2 ประเภท คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
http://www2.se-ed.net/thaieducate/
http://dekspecial.blogspot.com
หมายเลขบันทึก: 222260เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2008 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิวัฒนาการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของไทยมีไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท