h-index


h-index สะท้อนทั้งปริมาณและคุณภาพของผลงานวิจัย

ปัจจุบัน มีการคิดค้นดัชนีหลายตัวเพื่อบ่งบอกถึงคุณภาพของงานวิจัยนะครับ ในตอนนี้ เราจะมาดูค่า h-index กันครับ

เมื่อก่อนเราดูคุณภาพของนักวิจัยที่ปริมาณการตีพิมพ์ อย่างเช่น มองว่า "โอ้โฮ พิมพ์ได้ตั้ง 100 papers แน่ะ เก่งจัง" ....... แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนเริ่มเรียนรู้มากขึ้น เราก็พยายามดูอย่างอื่นๆ ประกอบ อย่างเช่น ดู impact factor (IF) ของวารสารที่ใช้พิมพ์ผลงาน ถ้า IF สูงๆ ก็แปลว่า บทความส่วนมากของวารสารนั้นมีผลกระทบต่อวงการวิชาการสูง และ/หรือ บทความในวารสารนั้นๆ มีการถูกอ้างอิงบ่อยครั้ง และยังสะท้อนถึงนโยบายของวารสารในการคัดเลือกบทความด้วย (ถ้า IF สูงๆ จะพบว่า บทความต้องเจ๋งจริงๆ บรรณาธิการถึงยอมให้ลงพิมพ์ ไม่งั้นเสียชื่อวารสารหมด)

อย่างไรก็ตาม การตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่มี IF สูงๆ ก็ใช่ว่าจะได้รับการอ้างอิงมากครั้งเสมอไปนะครับ แถมถ้าวารสารมีจำนวนบทความต่อปีไม่มาก ค่า IF ก็จะผันผวนได้มาก และอาจไม่สะท้อนคุณภาพที่แท้จริงครับ นอกจากนี้ วารสารที่อนุรักษ์นิยม ไม่ชอบเกาะกระแสสังคม อาจไม่สนใจค่า IF เลยก็ได้ เพราะเราไม่มีทางรู้ว่างานดีๆ แต่ไม่ตรงกับกระแส วันหนึ่งอาจมีประโยชน์อย่างมากก็ได้

ที่พูดถึงค่า IF ทั้งแง่บวกและลบ เพื่อชี้ให้ท่านผู้อ่านเห็นว่าค่า IF "อาจ" สื่อถึงคุณภาพของวารสาร แต่ก็ยังไม่ชัดเจนนัก ถ้าจะบอกว่าบทความที่อยู่ในวารสารที่มี IF สูง จะมี "คุณภาพสูง" จริงๆ ในมุมของการนำไปใช้ต่อยอดองค์ความรู้ ดังนั้น สิ่งที่ยังนิยมใช้เพื่อบอกคุณภาพของการวิจัยก็ยังคงเป็น ปริมาณผลงานและจำนวนครั้งที่ผลงานเหล่านั้นได้รับการอ้างอิง ปัญหาที่น่าสนใจคือ "ทำอย่างไรให้มีตัวเลขหนึ่งตัวที่สามารถสะท้อนได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ"

เมื่อเร็วๆ นี้ มีนักฟิสิกส์ ชื่อ Jorge E Hirsch คิดค้นดัชนีขึ้นมาหนึ่งตัว นัยว่าใช้ระบุคุณภาพของนักวิจัยโดยพิจารณาทั้งปริมาณงานที่ตีพิมพ์และจำนวนครั้งที่บทความแต่ละชิ้นถูกนำไปใช้อ้างอิง วิธีหาค่า h-index จะซับซ้อนเล็กน้อยนะครับ แต่เมื่อได้ค่ามาแล้วตีความได้ดังนี้ ผมมี h-index = 5 แปลว่า ผมมีบทความ 5 เรื่อง ที่แต่ละบทความมีการอ้างอิงมากกว่า 5 ครั้ง ผู้ที่มี h-index สูงๆ สมมติว่าเป็น 100 ก็แปลว่า มีบทความ 100 เรื่อง ที่แต่ละบทความมีการอ้างอิงมากถึง 100 ครั้งขึ้นไป อันนี้ ยิ่งใหญ่มากนะครับ 

อ่านเรื่องราวของ h-index เพิ่มเติมได้ที่ website :

http://en.wikipedia.org/wiki/Hirsch_number

Download โปรแกรมคำนวณค่า h-index ได้จาก website :

http://www.harzing.com/resources.htm#/pop.htm

ลองไปใช้โปรแกรมคำนวณเล่นๆ ดูนะครับว่าผู้ยิ่งใหญ่อย่าง ไอน์สไตน์ นิวตัน วัตสัน ฯลฯ ท่านมีค่า h-index เป็นเท่าไหร่กันบ้างครับ

หมายเลขบันทึก: 222154เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2008 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครับอาจารย์ดีมากครับ

ครั้งหนึ่งเดินไปในห้องสมุดไปดูงานวิจัยที่ผมทำสมัยตอนเรียนปริญญาตรี(ได้รับทุรสำนักวิจัย)และปรากฏว่ามีคนยืมงานวิจัยผมมากครับ มากจริงจนต้องทำดัชนีด้านหลังอีกครับ

รู้สึกดีกับงานวิจัยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

  • มาทักทายน้องอาจารย์
  • สบายดีนะครับ
  • ข้อมูลแบบนี้เป็นประโยชน์มากเลยครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท