คิดและทำอย่างเป็นระบบมีลักษณะอย่างไร?


คิดและทำอย่างเป็นระบบเป็นเรื่องที่ธรรมดา และเป็นธรรมชาติที่สุด

โดยธรรมชาติมนุษย์คิดและปฏิบัติอย่างเป็นระบบด้วยหลักและวิธีการของระบบศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้

 

1. เป็นหลักและวิธีการที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของเรื่องราวและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษาอังกฤษเรียกว่า From global to specific มีตัวอย่างใกล้และไกลตัว เช่น การเลือกเสื้อผ้าเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมแต่ละกิจกรรมมีระเบียบปฏิบัติและรูปแบบของการแต่งกายที่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับของสังคม การเลือกชนิดของอาหารในแต่ละช่วงเวลาของวันในแต่ละจังหวัด การเลือกวิธีการปฏิบัติเพื่อการกำจัดขยะของบ้านเรือนและชุมชนที่มีความเหมาะสมต่อลักษณะของขยะและสภาพแวดล้อม การแก้ปัญหาผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ การแก้ปัญหาด้วยหลักและวิธีการระบบศาสตร์ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในการศึกษากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น อาจจะเริ่มจาก กระบวนการเตรียมดิน การชลประทาน การดูแลรักษาโรค แมลง วัชพืชและศัตรูข้าว การให้ปุ๋ยเสริม การเก็บเกี่ยว และจากนั้นพยายามกำหนดกิจกรรมหรือกระบวนเฉพาะด้านเพื่อการแก้ปัญหา

2. สนใจและทำความเข้าใจกระบวนที่มีพลวัตซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบ เนื่องจากผลลัพธ์ของระบบเกิดการต่อเชื่อมกันของกระบวนหลายกระบวนการ และผลลัพธ์ของระบบมีการเปลี่ยนแปลงตามพลวัตของกระบวนดังกล่าวของระบบ กรณีของผลผลิตข้าวต่ำกว่าเป้าหมาย ต้องพิจารณาว่ากระบวนการใดที่มีพลวัตและมีผลต่อผลผลิตข้าวแล้วทำการศึกษาวิเคราะห์ให้ทราบว่ามีผลอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงผลผลิต

3. ศึกษาและค้นหาหรือพยายามอธิบายว่าระบบมีการดำเนินงานอย่างไร พยายามกำหนดองค์ประกอบภายในระบบ และมีส่วนทำให้ผลลัพธ์ของระบบมีพลลัตได้อย่างไร

4. ชี้การไหลเวียนและวัฎจักรของการเชื่อมโยง (Feedback loop) ระหว่างองค์ประกอบของระบบ กรณีของผลผลิตข้าวต่ำกว่าเป้าหมายนั้น อาจพิจารณาว่าการเตรียมที่ดีมีผลต่อการเติบโตและพัฒนาการของรากข้าวอย่างไร เป็นต้น

5. ค้นหาความสมดุลของระบบ ในระบบการผลิตข้าวนั้นมีทั้งกระบวนการที่มีให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นและลดลง ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่นา จำนวนความหนาแน่นของต้นข้าว อัตราการให้ปุ๋ยเป็นต้น ในทางตรงกันข้าม กระบวนการที่ทำให้ผลผลิตข้าวต่ำกว่าเป้าหมาย เช่น การเติบโตและพัฒนาการของโรคแมลงศัตรูข้าว การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของระดับน้ำในนาทำให้น้ำท่วมขัง เป็นต้น

เน้นความเกี่ยวข้องกันขององค์ประกอบบนพื้นฐานของเหตุและผล (cause-and-effect relationship) เช่น ความพยายามที่จะเชื่อมโยงการเพิ่มขึ้นของวัชพืชในนาข้าวมีผลโดยตรงต่อการลดลงของผลผลิตข้าวกว่าระดับเป้าหมาย เป็นเหตุและผลโดยตรง เป็นต้น ในอีกกรณีได้แก่ การเชื่อมโยงการเพิ่มขึ้นของประชากรในระดับประเทศกับการลดลงของผลผลิตข้าวในระดับแปลงนาอาจจะเชื่อมโยงกันไม่สนิทหรือมีความห่างไกลกันมาก เป็นต้น

การตกลงแต่งงานกันของคนสองคนเป็นตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดของ "การคิดและการทำอย่างเป็นระบบ" ลองคิดอยู่น่ะ ไม่ยาก

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22198เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2006 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ลปรร.ด้วยคนนะครับว่า...ตอนที่เราค้นหาความสมดุลของระบบ โดยพิจารณาที่ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกันขององค์ประกอบภายใต้ขอบเขตที่กำหนดขึ้นในระบบที่ว่า...เราจะพบความเป็นเหตุเป็นผลกันทางทางตรงและทางอ้อมก็จะเกิดคำถามที่นำไปสู่คำตอบได้อย่างน่าอัศจรรย์ บันทึกอาจารย์ได้ประโยชน์อย่างยิ่งเลยครับ

เรียน คุณชายขอบ

ต้องขออภัยที่ไม่ได้ตอบครับ

เมื่อองค์ประกอบในระบบทำงานประสานกัน ทำให้ระบบมีความสมดุล ผลลัพธ์ของระบบ (ซึ่งเกิดจากการทำงานประสานกันขององค์ประกอบ) เป็นผลดีงามที่เกิดขึ้น

ในทางตรงกันข้าม หากองค์ประกอบในระบบทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลให้ระบบไร้สมดุล ผลลัพธ์ของระบบ (ซึ่งเกิดจากการทำงานประสานกันขององค์ประกอบ) อาจจะไร้เสถียรภาพ และระบบอาจจะล้มเหลวได้ ครับ

อรรถชัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท