วิกฤตการณ์การเมือง:2


การเลือกตั้ง 2 เมษา เป็นโมฆะ เป็นวิกฤติหนึ่งขององค์กรอิสระ นำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการเมือง

วิกฤตการณ์การเมือง:2

เมื่อครั้งที่ผ่านมาผมพูดมาถึงการยุบสภา 24 ก.พ.2549 โดยมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่2 เม.ย. 2549

ฝ่ายต่อต้าน/คัดค้าน

ฝ่ายรัฐบาล/สนับสนุน

·         พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมซึ่งประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่า หลังการเลือกตั้งจะจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 313 โดยกำหนดให้มีคณะบุคคลที่เป็นกลางเป็นผู้ดำเนินการในการยกร่างรัฐธรรมนูญ

พรรคไทยรักไทยแสดงจุดยืนว่า ไม่ต้องการลงสัตยาบันแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน  และดำเนินการเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคมาหารือร่วมกัน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่อาคารวุฒิสภา และเสนอให้ทุกพรรคทำสัญญาประชาคมแก้ไขรัฐธรรมนูญในระหว่างการเลือกตั้ง จากนั้นค่อยมาตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางชุดหนึ่งขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

·         3 พรรคฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์,ชาติไทย,มหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขัน

·         รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงแนวทางอารยะขัดขืน

·         ยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ใช้ไม้จิ้มฟันแทงที่นิ้วหลายครั้งและนำเลือดมาใช้ในการ กาบัตรเลือกตั้งและยืนยันว่าไม่เป็นการผิดกฎหมาย ในเขตลาดพร้าว เพื่อเป็นการแสดงแนวทางอารยะขัดขืน แบบหนึ่ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมษายน พ.ศ. 2549

ทักษิณประกาศเว้นวรรค พร้อมลาราชการ

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 เวลา 20.30 น. พ.ต.ท.ทักษิณ แถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า ตนจะไม่ขอเข้ารับการสรรหาบุคคล เพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการเลือกตั้งฯ เมื่อวันที่ 2 เมษายน โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์ และความปรองดองในชาติ แต่ยังจำเป็นต้องรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป จนกว่าจะมีการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จนแล้วเสร็จ

พรรคประชาธิปัตย์ร้องกกต.ว่าพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครเพื่อหนีเกณฑ์ 20%

พรรคไทยรักไทยร้องกกต.พรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย

เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำรัสแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตน ก่อนเข้ารับหน้าที่

การเพิกถอนการเลือกตั้ง 8 พฤษภาคม 2549

การเลือกตั้งในครั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 198 กรณีการดำเนินการของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ เพิกถอนการเลือกตั้ง เพื่อจะได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่

ผลการพิจารณา กรณีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก จำนวน 8 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย จำนวน 6 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ในส่วนของการพิจารณา เพิกถอนการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 9 ท่าน วินิจฉัยว่า ให้มีการเพิกถอนการเลือกตั้ง และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปใหม่

 

ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ

พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กล่าวตอนหนึ่ง ในที่ประชุมข้าราชการ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ว่า

 

 ..วันนี้องค์กรนอกรัฐธรรมนูญไม่ใช่รัฐธรรมนูญ คือ บุคคลซึ่งดูเหมือนมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เข้ามาวุ่นวายองค์กรที่มีในระบบรัฐธรรมนูญมากไป มีการไม่เคารพกติกา.. 

 

ซึ่งได้มีการตีความจากหลายฝ่ายว่าหมายถึงใคร แม้นักข่าวจะพยายามสอบถาม พ.ต.ท.ทักษิณ หลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้ความกระจ่าง แต่โดยความเข้าใจของหลายฝ่าย คาดกันว่าคงจะหมายถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

จดหมายถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครราชสีมา ได้เปิดเผยในรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง ที่สวนลุมพินีว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เขียนจดหมายส่วนตัวถึง นายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา โดยมีใจความว่า ตนได้รับเลือกตั้งมาอย่างถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย แต่กลับต้องเผชิญวิกฤตการณ์ทางการเมือง เพราะโดนกลั่นแกล้ง ซึ่งหลายฝ่ายวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม โดยให้เหตุผลว่า เป็นการทำไปเพื่อปกป้องตนเอง

 

พิพากษาจำคุก กกต.

นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กกต.ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ได้นำมาซึ่งคำพิพากษาให้ กกต.ต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย ตุลาคม พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดให้จัดขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นโมฆะ จึงทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง (เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกยกเลิก)

เหตุการณ์ปะทะกันของกลุ่มผู้สนับสนุนและต่อต้าน

 เหตุการณ์ที่ ย่านการค้าสีลม

เหตุการณ์ที่ สยามพารากอน

เหตุการณ์ที่ เซ็นทรัลเวิลด์พลาซา

เหตุการณ์คาร์บอมบ์

เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 เพื่อที่จะมุ่งสังหาร ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แต่ไม่สำเร็จ

 

***โปรดดิดตามตอนต่อไปครับ****
หมายเลขบันทึก: 220966เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท