KM : โรงครัว


                                                     

                                                       

      โครงการระเบียงคุณภาพได้จัดผ่านไปแล้ว ตามที่เห็นในบล๊อค "เรารักชาวท่าคันโท" และบล๊อคอื่น ๆ ค่ะ  เห็นบรรยากาศและความกระตือรือร้นของ "เราชาวท่าคันโท" น่าชื่นใจนะค่ะ

       คราวนี้มาดูเรื่อง "คนข้างหลัง" บ้างค่ะ งานห้องครัว เห็นเขาปรับปรุงและมีความตั้งใจในการทำงานมาก   คงไม่ผิดหวัง หากแวะมาชิมอาหารที่โรงครัว เพราะบริการด้วยใจ เหมือนญาติมิตร อิ่มอก อิ่มใจ อิ่มท้อง ถ้วนหน้า

        การจัดการความรู้   มีดังนี้ค่ะ

หน่วยงาน  โรงครัว  โรงพยาบาลท่าคันโท

ประเด็นสำคัญ 

จากผู้ป่วยมานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล  บางคนมีญาติมาเฝ้า  และบางคนไม่มีญาติ  (ในรายไม่มีญาติแม่ครัวบริการถึงเตียง)  เจ้าหน้าที่ตึกผู้ป่วยร่วมกับแม่ครัว   กำหนดบัตรสีอาหารตามคำสั่งแพทย์  เมื่อสอบถามพบว่ามีผู้ป่วยรับบัตรสีแล้วก็รู้สึกว่ารับประทานอาหารชนิดใด  ร้อยละ  1  บางเตียงเปลี่ยนอาหารแม่ครัวแม่ครัวก็แนะนำคนไข้ว่าต้องรับประทานอาหารตามแพทย์สั่ง  ร้อยละ  1   (เจ้าหน้าที่ตึกผู้ป่วยในแนะนำแนะนำรายการอาหารในมื้อนั้นให้คนไข้ / ญาติ  เข้าใจ

                         

ประเด็น

            ญาติ / คนไข้  ยังไม่เข้าอาหารที่รับประทานขณะที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล

เป้าหมาย

            ผู้ป่วยรับประทานอาหารร้อยละ  100٪

กระบวนการ

กำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกับทางเจ้าหน้าที่ประจำตึกกับโรงครัว / คนไข้ / ญาติ

-          เจ้าหน้าที่อธิบายให้ผู้ป่วย / ญาติ เข้าใจเรื่องประเภทอาหาร  ขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

-          แจ้งแนวทางปฏิบัติให้เจ้าหน้าที่ทราบ

-          กำหนด  วัน  เวลา  ที่ปฏิบัติงาน

-          เจ้าหน้าที่แจกบัตรอาหารที่ผู้ป่วยรับประทานในวันนั้น พร้อมติดป้ายอาหารไว้ที่เตียงผู้ป่วย

-          บัตรสีอาหารอ่อน  -  สีชมพู      

-          บัตรสีอาหารเหลว  -  สีเหลือง

-          บัตรสีอาหารธรรมดา  -  สีขาว

-  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ  ชื่อ  สกุล  ประเภทอาหารให้ตรงกัน  พร้อมบันทึกในใบแจ้งยอดอาหารที่ถูกตรงคำสั่งแพทย์เตรียมบัตรสีให้ตรงชื่อ  ผู้ป่วย  สีแดง  เบาหวาน  สีส้ม  อาหารจืด   อาหารอ่อนสีชมพู พร้อมติดป้ายอาหารที่หัวเตียง  ลักษณะของอาหาร  ดังนี้

อาหารอ่อนคืออาหารลักษณะเปื่อยนุ่ม  ย่อยง่าย  เช่น  ข้าวต้ม  โจ๊ก

-          เจ้าหน้าที่โทรศัพท์ประสานงานกับโรงครัว  บอกจำนวนยอดผู้ป่วยประเภทอาหารในเวลา

6.30 น.   อาหารเช้า     เวลาจัดแจก    7.30 น.

7.30 น.  อาหารเที่ยง  เวลาจัดแจก   11.30 น.

14.30 น.  อาหารเย็น   เวลาจัดแจก   15.30 น.

            โรงครัวจัดเตรียมอาหารตามคำสั่งแพทย์  และสำรองอาหาร  1-3  ถาด  (กรณีผู้ป่วย  admitted  เพิ่ม)

-          ขณะแจกจ่ายอาหารแม่ครัวตรวจสอบมีอาหารที่ญาติหรือผู้ป่วยขณะจัดแจกอาหาร  พร้อมตรวจสอบในใบแจ้งยอดอาหารที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมให้  (อาหารทางสายยาง  แม่ครัวส่งมอบให้เจ้าหน้าที่เองที่แผนกผู้ป่วยใน)

-          ขณะจัดแจกอาหาร  หากพบปัญหาแม่ครัวประสานงานกับเจ้าหน้าที่พยาบาล  เรื่องประเภทอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่ถูกตรงตามแพทย์สั่ง

-          เมื่อจัดแจกอาหารเรียบร้อย  แม่ครัวเดินตามเตียงตรวจสอบประเภทอาหารกับป้ายอาหาที่ติดบนเตียงผู้ป่วยหากไม่ตรงกัน  ตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาล

-          เมื่อพบว่าเตียงใดไม่รับอาหาร  หรือไม่รับประทานอาหารตรวจสอบ /  สอบถามผู้ป่วยถึงสาเหตุที่ไม่รับประทานอาหาร

                                    

ผลลัพธ์  ( cheek ) 

ร้อยละผู้ป่วยไม่รับประทานอาหารลดลงเหลือ                                    1٪

ร้อยละผู้ป่วยรับประทานอาหารถูกคน              ถูกโรค  ถูกเวลา        99٪

ร้อยละอาหารปนเปื้อน                                                                        0٪

 

        เห็นการปรับปรุงแล้วก็น่าชื่นชม จะเป็นกำลังใจในการทำงานต่อนะค่ะ   แม้จะเป็นจุดเล็ก แต่เราเป็นทีมเดียวกัน

                                  วันนี้และทุก ๆ วันจะเป็นวันดี ๆ เพราะเราทำงานด้วยใจ

 

 

หมายเลขบันทึก: 220887เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • ดีจังเลยครับ
  • แต่บางครั้ง
  • อาหารจากโรงพยาบาล
  • บางแห่งนะครับ
  • ไม่น่ากิน
  • คนไข้ที่ป่วยอยู่แล้ว
  • เลยกินไม่ได้ใหญ่
  • สบายดีไหมครับ

เข้ามาชื่นชมในความใส่ใจ และ การเอาการเอางานอย่างจริงจัง ครับ

   ถ้าเราเอาจริงเสียอย่าง ปัญหาก็ไม่อาจทานได้

                    ขอบคุณครับ

 

สวัสดีค่ะ ขจิต ฝอยทองที่ปรึกษา~natadee

- อาหารถือเป็นการบำบัดอย่างหนึ่ง หากกินได้ คงต้องแต่งตัวให้หน่อยค่ะ จะได้น่ากิน แต่คนไข้ส่วนมาก ไม่รู้เป็นอย่างไร กินไม่ค่อยอะไร สงสัยต้อง"ใส่ใจ" อีกหน่อย "ยิ้มหวานหน่อย" "ปากหวานนิด" งานนี้ติดใจแน่เลยค่ะ

               

สวัสดีค่ะ อ. small man~natadee

 - ตามมาใส่ใจคุณภาพ ทุกกระบวนการ ประทับสักอย่าง ดีกว่าเกลียดพยาบาลหน้าตาดี แต่ใจร้าย ก็ดีค่ะ ...งานเข้าแล้วค่ะ

           

แวะมาทักทาย คิดถึงนะค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • มาทักทายและมาชื่นชมกับการทำงานที่มีคุณภาพด้วยคนครับ
  • สบายดีนะครับ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
  • ด้วยความปรารถนาดีจาก...คพลัดถิ่นครับ

สวัสดีจ้าน้องเอี้ยง

- คิดถึงนะค่ะ แวะพาเด็ก ๆ มาเที่ยวสวนสัตว์นะจ๊ะ จะรอรับจ้า

- เป็นกำลังใจนะค่ะ

สวัสดีครับ คนพลัดถิ่น~natachoei(หน้าตาเฉย)

- คิดถึงเช่นกันครับ

- ขอบคุณนะครับ กับกำลังใจในการทำงาน สู้ต่อครับ

เข้าท่ามากนะคะ

แม่ครัวบริการคนไข้เองคะ

สวัสดีค่ะพี่ประกาย ~natachoei

- น่าดีใจค่ะ ที่งานคุณภาพเข้าแทรกซึมทั่วองค์กร

  • ตามมาดูและขอบคุณอีกครับ
  • สบายดีนะ
  • มาเขียนเรื่องอื่นอีก
  • อย่าไป hi5 มาก
  • ไวรัสเยอะ
  • อิอิๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

- อ่านแล้วขำจังเลย ว่าแล้วเชียวต้องโดนเหน็บจากใครสักคน 555

สวัสดีค่ะ

แวะมาให้กำลังใจ นักโภชนาการ และทีมงานโภชนาการ

โรงครัวเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่สำคัญในโรงพยาบาล การรักษาผู้ป่วยมิได้พึ่งแต่ยาเท่านั้น แต่ต้องใช้อาหารในการบำบัดโรคด้วย

เป็นกำลังใจให้ นักโภชนาการ และทีมงานโภชนาการนะคะ สู่ๆๆๆ

จากนักโภชนาการ เหมือนกัน

สวัสดีค่ะคุณพิมพร

- ขอบคุณกำลังใจค่ะ งานนี้ต้องแจ้งให้ทีมโภชนากรทราบเสียแล้ว

- งานนี้คงหน้าบานเชียวค่ะ

อยากให้ที่ทำงานเป็นอย่างนี้บ้างจัง หนูมาทำงานที่นี้ ส่วนมากแม่ครัวตามใจปาก ไม่ค่อยให้ความร่วมมือเลย มันน่าเศร้า เพราะเราไม่ค่อยมีเวลาจี้

สวัสดีค่ะคุณวาสนา

- ขอบคุณค่ะ

- ทำงานด้วยใจกันดีกว่าค่ะ "จี้มาก เดี๋ยวไม่มีให้จี้นะค่"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท