การระบุจุดเสี่ยงอันตราย


การกำหนดบริเวณเสี่ยงอันตรายเพื่อทำการปรับปรุงแก้ไข
เป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญยิ่งในขบวนการปรับปรุงบริเวณเสี่ยงอันตรายบนถนนเนื่องจากในการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกแต่ละครั้งมักมีการบันทึกข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุน้อยข้อมูลหาได้ยาก นอกจากนี้ปัญหาการขาดแคลนข้อมูลอุบัติเหตุนับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อขั้นตอนในการดำเนินงาน มีเพียงข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางหลวงภายใต้ความรับผิดชอบของกรมทางหลวงเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่สามารถนำมาวิเคราะห์หาบริเวณเสี่ยงอันตรายได้ ซึ่งทางหลวงดังกล่าวมีความยาวรวมทั้งสิ้น 64,000 กิโลเมตร จากความยาวของถนนทั่วประเทศ 200,000กิโลเมตร และมีข้อมูลผู้เสียชีวิตโดยประมาณ 2,000 ราย คิดเป็น หนึ่งในห้าของจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังมีจำนวนอุบัติเหตุจำนวนมากที่เกิดขึ้นในเขตเมืองและชนบทที่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์หาบริเวณเสี่ยงอันตรายได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งการระบุบริเวณเสี่ยงอันตรายโดยใช้คนในท้องถิ่นเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22002เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท