ผศ.ดร.วศิน เหลี่ยมปรีชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วศิน เหลี่ยมปรีชา

การวัด performance


Performance = Ability X Motivation

Barling et al. (1996a) อธิบายเรื่องการวัดสมรรถภาพ (Performance) ของงานทีเกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้ (knowledge work) ที่นำไปใช้งานทางด้านจิตวิทยาในองค์กร  เพื่อจูงใจให้คนทำงาน สร้างความรู้, ใช้ความรู้, ถ่ายโอนความรู้ หรือแม้กระทั่งประยุกต์ใช้ความรู้  ออกมาเป็นสมการดังนี้

Performance = Ability x Motivation

ถ้ามองกันตามสมการ ถ้าตัว Ability (ความสามารถ) และ Motivation (แรงจูงใจ) มีค่ามากกว่าศูนย์ แสดงว่า มีสมรรถภาพ ทางกลับกัน เกิดตัวแปร Ability และ Motivation ตัวใดตัวหนึ่งมีค่าเป็นศูนย์ จะเกิดอะไรขึ้น สมรรถภาพก็ต้องกลายเป็นศูนย์ หรือแปลว่า ไม่มีสมรรถภาพ

จะแปลว่าสมการนี้ใช้ไม่ได้รึเปล่า ก็ไม่ใช่ แต่อาจจะมีปัจจัยตัวอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ตรงนี้น่าสนใจไม่น้อย จากงานวิจัยที่กำลังเรียนอยู่ ทำให้มองเห็นปัจจัยตัวหนึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้องอย่างมากก็คือ Opportunity (โอกาส) กล่าวคือองค์กรได้เปิดโอกาสให้คนทำงานได้แสดงสมรรถภาพที่แต่ละคนมีอยู่ออกมาได้ มีมากน้อยแค่ไหน

เรื่องการวัดสมรรถภาพเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่วัดยากเหมือนกัน คงต้องกลับไปดูว่ามี benchmark ที่เคยใช้มาหรือไม่

 Reference:

Barling, J., Kelloway, E.K. and Cheung, D. (1996a), Time management and achievement strivinginteract to predict car sales performance, Journal of Appplied Psychology, 81, pp.821-826.

คำสำคัญ (Tags): #performance#สมรรถภาพ
หมายเลขบันทึก: 219944เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2008 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอเรียนรูด้วยคน ขอบคุณค่ะ

  • Performance = Ability x Motivation เป็นจริงหรือไม่
  • ขึ้นอยู่กับว่า จะได้ใช้โอกาสหรือไม่ในการแสดงสมรรถภาพ
  • มีปัจจัยประกอบอีกหลายอย่าง
  • อยากให้อาจารย์ช่วยขยายความด้วยค่ะ
  • จะติดตามอ่านค่ะ
  • สนใจเรื่อง Competency และ Performance เหมือนกันค่ะ แต่ไม่ทราบว่า 2 คำนี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรคะ
  • Knowledge management น่าจะนำมาบูรณาการร่วมกับการพัฒนา Performance ได้ดีนะคะ แต่ในทางปฏิบัติไม่รู้จะทำได้แค่ไหน ถึงจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
  • อ่านข้อมูลอาจารย์ ทราบว่าอจ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ จะได้ตามมาอ่านอีกน่ะค่ะ
  • ขอบคุณ krutoi,คุณเพ็ญศรี(นก)และ คุณ moonlight ครับ
  •  ตอบคุณเพ็ญศรี(นก)ว่า การวัด performance ดูแค่ ความสามารถและแรงจูงใจไม่เพียงพอครับ
  • เพราะเดี๋ยวนี้ ความสามารถของคนมีแน่ แรงจูงใจก็ใส่เข้าไป เมื่อใส่ไปทั้งสองอย่างแล้ว ก็ไม่ทำให้สมรรถภาพเพิ่มขึ้น จึงต้องเพิ่ม opportunity เข้าไป เช่น เปิดโอกาสให้แต่ละคนมีโอกาสแก้ปัญหา หาคำตอบด้วยตนเอง โดยองค์กรไม่ตีกรอบมากจนเกินไป ตรงนี้จะทำให้ performance มีโอกาสเป็นบวก
  • หรือถ้ามีปัจจัยอื่นมาเสริมก็จะยิ่งดี
  • ตอบคุณ moonlight ครับ ว่า performance เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งของ competency ครับ อ้างอิงจาก W.E. Alison (2004) ที่ขึ้นอยู่กับว่าจะวัดด้านไหน
  • competency ก็คือความรู้และทักษะความชำนาญที่ตรงสายงานจริงๆ เช่นจบครู มาเป็นครู อย่างนี้ถึงจะวัด competency ได้
  • ตัวชี้วัด competency ประกอบด้วย ความรู้ (knowledge), ทักษะ (skills), ทัศนคติ (attitudes), สมรรถภาพ (performances), และระดับของความเหมาะสมพอเพียง (levels of sufficiency)
  •  competency จะลงลึกไปในระดับว่า people can do มากกว่า what they know
  • กำลังศึกษาเรื่อง KM กับ Performance เพราะคิดว่า km จะมีผลกระทบกับ performance มากน้อยแค่ไหน อาจจะไม่มี มีน้อย มีมาก ตรงนี้น่าสนใจครับ
  • ตามมาเรียนรู้ด้วยคน
  • อาจารย์สบายดีไหมครับ
  • เอาของเมืองไทยมาฝาก
  • ให้คิดถึงบ้านเล่นๆๆ

ขอบพระคุณครับ

P

อ.ขจิต มีดอกดาวเรืองมาให้ชม ช่างเหมาะกับคนวันจันทร์พอดีเลยครับ  สบายดีครับ หวังว่า อ.สบายดีเช่นกันนะครับ

ขอบพระคุณครับ

P

คุณคนโรงงาน เข้าไปอ่านแล้วครับ ได้ความคิดขึ้นมาว่าถ้าจับสมการต่างๆ ของการวัด peformance มาจัดรูปแบบกันใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจจุบัน ก็น่าจะได้ทฤษฎีใหม่ๆออกมา แล้วทำวิจัยเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนั้น อาจจะได้ a new measurement ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ก็น่าจะดีไม่น้อยครับ

 

สวัสดีค่ะ ขอเรียนรู้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะ...พอลล่า ขอเรียนรู้ด้วยคนค่ะ ... ขอบคุณนะคะ

P  +  P

ขอบพระคุณครับ ทั้งสองท่าน คุณสุนันทา และคุณพอลล่า ที่ปรึกษาหน้าตาดี ที่แวะมาเยี่ยมเยือน สบายดีทั้งสองท่านนะครับ

เคยมี หัวหน้าช่าง คนหนึ่ง ทำงานมีสมรรถภาพมาก คือ มีความรู้ในด้านช่างอย่างลึก  ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ มากกว่า จะเป็นความรู้ที่สูงมากๆ และมี  ทักษะ  กับ ทัศนคติที่ดีกับงานที่เขารับผิดชอบอยู่   ที่สำคัญเขาสามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกทีมว่า ู้ว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ และควรทำอย่างไร
ขอบคุณ สำหรับความรู้นี้ค่ะ

ขอเก็บเข้าแพลนเน็ตน้องสาว เพื่อการศึกษานะคะ

p'pink

ขอบคุณค่า สำหรับความรู้ดี ๆ จะแวะติดตามบล็อกของอาจารย์นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท