การสื่อสารและสารสนเทศ


การสื่อสารและสารสนเทศ

จากการเรียนED627 ท่านอาจารย์ รศ.ระวิวรรณ ให้หาความหมายของ การสื่อสารและสารสนเทศ และความแตกต่าง พอสรุปได้ดังนี้

ความหมายของการสื่อสาร       

"การสื่อสาร" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Communication" ซึ่งได้มีมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้

จอร์จ  เอ  มิลเลอร์  (George A. Miller)   กล่าวว่า  "การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง"

คาร์ลไอ  โฮฟแลนด์  (Carl I. Hoveland)    และคณะให้ความเห็นว่า"การสื่อสาร คือกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ส่งสิ่งเร้า  (โดยปกติจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล
อื่น ๆ (ผู้รับสาร
)

                 เจอร์เกน รอยซ์ และเกรกอรี เบทสัน  (Jurgen Ruesch and Gregory Bateson)  ให้ความเห็นว่า  "การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น    แต่การสื่อสารยังรวมไปถึงกระบวนการทั้งหลายที่คนมีอิทธิพลต่อกันด้วย ซึ่งคำนิยามนี้ยึดหลักที่ว่าการกระทำและเหตุการณ์ทั้งหลาย มีลักษณะเป็นการสื่อสาร หากมีผู้เข้าใจการกระทำและเหตุการณ์เหล่านั้น  นั่นก็หมายความว่าความเข้าใจที่เกิดขึ้นแก่คน ๆ หนึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงข่าวสารที่คน ๆ นั้นมีอยู่และมีอิทธิพลต่อบุคคลผู้อื่นๆ

                Dennis S. Gouran, William E. Wethoff, Joei A. doelger (อ้างถึงในนงนุช ศิริโรจน์ , 2543) การสื่อสาร หมายถึง การผลิตสารอย่างตั้งใจ และได้ถ่ายทอดสารนั้นโดยบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น หรือหลายๆคนเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้ว จะทำการแปลสารให้ เข้าใจตรงตามู้ส่งสารให้ ถือว่าการสื่อสารนั้นประสบความสำเร็จ แต่ถ้าผู้รับสารแปลสารไม่ตรงตามความต้องการของผู้ส่งสารต้องการ ถือว่าการสื่อสารนั้นประสบความล้มเหลวหรือเกิดความผิดพลาดได้ ถ้าเรารู้จักวิธีที่จำทำการสื่อสาร จะทำให้เราประสบความสำเร็จในการสื่อสารได้

                โดยสรุป "การสื่อสาร คือ กระบวนการของการถ่ายทอดสารหรือข้อมูล (message)   จาก ผู้ส่งสาร(source)  ไปยัง ผู้รับสาร(receiver)  โดยการผ่านช่องทางการสื่อสาร(Channel)  และสามารถตรวจสอบโดยปฏิกิริยาย้อนกลับ (Feedback) ถ้าผู้รับสารแปลความหมายตรงกับผู้ส่งสารต้องการก็ถือว่าผู้สื่อสารประสบความสำเร็จในการสื่อสาร แต่ถ้าผู้รับสารแปลความหมายไม่ตรงกับความต้องการผู้รับสาร ก็ประสบความล้มเหลวในการสื่อสาร

              

รูปแบบของการสื่อสาร

                การสื่อสาร มี 2 รูปแบบดังนี้

             1. การสื่อสารแบบทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น

2

 
2. การสื่อสารแบบสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม

 

ประเภทของการสื่อสาร

          ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

                        1 การสื่อสารในตนเอง (Intapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น

                        2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น

                        3 การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น

                       4 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม ๆ หรือไล่เลี่ยกัน

ความสำคัญของการสื่อสาร

1.        ด้านสังคม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ กฎระเบียบการอยู่ร่วมกันในสังคมให้สงบสุข

2.        ความสัมพันธ์ต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจเป็นเตรื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าชักจูงใจผู้บริโภคโดยการโฆษณา

3.        ด้านการปกครองเป็นกลไลการกระจายข่าวสารต่างๆ สู่ผู้ปกครองให้เข้าใจตรงกันและรับทัศนคติของผุ้ใต้ปกครอง             

ความหมายของสารสนเทศ

3

สารสนเทศ  เป็นศัพท์บัญญัติของคำว่าInformation หมายถึง ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานต่างๆ ทุกสาขา ข้อมูล (Data or Raw Data)   หมายถึง ข้อเท็จจริง (Fact) ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการเก็บรวบรวมไว้ และมีความหมายในตัวเอง
                มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า สารสนเทศ เช่น

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
   1. ให้ความรู้
   2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
   4. สามารถประเมินค่าได้

" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้"

 

 ข้อมูล (Data)   →  กระบวนการ (Process)     →     สารสนเทศ  (Information)

                                                                                                                                       

บทบาทของสารสนเทศ (Role of Information)

 

     การนำสารสนเทศไปใช้ 3 ด้าน ดังนี้ (จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ 2544 : 5) ด้านการวางแผน ด้านการตัดสินใจ และ ด้านการดำเนินงาน นอกจากนั้น สารสนเทศยังมีบทบาท ในเชิงเศรษฐกิจ ดังนี้ (ประภาวดี สืบสนธ์ 2543 : 7-8)

                  1. ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ (Decision) หรือช่วยชี้แนวทางในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving)

4

 
                   2. ช่วย หรือสนับสนุนการจัดการ (Management) หรือการดำเนินงานขององค์การ ให้มีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผลมากขึ้น

                   3. ใช้ทดแทนทรัพยากร (Resources) ทางกายภาพ เช่น กรณีการเรียนทางไกล ผู้เรียนที่เรียนนอกห้องเรียน จริง สามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับ ห้องเรียนจริง โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่ห้องเรียนนั้น

                  4. ใช้ในการกำกับ ติดตาม (Monitoring) การปฏิบัติงานและการตัดสินใจ เพื่อดูความก้าวหน้าของงาน

                  5. สารสนเทศเป็นช่องทางโน้มน้าว หรือชักจูงใจ (Motivation) ในกรณีของการโฆษณาที่ทำให้ผู้ชม, ผู้ฟัง ตัดสินใจ เลือกสินค้า หรือบริการนั้น

                 6. สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษา (Education) สำหรับการเรียนรู้ ผ่านสื่อประเภทต่างๆ

                 7. สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมวัฒนธรรม และสันทนาการ (Culture & Recreation) ในด้าน ของการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น วีดิทัศน์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น

                  8. สารสนเทศเป็นสินค้าและบริการ (Goods & Services) ที่สามารถซื้อขายได้

                  9. สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่ต้องลงทุน (Investment) จึงจะได้ผลผลิตและบริการ เพื่อเป็นรากฐานของการ จัดการ และการดำเนินงาน

 ประโยชน์ของสารสนเทศ
   1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
   3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
   4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
   5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน

                ความแตกต่างของสารสนเทศและการสื่อสาร

                    การสื่อสาร เป็นเพียงการถ่ายทอดข้อมูลจากบุคคลไปอีกคนหนึ่งซึ่งไม่สามารถยืนยันได้ว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นหากข้อมูลดังกล่าวได้รับการตรวจสอบจากแหล่งที่มาและได้รับการยอมรับก็จะกลายเป็นข้อมูลสารสนเทศ

สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ถูกต้องเพราะได้รับการกลั่นกรองอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการแล้วจนได้ข้อความรู้ สามารถนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆได้

 

บรรณานุกรม

 

http://e-book.ram.edu/e-book/m/mc110/mc110.htm   สืบค้นเมื่อ วันที่  20 กันยายน 2551

http://e-book.ram.edu/e-book/m/mc111/mc111_cover.html  สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 กันยายน 2551

http://petsai.212cafe.com/archive/2007-12-12/communication-data-communication-communication-channel-
             data-voice-telecommunication-data-voice-telec/
สืบค้นเมื่อ วันที่  20 กันยายน 2551

http://www.sau.ac.th/main/Subject/pc102/lesson6.pdf  สืบค้นเมื่อ วันที่  21 กันยายน 2551

www.streesmutprakan.ac.th/e-learningSSP/tecno/tecno_tui/information.ppt  สืบค้นเมื่อ วันที่  21 กันยายน
               2551

http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson02/lesson2-1.htm  สืบค้นเมื่อ วันที่  20 กันยายน 2551

http://uconnect.dpu.ac.th/dpupost/user/pimdini/folder/50/239.ppt#278,4,ภาพนิ่ง 4  สืบค้นเมื่อ วันที่  18
             กันยายน 2551

 

หมายเลขบันทึก: 219874เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อผอผอผอผอผอผอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท