เรื่องเล่า การพัฒนาเมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่ แห่งนครชัยบุรินทร์ ตอนที่ 15 (การจัดการน้ำเสียชุมชน)


ผู้เล่าเรื่อง : คุณจักรินทร์ สิรินทรภูมิ
เทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม
จังหวัดสุรินทร์ โทร 044-591166


เรื่องเล่า : การจัดการน้ำเสียชุมชน

การจัดการน้ำเสียชุมชน เหตุผลของการดำเนินการ คือ ผู้บริหารให้ความสำคัญเจ้าหน้าที่เองก็มีความมุ่งมั่นและประชาชนก็มีส่วนร่วม วิธีการดำเนินการเริ่มจากรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และจูงใจให้ประชาชนติดตั้งบ่อดักไขมัน บำบัดน้ำเสียในครัวเรือน มีการออกเทศบัญญัติ กำหนดให้ผู้ปลูกสร้างอาคารใหม่ต้องมีการติดตั้งบ่อดักไขมัน ส่วนสิ่งปลูกสร้างเดิมได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และจูงใจโดยเทศบาลจะออกค่าใช้จ่ายให้ 75% ที่เหลือ 25% ประชาชนเป็นผู้ออก ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ร้านอาหารและครัวเรือนที่ติดกับแม่น้ำมูล จากการที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยได้มีนโยบายส่งเสริมให้มีการติดตั้งบ่อดักไขมัน เทศบาลท่าตูมก็ได้เข้าร่วมโครงการและประสานข้อมูลจาก กรมฯ/จังหวัด/สสจ. โดยมีผู้ผลักดัน คือ กรมฯ/ผู้บริหาร/เจ้าหน้าที่/ภาคประชาชน ปัญหาอุปสรรค ที่พบได้แก่ การขาดความรู้ ความเข้าใจ เรื่องความสำคัญในการติดตั้ง ขาดความรู้ในการดูแลรักษา และบ่อดักไขมันแบบสำเร็จรูปมีราคาแพง
สิ่งที่จะทำต่อคือ "ดำเนินการต่อเนื่อง โดยนำเงินรางวัลที่ได้จากการประกวด จำนวน 400,000 บาท
มาใช้ในการติดตั้งบ่อดักไขมันในครัวเรือน และจะประสานกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมในการสร้างระบบบำบัด
น้ำเสีย"

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. ผู้บริหารให้ความสำคัญ
2. เจ้าหน้าที่มีความมุ่งมั่น
3. ประชาชนมีส่วนร่วม
4. รณรงค์ ปชส.ให้ความรู้
5. มีเทศบัญญัติบังคับใช้
6. มีสิ่งจูงใจให้ผู้ติดตั้งบ่อดักไขมัน
7. นโยบายและเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 219787เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท