รับมือกับโรคภัยที่มาตามวัย


เมื่ออายุมากขึ้น

วางแผนรับมือกับโรคภัยที่มาตามวัย

๑. นอนไม่หลับ

ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นมักเกิดอาการนอนไม่หลับ มีสาเหตุมาจากความสับสน กังวลใจ ไม่นั่นใจ และเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นควรเปลี่ยนกิจวัตร เวลานอนเป็นช่วงแห่งการพักผ่อน ก่อนนอนควรอาบน้ำอุ่นหรือดื่มนมเพื่อผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีนในตอนค่ำ อย่าพกความกังวลขึ้นเตียงไปด้วย อย่านอนนับแกะ นอนกระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา หรืออย่ามองแต่นาฬิกา ถ้านอนไม่หลับให้ลุกขึ้นไปหาอะไรทำให้ผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง การออกกำลังกายเป็นประจำ การเดินสูดอากาศบริสุทธิ์ช่วยให้นอนหลับได้ดีถึง ๕๐%

๒. ภาวะก่อนวัยทองและวัยทอง

ผู้หญิงต้องเผชิญกับภาวะก่อนวัยทองก่อนเข้าสู่เลข ๕ ภาวะนี้เริ่มต้นเมื่อรังไข่ทำงานอ่อนลงจนหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ภาวะนี้เริ่มประมาณ ๕-๑๐ ปี ก่อนร่างกายจะหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างสิ้นเชิงที่เรียกว่า ภาวะวัยทอง อาการต่อไปนี้เป็นอาการปกติของคนที่เข้าสู่ภาวะวัยทอง ได้แก่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ร้อนวูบวาบตามร่างกาย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ และน้ำหนักขึ้น หากร้อนวูบวาบตามร่างกาย ให้สวมเสื้อผ้าที่ทอด้วยผ้าฝ้าย หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์และสวมซับใน หากร้อนวูบวาบในเวลากลางคืน ให้ใช้ผ้าปูที่นอนที่ทอด้วยผ้าฝ้าย และมีซับในแทนผ้านวมผืนใหญ่ ระวังอาหารการกินและเครื่องดิ่ม การดื่มเครื่องดิ่มร้อนๆ ก่อนนอนจะไปทำให้อาการร้อนแย่ลง เครื่องดื่มจำพวกคาเฟอีน แอลกอฮอลล์ และอาหารรสจัดมีผลให้อาการร้อนเพิ่มมากขึ้น ผู้หญิงที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะไม่ค่อยร้อนวูบวาบตามร่างกาย แต่ต้องควบคู่กับการกินด้วย ถ้าออกกำลังกายเป็นประจำแต่ยังดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอลล์ หรือทานอาหารรสจัดก็อาจจะร้อนวูบวาบได้ เพราะอาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการร้อน หรือจะบำบัดด้วยวิธีทางเลือกซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่

-ไฟโตเอสโตรเจน เป็นสารคล้ายฮอร์โมนซึ่งเหมือนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนกลายๆ พบมากในเมล็ดถั่วต่างๆ เมล็ดธัญพืช หรือมาในรูปของอาหารเสริม

-ไอโซฟลาโวนส์ เป็นสารที่เหมือนกับเอสโตรเจน ช่วยรักษาอาการวัยทอง

-แอกนัสแคสตัส ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอร์โรน

-แบล็กโคฮอช มีไฟโตเอสโตรเจน

-เซนต์จอห์นวอร์ด ช่วยรักษาอารมณ์ที่แปรปรวน หงุดหงิดง่าย แต่อย่าทานพร้อมยาเพราะมีคุณสมบัติต้านยาบางชนิด

-ตังกุย สมุนไพรจีนโบราณช่วยรักษาฮอร์โมน

๓. ไม่มีแรง

พลังงานในร่างกายเริ่มลดลงเมื่ออายุมากขึ้น จากการวิจัยพบว่า ๑ ใน ๕ ของคนที่อายุ ๕๐ ปี ขึ้นไปมีอาการอ่อนเพลีย สาเหตุเพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น การเผาผลาญอาการและการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญพลังงานและการดูดซึมอาหาร ทำให้ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า ดังนั้น การเสริมความคล่องแคล่ว การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นเพราะช่วยเสริมพลังงานในร่างกาย ระวังอาหารการกิน คาเฟอีนและน้ำตาลจะช่วยให้สดใสขึ้นแค่ชั่วคราวเท่านั้น แต่ในระยะยาวมันจะทำให้อ่อนเพลียและไม่มีแรง ทานอาหารเสริม การทานอาการที่หลากหลายและมีคุณค่าช่วยได้ แต่หากคิดว่าอาหารในแต่ละวันมีคุณค่าทางอาหารไม่เพียงพอ อาหารเสริมจำพวกวิตามินรวมช่วยได้ เลือกชนิดมีวิตามิน B12 เพราะช่วยบันเทาอาการอ่อนเพลีย อาหารเสริมจำพวกโสมช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า

๔. ข้ออักเสบ

โรคข้อกระดูกอักเสบเป็นโรคที่ทำให้กระดูกสึกหรอ เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะป็นโรคนี้ก็มีมากขึ้น ประมาณกันว่า ในอังกฤษมีคนถึง ๘ ล่านคนป่วยเป็นโรคคข้ออักเสบ ส่วนใหญ่เป็นในคนที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปหรือก่อนหน้านั้นถ้าไม่ดูแล ดังนั้นควรยืดเส้นยืดสาย ออกกำลังกายเบาๆ เช่น ว่ายน้ำหรือโยคะ ล้วมแต่ดีต่อสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่ช่วยได้ เช่น ผักและผลไม้ น้ำมันโอเมก้า ๓ ซึ่งพบมากในน้ำมันปลา เช่น ปลาแมคเคอร์เรล ปลาทูน่า อาหารเหล่านี้ช่วยบำรุงข้อให้แข็งแรง

๕. ขาดสมาธิ หลงลืม

เคยใช่มั้ยที่หลงลืมจำอะไรไม่ได้ อายุที่มากขึ้นมีผลต่อการเก็บและเรียกข้อมูลมาใช้ แม้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีทฤษฏีหนึ่งระบุว่า ความจำที่แย่ลงและความเครียดที่จำอะไรไม่ได้นั่นแหละที่จะทำให้จำอะไรไม่ได้เลยหนักเข้าไปอีก ดังนั้นเราต้องฝึกสมองให้ว่องไว เราต้องบริหารร่างกายเพื่อความแข็งแรงฉันใด เราก็ต้องบริหารสมองให้ว่องไวฉันนั้น การบริหารสอง เช่น เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ หรือหนังสือพิมพ์ เล่นดนตรี เป็นต้น

๖. กระดูกบาง กระดูกพรุน

๑ ใน ๓ ของผู้หญิงอายุ ๕๐ ปีขึ้นไปเป็นโรคกระดูกพรุน เกิดจากการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกไปตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น และกระดูกจะสูญเสียความหนาแน่นเร็วขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง เราจะไม่รู้สึกตัวเลยว่ากระดูกบางหรือกระดูกพรุน จนกว่าจะหกล้มหรือโดนชนไม่รุนแรงแต่กระดูกเราหัก ดังนั้น เราต้องเอาใจใส่กระดูกของตัวเอง การออกกำลังกาย เช่น วิ่ง กระโดดเชือก แอโรบิค ตีเทนนิส หรือแม้แต่การเดินเร็ว ก็ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง ครั้งละ ๒๐ นาที จะทำคนเดียวที่บ้าน หรือทำเป็นหมู่คณะก็ได้ มีประโยชน์ทั้งนั้น ทานแคลเซียม แคลเซียมเป็นสุดยอดอาหารบำรุงกระดูก พบมากใน นม ชีส โยเกิร์ต ผักใบเขียว ผลไม้อบแห้ง ถั่วอบ และจะให้ดีควรมีวิตามินดีเป็นส่วนประกอบเพื่อช่วยดูดซึมแคลเซียม ที่สำคัญต้องหยุดสูบบุหรี่ และไม่ควรดื่มแอลกอฮอลล์มากเกินไป (ครั้งหนึ่งไม่ควรเกิน ๔ แก้ว เทครั้งละครึ่งหนึ่งของแก้ว) หรือเลิกไปเลยยิ่งดี

๗. ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงพบในคนที่อายุและน้ำหนักตัวมาก และพบในหู้หญิงวัยทอง เพราะไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยปกป้อง หากไม่ควบคุมให้ดีจะเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ดังนั้น ควรงดอาหารที่มีรสเค็ม การทานอาหารที่มีรสเค็มจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น คำแนะนำคือรับประทานเกลืออย่างมากแค่วันละ ๖ กรัม ระวังเกลือที่ซ่อนอยู่ในอาหาร ทานอาหารไขมันต่ำและออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เพราะจะทำให้คอเรสเตอรอลในเลือดสูง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานผัก ผลไม้ให้ได้ ๕ ส่วนต่อวัน  การทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงจะช่วยลดความดันโลหิตได้มาก พบมากในแอบปริคอตอบแห้ง ถั่วต่างๆ แมกนีเซียม พบมากในถั่วบราวิลนัท เมล็ดทานตะวัน และถั่วเหลือง แคลเซียมก็ช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นเดียวกัน

๘. ระบบย่อยอาหาร (ลำไส้อักเสบ และ ลำไส้แปรปรวน)

ลำไส้อักเสบ เกิดจากลำไส้มีถุงเหรือกระพุ้งเล็กๆ เมื่อเศษอาหารเข้าไปติดเกิดบูดแล้วอักเสบขึ้นมา พบได้ในคนที่อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ อาการคือ ท้องผูก หรือ ท้องเสีย ปวดท้องน้อย มีไข้ อาเจียน ส่วนลำไส้แปรปรวนนั้นมีอาการคล้ายลำไส้อักเสบ สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากความเครียดและความกังวล ดังนั้น ควรเปลี่ยนนิสัยการกิน ทานอาหารที่มีไฟเบอร์มากๆ หลีกเลี่ยงอาหารหนักๆ ดื่มน้ำมากๆ ช่วยได้ คนที่เป็นลำไส้แปรปรวนต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารเสริมจะช่วยให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ

๙. เบาหวาน

คนสูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ ๒ เนื่องจากมีอายุมากขึ้น ความสามารถที่จะจัดการกลูโค้ส(พลังงานที่ได้จากอาหาร) ลดลง ดังนั้น ต้องควบคุมน้ำหนัก กว่า ๘๐% ของผู้ป่วยเบาหวานมีน้ำหนักตัวมาก การทานอาหารที่มีประโยชน์แงะการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ จากการวิจัยพบว่า สาวๆ ที่ออกกำลังกายพอประมาณ และทานอาหารที่มีกรดไขมันชนิด trans-fatty acidd (เป็นกรดไขมันที่พบในน้ำมันพืชแบบ hydrogenate) ต่ำ จะลดคงามเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ ๒ ลงได้ถึง ๙๐% ทานผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง และพาสต้า เลือกทานไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก เป็นต้น

ข้อมูล Health plus ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ หน้าปก กาละแมร์-พัชรศรี เบญจมาศ

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน Bobby
คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 219641เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 06:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • เรื่องโรคภัย  ครูอ้อย รับเขามาเป็นเพื่อนตั้งนานแล้วค่ะ
  • บางโรค ก็จะไม่ต้อนรับ  ไม่เอา ไม่ชอบ ไม่รักเธอด้วย
  • และครูอ้อย คิดเตรียมไว้ยามแก่เฒ่า ไม่มีประโยชน์ เขาทิ้งเราแล้ว
  • ครูอ้อยจะไปนั่งพิมพ์คุยที่ บ้านพักคนชราค่ะ  ..เท่ไหม 
  • คนชรา นั่ง แชทกับเพื่อน โกทูโนที่บ้านพักคนชรา...เอิ๊กเอิ๊ก

โรคคนแก่อีกแล้ว แต่ก็ ok ค่ะ อ่านได้อยู่แล้วเรื่องสุขภาพ ไปซื้อของให้สนุกนะค่ะ bobby

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท