การฟัง


การฟังที่ดี

การฟัง



                                                               เรื่อง  การฟัง
_____________________________________________________________________________________
 
ความหมายของการฟัง
        

         การฟัง หมายถึง กระบวนการของการได้ยินเสียงโดยผู้ฟังจะต้องสนใจและตั้งใจฟังเสียงนั้นแล้วใช้สมองแปลความหมายของเสียงจนเกิดความเข้าใจ และมีปฎิกิริยาตอบสนองต่อเสียงนั้นได้

         การฟัง  เป็นการสื่อสารที่ใช้มาก  และสำคัญที่สุดในชีวิตประจำวันของมนุษย์  โดยประสาทหูรับเสียงต่าง ๆ  โดยเฉพาะเสียงพูดของมนุษย์   การฟังนับเป็นทักษะขั้นพื้นฐานของชีวิตที่จะโยงใยถึงทักษะอื่น ๆ  อีก  3  ทักษะ  คือ  การพูด  การอ่าน  และการเขียน
การฟัง  เป็นทักษะทางภาษาที่ต้องใช้มากกว่าทักษะอื่น ๆ  ในแต่ละวัน  เป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะคนเราเริ่มใช้ภาษาโดยการฟังก่อน  การฟังจึงเป็นพื้นฐานให้เกิดทักษะ  พูด  อ่าน  และเขียนตามมา เป็นบ่อเกิดสำคัญของความรู้  การฟังจึงเป็นองค์ประกอบประการแรกของความเป็นนักปราชญ์ ซึ่งมี  4  อย่าง คือ  ฟัง  คิด  ถาม  และเขียน   หรือที่เรียกว่าหัวใจนักปราชญ์   สุ.  จิ.  ปุ.  ลิ.   นั่นเอง

ความมุ่งหมายในการฟัง

 1.  ฟังเพื่อจับใจความสำคัญของสาระ  และใจความรอง
 2.  ฟังเพื่อจับใจความอย่างละเอียดให้เข้าใจเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนปลาย  เพื่อย้ำความเชื่อหรือหาเหตุผลขัดแย้ง
 3.  ฟังเพื่อให้เกิดสุนทรียภาพ  ซาบซึ้งในคุณค่า  ทางวรรณคดี  ดนตรีและคติธรรมทั้งหลายทั้งปวง
 4.  ฟังเพื่อเสริมสร้างสติปัญญา  ความรู้  จินตนาการ  และความคิดสร้างสรรค์  เป็นการฟังที่ต้องใช้วิจารณญาณ  เหตุผล  ความนึกคิดประกอบ  เพื่อให้เกิดความรู้และความคิดริเริ่ม
 5.  ฟังเพื่อการสนทนา  และโต้ตอบอย่างมีประสิทธิภาพ
 

การฟังที่ดี มีหลักดังนี้     คือ
 
1.  ฟังอย่างมีมรรยาท  คือแสดงความสนใจต่อผู้พูด  ไม่แสดงอาการเฉยเมย  หรือขัดจังหวะ คอยซักถามเมื่อผู้พูดให้โอกาส  ฟังด้วยความอดทนและมีใจกว้าง  ถ้าเป็นการฟังในที่ประชุมควรให้เกียรติ ผู้พูดด้วยการปรบมือ
 2.  ฟังอย่างมีวิจารญาณ  คือ  เอาใจจดจ่อต่อการฟัง  คอยติดตามเรื่องที่ฟังและแยกแยะส่วนที่เป็นเหตุผลที่แท้จริง  และความคิดเห็นส่วนตัวของผู้พูด
 3.  ฟังให้ได้สาระประโยชน์  คือ  จับสาระสำคัญให้ได้ก่อนรายละเอียดหรือพลความ  อาจจดบันทึกหัวข้อความรู้สำคัญเพื่อทุ่นเวลาและช่วยความจำพร้อมกันไปด้วย
 4.  ฟังให้ได้คุณค่าทางจิตใจ  โดยทำใจให้คล้อยไปตามเรื่องที่ฟัง  เพื่อให้เกิดอารมณ์สนุกสนานเพลิดเพลิน  เช่น  การฟังบทละคร  บทโทรศัพท์  ปาฐกถาธรรม  บทเพลง   เป็นต้น
 
ลักษณะของผู้ฟังที่ดี

 1.  สนใจฟังเรื่องด้วยความตั้งใจและคิดตามอย่างมีเหตุผล
 2.  สนใจฟังเฉพาะเรื่อง  ไม่ใช่เอาใจใส่ฟังทุกเสียงที่ได้ยิน
 3.  ฟังอย่างพินิจพิเคราะห์  เพื่อให้รู้รายละเอียด  หรือจุดสำคัญของเรื่อง  รวมทั้งสำนวน  ภาษา ศัพท์  และโวหารของผู้พูด
 4.  วางตัวเป็นกลาง  ทำจิตใจให้เบิกบาน  ไปกับเรื่องที่ผู้พูดพูด  และไม่มีอคติใด ๆ  ต่อผู้พูด
 5.  ขณะที่ฟัง  ควรมีการจดบันทึกข้อความไว้อย่างมีระเบียบ  เพื่อช่วยความจำ
 6.  ผู้ฟัง  จะต้องรู้จุดมุ่งหมายของการฟังในครั้งนั้น ๆ  ว่า  ฟังเพื่อให้เกิดความรู้  หรือความเพลิดเพลิน  หรือเพื่อจับใจความสำคัญ  หรือฟังเพื่อหาเหตุผลโต้แย้ง
 7.  ขณะที่ฟัง  ไม่ควรพูดคุย  หรือซุบซิบกับคนที่นั่งข้างเคียง  ไม่ทำเสียงเอะอะ  หรือแสดงกิริยาที่เป็นการไม่ให้เกียรติผู้พูด
 8.  ถ้ามีตอนใดที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ  ควรซักถามผู้พูดเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายการถามนั้น  ควรถามเมื่อผู้พูดพูดจบความแล้ว
 9.  เมื่อฟังแล้ว  ควรจะคิดทบทวนว่า  เรื่องที่ได้ฟังนั้นเป็นความจริงหรือไม่  มีเหตุผลน่าเชื่อถือเพียงใด  ถ้านำไปปฏิบัติแล้วจะเกิดประโยชน์หรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #ลักษณะการฟัง
หมายเลขบันทึก: 219597เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2008 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆค่ะ แต่ตัวเล็กไปนิดนึงค่ะ อิอิ คนสูงวัย ตาไม่ค่อยจะดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท