มารู้จักโรคกระดูกพรุนกันเถอะ


กระดูกพรุน

มารู้จักโรคกระดูกพรุนกันเถอะ

ภาวะกระดูกพรุน คือภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบโครงสร้าง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกเสื่อมเสียไป ซึ่งทำให้คนๆ นั้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักสูงขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม และครอบครัว จากสถิติพบว่า บุคคลต่อไปนี้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่า

-คนเชื้อชาติเอเชีย มากกว่าคนทางยุโรป

-ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็ว หรือผู้หญิงที่ตัดรังไข่

-คนที่มีรูปร่างผอมบางและ/หรือน้ำหนักตัวน้อย

-มารดาที่มีภาวะกระดูกพรุน พบว่า บุตรมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนสูงเช่นกัน

ปัจจัยเกี่ยงข้องทางพฤติกรรม

-คนทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย

-คนที่สูบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอลล์จัด

-คนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย หรือไม่ยอมเคลื่อนไหวเป็นเวลานานๆ

-การรับประมานยาบางชนิด เช่นพวกผสมสเตียรอยด์

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน เกิดขี้นเมื่อร่างกายมีการสูญเสียกระดูกเร็วกว่าการสร้างกระดูกใหม่

โรคกระดูกพรุนแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ โรคกระดูกพรุนแบบปฐมภูมิ ได้แก่ภาวะกระดูกพรุนที่พบใน

-หญิงหมดประจำเดือน

-คนสูงอายุ เกิดได้ทั้งหญิงและชาย

ในอัตรส่วน หญิง:ขาย=๒:๑

โรกระดูกพรุนแบบทุติยภูมิ ได้แก่ภาวะกระดูกพรุนที่พบในคนที่ได้รับผลกระทบต่างๆ ดังต่อไปนี้ ซึ่งมีผลต่อการเจริญหมุนเวียนของกระดูก เช่น

-ทานแคลเซียมน้อย

-สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอลล์หนัก

-รับประทานยาที่ผสมสเตียรอยด์

-ขาดการออกกำลังกาย

-โรคบางชนิด เช่น มะเร็งที่ตัวกระดูก หรือความผิดปกติของฮอร์โมน

ซึ่งทั้ง ๒ อย่างนี้จะเกี่ยวข้องกัน เช่น หญิงหมดประจำเดือนที่สูบบุหรี่ ก็จะเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากกว่าหญิงหมดประจำเดือนที่ไม่สูบบุหรี่ เป็นต้น

อาการของโรคกระดูกพรุน

-ส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีอาการ

-๑ ใน ๓ ของผู้ป่วยกระเกพรุนที่มีกรดูกสันหลังยุบเท่านั้นที่มีอาการถึงขนาดที่ต้องไปพบแพทย์ อาการที่พบคือ ปวดหลังเรื้อรัง ถ้าผู้ป่วยมีกระดูกสันหลังยุบหลายๆ ปล้อง จะทำให้ผู้ป่วยเตี้ยลงๆ มีหลังโก่ง

-ในผู้หญิงหมดประจำเดือนทีกระดูกสันหลังยุบหรือหัก พบว่า ๑ ใน ๕ ของหญิงกลุ่มนี้มักจะเกิดกระดูกยุบอีกภายใน ๑ ปี

-ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจนถึงอายุ ๘๕ ปี จากสถิติพบว่า มีอุบัติการณ์ของกระดูกสันหลังหักเพิ่มสูงขึ้นถึง ๖ เท่า

คำแนะนำ

-แนะนำให้ทานแคลเซียม ๑,๒๐๐-๑,๕๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน

-ทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ และเสริมวิตามินดีให้ร่างกายได้รับ ๘๐๐ หน่วยสากลต่อวัน

-ควรออกกำลังกายที่มีการลดน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่ง ถีบจักรยาน

-ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เช่น หยุดสูบบุหรี่ เลิกดื่มแอลกอฮอลล์ ป้องกันการหกล้ม เช่น ปรับแสงในที่อยู่อาศัยให้สว่างเพียงพอ ไม่วางของระเกะระกะ ฯลฯ

เท่านี้ก็ห่างไกลโรคกระดูกพรุนแล้ว

ข้อมูล เอกสารจากโรงพยาบาลกลาง

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน Bobby
คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 219192เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2008 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับ สาระดีๆครับ

สำหรับผมคงต้องหันกลับมาดื่มนมทุกวันซะแล้วครับ เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน

สวัสดีค่ะ

ดีมากเลยค่ะข้อมูลนี้  ครูอ้อย ดื่มนมทุกวันค่ะ  แข็งแรงจนอ้วนค่ะ  ไม่เคยเป็นหวัด  ไม่ได้กินยาแก้ปวดหัวมานานแล้ว

ขอบคุณค่ะ

น้องอั๋นอย่าทานขาหมู เป็ดย่าง มากนะเดี๋ยวเป็นโรคกระดูกพรุน  เอ้ะเกี่ยวกันไม๊นี่ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท