พิธีกรรม ความรัก และการสร้างขวัญกำลังใจ


...จริงอยู่ พิธีกรรมต่างๆ นี้ ถึงแม้ว่ามันไม่ใช่วิถีทางแห่งการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่มันก็เป็นวิถีทางที่คนอีสานส่วนใหญ่เลือกกระทำเพื่อ..
      เมื่อบ่ายสาม วันวาน (30 มีนาคม 49) เรา 5 คน (อ ต้าร์ อ แหม่ม อ สุมาลี น้องเก๋ และ กัลยา) เราเดินทางไป บ้าน อ ต้าร์ เนื่องจาก อ ต้าร์จะไปสะเดาะเคราะห์  และทำพิธีสู่ขวัญ(ชีวิตช่วงนี้ ซวยเหลือเกิน) บรรยากาศในการทำพิธี อบอุ่นมากมีไออุ่นของความรัก ความเอาใจใส่ ของพ่อ แม่ ญาติพี่น้องเต็มบ้านเลย  นี้แหละ วัฒนธรรมอีสาน เป็นความสุขอีกแบบหนึ่ง ที่ปัจจุบันในสังคมอีสานเองก็ห่างหาย รวมทั้งหดหายไป
     และสิ่งหนึ่งที่มองเห็น และรู้สึกเสียดาย (อันนี้ความรู้สึกส่วนตัวนะคะ) รู้สึกว่า หมอสวด หมอพราหมณ์ ที่มาทำพิธี แก่มาก แต่ความจำท่านยังแม่นยำอยู่มาก ยังสามารถทำพิธีกรรมและสวดจนจบได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมาก
     แต่ก็มีสิ่งที่น่าเสียดาย ก็คือ ความรู้ในเรื่องบทสวด และพิธีกรรม รวมถึงความตระหนักในความสำคัญของพิธีกรรมเล่านี้ กำลังจะล่มสลายไปตามคนเฒ่าคนแก่ ที่ล้วนเป็นไม้ใกล้ฝั่ง จริงอยู่ พิธีกรรมต่างๆ นี้ ถึงแม้ว่ามันไม่ใช่วิถีทางแห่งการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่มันก็เป็นวิถีทางที่คนอีสานส่วนใหญ่เลือกกระทำเพื่อเป็นการผ่อนปรนความไม่สบายใจ หรือ การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กันและกันในวงศาคณาญาติ หรือในชุมชน
นั่งพนมมือ มองดูพิธีกรรมไปแต่ในใจกำลังคิดว่า ในกระบวนการศึกษา ในกระบวนการวิจัย จะทำอย่างไร ให้สิ่งที่ดีงามเหล่านี้ยังคงอยู่ อย่างมีความหมายที่สำคัญต่อคนรุ่นใหม่ต่อไป (ฝากทุกท่านที่อ่าน โปรดช่วยคิดต่อไป)
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21900เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
อิ่มด้วยคะ...ทั้งบุญ อาหาร ความอาทร ..^_^

ภูมิปัญญา

เชื่อ..ศรัทธาในความมี "ภูมิปัญญา"...

ของความเป็น "มนุษย์"

เห็นด้วยค่ะ วัฒนธรรมอันเก่าแก่อย่างนี้น่ะ

ปัจจุบันไม่แน่ใจว่าจะมีผู้สืบทอดหรือเปล่า

 

 

ตัวเองก็มีความเชื่อ และศรัทธาในพิธีกรรม..ที่ยากแก่การพิสูจน์ด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์...และหลายคนหารู้ไม่ว่า นั่นคือภูมิปัญญาหรือกุศโลบายอันแยบคายของ "มนุษย์"

หวังว่ายังคงมีคนสืบทอดพิธีกรรมสืบทอดต่อไป ชั่วลูก ชั่วหลานค่ะ

พิธีกรรม มองสองด้านนะ 

ด้านสว่าง สมัยก่อนเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจทำให้ฮึกเหิม  ก่อนออกรบ ทำให้จิตใจเข็มแข็ง เกิดความสามัคคี เน้นพิธีกรรมที่ทำโดยพระสงฆ์และบุคคลที่ได้รับการยอมรับนับถือ

ด้านมืด เป็นเครื่องมือหากินกับคนที่กำลังจิตใจอ่อนแอ ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจ เช่นสมัยเทวราชา ที่นำเอาพิธีกรรมเข้ามาทำให้เชื่อว่าอำนาจเกิดจากบุญบารมีชาติก่อน พระเจ้าประทานให้ ห้ามมิให้ผู้ใดละเมิด ฝ่าฝืน เป็นการนำวัฒนธรรมของขอมมาปะปน เน้นพิธีกรรมและคาถาที่กระทำโดยแม่หมอ พ่อหมอ เหมือนที่พณฯท่าน.......ไปทำที่สุรินทร์ไง

เห็นว่ามีสองด้าน ก็แยกแยะก่อนใช้บริการด้วยครับ อีกอย่างไม่ได้ขึ้นกับบทสวดหรอก (ความเห็นส่วนตัวนะครับ) เพราะฟังไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว แต่ขึ้นกับกรรมวิธีมากกว่า ว่าสามารถสร้างบรรยากาศให้ดูน่าเชื่อถือและอบอุ่นแค่ไหน

หากจะกล่าวถึงเรื่องของ พิธีกรรม การสร้างขวัญกำลังใจ คงต้องกล่าวเชื่อมโยงไปถึงความเชื่อ ความศรัทธา และ ประเพณีวัฒนธรรม อันว่ามนุษย์เรามีอยู่สองสถานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ หนึ่งคือผู้เคยก้าวผ่าน สัมผัสเสพซึ้ง รวมทั้งผ่านอบรมสั่งสอน จนทำให้เกิดความเชื่อความศรัทธาขึ้นมา แต่จะมากน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ส่วนสถานที่สองของมนุษย์ คือผู้ที่ไม่เคยได้รับรู้ สัมผัส เลยไม่เกิดความเชื่อ ความศรัทธา ต่อพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ได้ ฉะนั้นมนุษย์ประเภทแรกจึงต้องสืบทอดพิธีกรรม ภายใต้ความเชื่อและศรัทธาต่อพิธีกรรมเหล่านั้น อย่าลืมว่ามนุษย์เราอยู่ได้ด้วยความหวังและกำลังใจ เป็นพลังขับเคลื่อนแห่งจิตใจไปสู่ความสุขและสำเร็จ และบางครั้ง มนุษน์เราก็ยอมตายได้ต่อพลังความเชื่อแห่งศรัทธาไม่เสียดายแม้ชีวิตดับสิ้นแต่กลับภูมิใจ ซึ่งผมเองก็จัดอยู่ในมนุษย์ประเภทแรกและมีความเชื่อและศรัทธาต่อพิธีกรรมเหล่านั้นอย่างมาก

"ไม่มีศาตราวุธเหล็กไหลใดในโลกแกร่งเทียบเท่าศรัทธา"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท