ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข


การพัฒนาผลงานคร คศ. 4

 

 

 รายงานการวิจัยเรื่อง       ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข     

                                  ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 

                                  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน

ผู้วิจัย                           นายจันโสม   สิงนาค     ครู อันดับ คศ. 3 

หน่วยงาน                        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   โรงเรียนสตรีราชินูทิศ 

                                        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1

ปีที่วิจัย                            ปีการศึกษา  2549

บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์คือ  1)  เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ   การเรียนรู้อย่างมีความสุข  เรื่อง สารในชีวิตประจำวันโดยการหาค่าประสิทธิภาพและค่าดัชนีประสิทธิผล 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข       3)  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการมีความสุขในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข 

                     การดำเนินการวิจัยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว  ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ปีการศึกษา 2549  โรงเรียนสตรีราชินูทิศ  จังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 ห้องเรียน  53  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการมีความสุขในการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข   ใช้ค่าสถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที  ผลการวิจัยพบว่า

            1. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขในรายวิชาวิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน  พบว่า มีประสิทธิภาพ     เท่ากับ  82.79 /82.08   ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.72  แสดงว่านักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นร้อยละ  72

            2. การศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์  เรื่องสารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข  พบว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

            3. การวิเคราะห์แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการมีความสุขในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  พบว่า  นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก   (ค่าเฉลี่ย  = 4.03) และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับ มาก  เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อยจากทุก ๆ ด้านพบว่าประเด็นที่มีระดับความสุขสูงสุด 3 อันดับแรกคือ  1) นักเรียนกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.46)  2)นักเรียนสนใจเรียนและตั้งใจเรียนวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น (ค่าเฉลี่ย  = 4.39)  และ 3)นักเรียนมีความสามัคคีกับเพื่อนในห้องเรียน  (ค่าเฉลี่ย  = 4.36)  ส่วนประเด็นย่อยที่มีความสุขต่ำสุด 3 อันดับแรก คือ  1) นักเรียนได้รับการยกย่องชมเชยจากเพื่อน (ค่าเฉลี่ย = 3.25)  2) นักเรียนมีการยอมรับเหตุผลของคนอื่น (ค่าเฉลี่ย  = 3.42)  และ 3)  บรรยากาศในห้องเรียนมีการผ่อนคลายไม่เครียด (ค่าเฉลี่ย = 3.43)

 

                          

หมายเลขบันทึก: 218567เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2008 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีค่ะ

-แวะมาให้กำลังใจค่ะ

สวัสดดีค่ะ ตามมาดูผลการพัฒนาค่ะ ขอบคุณค่ะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

มาให้กำลังใจแบบขี้เกียจล็อคอิน  พยายามเข้านะคะ ครูคนเก่ง

ขอขอบคุณทุกกำลังใจที่ให้มา ครูจันโสม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท