รูปแบบของการทำAARที่ถูกต้อง


AAR

เมื่อดิฉันเขียนเกี่ยวกับการทำAARในสถาบัน    เมื่อมีคนมาอ่านแล้วแอบไปกระซิบให้แม่ไปอ่านตำราใหม่     ดิฉันขอแก้ไขโดยอ่านมาจากหนังสือของอาจารย์อนุวัฒน์จาก พรพเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของเราหัดใช้     ทราบว่าถ้าใช้เป็นจะมีพลังอย่างมาก

รูปแบบของการทำAAR

เปิดใจคุยกันอย่างตรงไปตรงมาในเวลาไม่เกิน20นาทีโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตอบคำถามต่อไปนี้

1. สิ่งที่คาดหวังให้เกิดขึ้นคืออะไร

2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร

3. ทำไมจึงมีความแตกต่าง

4. ได้เรียนรู้อะไรเพื่อว่าวันพรุ่งนี้จะได้ทำให้ดีขึ้น

เป้าหมายของกระบวนการนี้คือการเรียนรู้ของทีม    สร้างความเชื่อใจและความเหนียวแน่นของทีม

แนวทางการทำAAR

1.  จัดประชุมAARทันทีในขณะที่ผู้ที่เกี่ยวข้องยังอยู่พร้อมหน้า   และควรกำหนดไว้ในแผน

2.  สร้างบรรยากาศที่เหมาะสม  เปิดใจ  ไม่มีผู้บริหาร  ไม่มีลูกน้อง

3.  จัดให้มีfacilitator เพื่อช่วยให้ทีมได้เรียนรู้นำไปสู่เป้าหมาย  ระวังการกล่าวโทษ   ผู้นำการประชุมAAR ไม่ควรเป็นหัวหน้าทีม

4.  ตรวจสอบความเข้าใจเรื่องเป้าหมาย  ตอบสิ่งที่คาดหวังให้เกิดขึ้นคืออะไร

5.  ทบทวนว่าอะไรเกิดขึ้น

6.  เปรียบเทียบแผนกับความจริง

7.  บันทึกประเด็นที่สำคัญและเผยแพร่

ดิฉันเขียนขึ้นมาเพื่อให้คนที่ไม่เข้าใจAARไปอ่านตำราของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านประกอบค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21833เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คิดว่าการฟังอย่างตั้งใจน่าจะมีพลังอย่างมาก ซึ่งคงต้องมีพื้นฐานการคิดบวก(ขึ้นอยู่กับการฝึกหรือบรรยากาศด้วย)ส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท