ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย


            1.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม  สกินเนอร์เชื่อว่าตัวเสริมแรงเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน  เกี่ยวข้องกับความเร็ว  ความอดทนในการทำงาน  ความสามารถบังคับตนเองและเช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การเสริมแรงอาจเป็นรูปแบบการให้รางวัลที่เหมาะสมหรืออาจเป็นความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากความสำเร็จในการเรียนหรือการทำกิจกรรม  หลักการของสกินเนอร์ได้รับการนำไปพัฒนาเป็นรูปแบบการสอนแบบโปรแกรม  ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

             2.ทฤษฎีปัญญานิยม  เพียรเจร์ (Piage) เป็นนักจิตวิทยาผู้หนึ่งในกลุ่มนี้  เป็นผู้นำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการรับรู้ของเด็กและได้สร้างทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาขึ้นโดยเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับโครงสร้างสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อนและจะค่อย ๆ มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ

             3. การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีปัญญานิยมออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                  3.1ใช้เทคนิคสร้างความสนในแก่ผู้เรียนก่อนเริ่มเรียน

                  3.2 สร้างความสนใจในการศึกษาบทเรียนอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

                  3.3 ใช้ภาพและกราฟฟิคประกอบการสอนให้สอดคล้องของเนื้อหา

                  3.4 คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนในแง่ของการเลือกเนื้อหา  การเลือกกิจกรรมการใช้ภาษา  การใช้กราฟฟิค

                  

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21819เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2006 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท