สุภาษิตคำพังเพย


สุภาษิตคำพังเพย

     สุภาษิต คือ คำพูดที่ถือเป็นคติ มีความลึกซึ้ง ใช้สั่งสอน ถือเป็นการวางแนวและแสดงค่านิยมของมนุษย์มาแต่โบราณกาล เช่น สุภาษิตสอนหญิง สุภาษิตพระร่วงก็มีข้อความสั่งสอนที่แสดงค่านิยมของสมัยนั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนพุทธภาษิตคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา เช่น

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" (สุภาษิต)

"บุคคลย่อมล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร" (พุทธศาสนาสุภาษิต)

    

     คำพังเพย เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่าง ๆ เพื่อใช้ติชม ซึ่งสะท้อนถึงความคิด ความเชื่อถือ และค่านิยม อันเป็นลักษณะของคนไทย เช่น ค่านิยมในการยกย่องผู้มีอาวุโส เคารพครูบาอาจารย์ และนิยมความสุภาพอ่อนโยน เช่น

             "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง"  หมายความว่า พูดไปไม่มีประโยชน์นิ่งเสียดีกว่า

     สำนวน คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ ไม่ครงกับความหมายที่ใช้ตามปกติ ทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เป็นลักษณะคำพูดที่รวมใจความยาว ๆ ให้กะทัดรัด บางสำนวนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย เช่น  

"ป้ามาลีรู้ตื้นลึกหนาบางของคุณนายสุรีย์หมด"  หมายความว่า รู้ความเป็นมาอย่างละเอียด

รักวัวให้ผูก   รักลูกให้ตี

IF YOU LOVE A COW, TIM IT UP; IF YOU LOVE YOUR CHILD, BEAT HIM
[SPARE THE ROD, SPOIL THE CHILD] ความหมาย

รักสิ่งใดก็ต้องระวังสิ่งนั้นให้ดี อย่าปล่อยตามใจ มิฉะนั้นจะต้องเสียใจภายหลัง

ธรรมปฏิบัติ
บิดามารดาพึงปฏิบัติต่อบุตรธิดาตรงกับข้อที่ว่า "ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว"

หน้าที่ของบิดามารดาพึงปฏิบัติต่อบุตรธิดา ๕ ประการ ได้แก่
๑. ห้ามไม่ให้ทำชั่ว   ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี   ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา   

๔. หาสามีภรรยาที่สมควรให้   ๕. มอบทรัพย์ให้ในเวลาที่สมควร

ปิดทองหลังพระ

TO APPLY GOLD LEAF TO THE BACK OF A BUDDHA IMAGE
[TO DO GOOD BY STEALTH]

                                    ความหมาย
      ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า

                            ธรรมปฏิบัติ
           ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ชื่อว่า "อธิปไตย ๓" ข้อที่ว่า "ธรรมาธิปไตย" ความมีธรรมเป็นใหญ่ ถือธรรมเป็นใหญ่ การกระทำด้วยปราถนาความถูกต้องเป็นจริง สมควรตามธรรม เป็นประมาณ

 

 

หมายเลขบันทึก: 217275เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2008 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดิฉันชอบสุภาษิตของคุณมากค่ะอยากให้มีเยอะๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท