ฉบับที่ ๘ เศรษฐกิจของไทย


เสือตัวที่ห้า

ฉบับที่ ๘

 

กานต์วลี ที่แสนคิดถึง

 

                        ผมขอแสดงความเสียใจกับธุรกิจของเพื่อนกานต์ด้วย และขอโทษที่ผมไม่สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที  กานต์ก็คงจะรู้ว่าเหตุการณ์ผันผวนทางเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้นมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก  ซึ่งความจริงแล้ว นักธุรกิจในประเทศไทยทุกคน ควรจะต้องตระหนักและจดจำถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิกฤตเศรษฐกิจไทย ปี ๒๕๔๐ ได้  และได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก

                        ความจริงแล้ว  ผมไม่อยากที่จะพูดหรือตำหนิการทำธุรกิจของเพื่อนกานต์  เพราะการทำธุรกิจนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพาความสามารถในการบริหารและวางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบของตนเองเป็นหลัก  ให้ธุรกิจของตนเองมั่นคง จนสามารถแก้ปัญหาของตนเองได้  เมื่อประสบภัยทางธุรกิจที่ไม่อาจคาดถึง

กานต์วลี

ไม่มีนกตัวใดจะบินสูงเกินไป  หากมันทะยานขึ้นด้วยปีกของมันเอง

No bird  soars  too  high, if  it  soars  with  its  own  wings.

                        William  Blake ( ค.ศ. ๑๗๕๗ -๑๘๒๗)

                        กานต์คงอยากจะทราบสินะ ว่าวิกฤติเศรษฐกิจไทย  ปี ๒๕๔๐ นั้นเป็นอย่างไร  ผมจะเล่าให้กานต์ฟัง  แต่การที่เราจะทราบถึงตัวปัญหาของเศรษฐกิจที่แสนเลวร้ายในปีนั้น  ผมคิดว่ากานต์จะต้องทำความเข้าใจถึงเศรษฐกิจพื้นฐานของไทย ก่อนเกิดวิกฤตเสียก่อน.

 

                        เศรษฐกิจสังคมไทย  เป็นกระบวนการที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงมานับพันปี

 

                        ในอดีต  เศรษฐกิจของไทย  ต้องพึ่งพาการเกษตรกรรมเป็นหลัก  สินค้าออกสำคัญที่ทำรายได้เข้าประเทศมีไม่กี่ชนิด เช่น ข้าวโพด  ยางพารา  มันสำปะหลัง เป็นต้น  ซึ่งการผลิตในภาคเกษตรส่วนใหญ่ ยังคงต้องพึ่งพาธรรมชาติ และยังขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในระบบการผลิต  ดังนั้น หากราคาผลผลิตด้านการเกษตรตกต่ำ ประเทศไทยก็จะได้รับผลกระทบและเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ

กานต์วลี  บรรพบุรุษของไทยเรา ต่างเป็นผู้ที่มีความขยันขันแข็ง  ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและมานะอดทนต่อการทำงาน แต่

ความพยายามและความกล้าหาญ ไม่เป็นการเพียงพอ หากปราศจากจุดประสงค์และทิศทาง

Efforts  and  courage  are  not  enough   without  purpose  and  direction.

                                                                                                     John F. kenedy ( ๑๙๑๗๑๙๖๓ )

            และ  เมื่อความเจริญเข้ามา  วัฒนธรรมจากต่างชาติหลั่งไหลมา เศรษฐกิจและสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปในแนวทางทุนนิยมมากขึ้น  ธนาคารโลกได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจให้รัฐบาลไทย โดยเสนอให้มีการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔ ๒๕๐๙) แต่กลยุทธ์ ในการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ ๑ เป็นต้นมาจนถึงฉบับที่ ๗ (๒๕๐๔-๒๕๓๙)  ได้เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการพัฒนาสาขาอุตสาหกรรมและบริการ  รวมทั้งเน้นการพัฒนาเขตเมือง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพฯและปริมณฑล  ทำให้มีการกระจุกตัวของการถือครองทรัพย์สินการผลิตและรายได้ ขณะเดียวกันรัฐขาดการวางแผนระยะยาวในการพัฒนาภาคการเกษตร

ผลจากการพัฒนาตามแนวทางนี้ สิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ มีอยู่ ๔ ประการ

๑. ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยห่างกันมากมาย   กานต์ลองนึกถึงประเทศที่มีระบบทุนนิยมเสรี สิ อย่างอเมริกา  ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ถ่างกว้างขึ้นทุกที ๆ คนอเมริกันที่ร่ำรวยที่สุด  ๒๐๐  กว่าคน มีทรัพย์สินมากกว่าคนในโลก ๒,๐๐๐ ล้านคนรวมกัน ส่วนในประเทศไทย คนร่ำรวยในประเทศมีอยู่ไม่กี่ตระกูล

   เส้นความยากจน

,๓๘๖

บาท/คน/เดือน  

   สัดส่วนคนจน

๙.๕๕

% ของประชากร

   จำนวนคนจน

๖.๐๖

ล้านคน

   สัดส่วนครัวเรือนยากจน

๘.๗

% ของครัวเรือนทั้งประเทศ

   จำนวนครัวเรือนยากจน

๑.๖๖

ล้านครัวเรือน

 

 ๒. การทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล  ผมขอยกตัวอย่างเพียงแค่ทรัพยากรป่าไม้ของไทย..  

                พื้นที่ป่าไม้ ปี ๒๕๐๓ มี ๕๓% ของพื้นที่ทั้งหมด

               แต่ ปี ๒๕๔๓ เหลือเพียง ๒๕%

ในปัจจุบัน คงจะเหลือ ๑๘% - ๒๐%

๓.การทำลายวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ  จากกระแสที่หลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกทำให้คนไทยมีความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

หนี้สินต่อครัวเรือน ปี ๒๕๔๙   มีหนี้ ๑๑๖,๕๘๕ บาท ต่อปี

๔. วิกฤตการณ์ทางสังคมอย่างรุนแรง   หย่าร้าง,ฆ่าตัวตาย ปี ๒๕๔๙ มีคนไทยฆ่าตัวตาย

ปีละ ๓,๕๐๐ คน หรือ ๑๓  คนต่อวัน หรือประมาณ ๑ คนทุก ๆ ๒ ชั่วโมง การหย่าร้างในปี ๒๕๔๙ สูงถึง ๘๙,๑๕๓  ราย

                                                        

ความไม่สมดุลของการพัฒนาดังกล่าว  ได้สร้างผลกระทบทางลบต่อคนยากจนและสังคมส่วนรวมอย่างไม่อาจประมาณค่าได้ ลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย  ยังคงถูกจัดเป็นเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา  คือ ยังมีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่  รายได้เฉลี่ยต่อประชากรต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

 

ในปี  ๒๕๐๔  รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของคนไทยที่เป็นตัวเงินตกประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าบาท เวลา ๓๖ ปีผ่านไป เปลี่ยนเป็นรายได้ประมาณ ๗๐,๐๐๐ บาท  ก็หมายความว่า รายได้เฉลี่ยได้เปลี่ยนแปลงไปประมาณ  ๓๔  เท่าตัว  โดยที่ค่าครองชีพ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตาม  ซึ่งก็คือ มาตรฐานการครองชีพของคนไทย โดยเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมากมายในช่วง ๓๖ ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง ๑๐ ปีหลังก่อนเกิดวิกฤตการณ์ ปี ๒๕๔๐ เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่รวดเร็วเป็นพิเศษในสังคมไทย  ทั้งระบบการค้า เศรษฐกิจและความมั่งคั่งของคนไทยจำนวนหนึ่ง   รวมไปถึงความนึกคิดของคนไทย โดยทั่วไปไม่ว่า เรื่องการเมือง  การดำรงชีวิต ค่านิยมและรสนิยม     และถูกล่อหลงด้วยภาพลวงตาที่ว่า  ไทยจะเติบโตเป็น เสือเศรษฐกิจตัวที่ ๕  

 

แต่กานต์วลี  การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว  โดยขาดการวางแผน  การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งโดยรวมแล้ว ทำให้ป่าไม้ สภาพแวดล้อม ถูกทำลาย เพียงเพื่อใช้พื้นที่และทรัพยากรในการผลิตสินค้าและเพื่อการบริโภคที่มากขึ้น  ชนบทเปลี่ยนสภาพวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ เลียนแบบเมือง ที่เน้นเรื่องการหาเงินการใช้เงินแบบตัวใครตัวมัน เกิดปัญหาการแข่งขัน  การเอารัดเอาเปรียบและความขัดแย้งมากขึ้น

ไม่เหมือนกับคนไทยที่แสนน่ารักในอดีตเลย  กานต์วลี

 

                        คนไทยที่ยากจน  แม้จะมีเสื้อผ้าสวมเพียงตัวเดียว  แต่ถ้าเขาพบคนอื่น

                        ที่ยากจนกว่าเขา   เขาสามารถยอมเสียสละเสื้อที่เขาสวมอยู่นั้น    ให้แก่

                        คนที่ยากจนกว่าเขาได้        คุณสมบัติเช่นนี้ยากจะพบเห็นในสังคมชาว

                        ตะวันตก  ซึ่งถือเอาวัตถุเป็นยอดปรารถนาแห่งชีวิต....

                                                                                       

 

            กานต์วลี  การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างขาดสติปัญญาทำให้ผม กานต์ เขาคนนั้น และคนไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่รู้ตัว...

 

            ผมขอจบจดหมายฉบับนี้ลงก่อน  ฉบับต่อไป ผมจะมาเล่าให้กานต์ฟังว่า  ทำไม เสือตัวที่ห้าของเอเชีย จึงกลับกลายมาเป็นแมวตัวที่หนึ่งของเอเชีย ไปได้

 

                                                                                                คิดถึงอดีต..บ้างเถิด

                                                                                                อภิษฐา

 

หมายเลขบันทึก: 216935เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท