กระบวนการขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศและเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ของบุคคลต่างด้าวไร้สัญชาติ


เพราะสิทธิในการเดินทางเป็นสิทธิมนุษยชน ที่มนุษย์ทุกคนพึงมีอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างแห่งเชื้อชาติ สัญชาติ 

ด้วยเหตุนี้เอง คนไร้สัญชาติที่อยู่ในประเทศไทยจึงมีสิทธิที่จะเดินทางออกนอกประเทศ และกลับเข้ามาในประเทศไทยได้อีก แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ตามที่กฎหมายกำหนด

ดังเช่น กรณีอาจารย์อายุ นามเทพ :อาจารย์ไร้สัญชาติแห่ง ม.พายัพ ซึ่งอพยพหนีภัยความตายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ปี (และได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติ ทร.๓๘ก)  ซึ่งได้ดำเนินการขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปแข่งขันดนตรี ณ กรุงกราซประเทศออสเตรีย

และ กรณี น.ส.ศรีนวล เสาร์คำนวล เยาวชนไร้สัญชาติจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งได้ดำเนินการขออนุญาตเดินทางไปศึกษาต่อ ณประเทศสหรัฐอเมริกา

จากประสบการณ์การของทั้งสองกรณีข้างต้น เราพบว่ากระบวนการและขั้นตอนในการขออนุญาตออกนอกประเทศเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ เริ่มจากขออนุญาตจากกระรวงมหาดไทย แล้วจึงดำเนินการขอออกหนังสือเดินทาง และ re-entry visa จากกรมการกงสุล เพื่อนำไปใช้ประกบการขอ visa สำหรับเดินทางเข้าประเทศปลายทาง

(ดูแผนภาพกระบวนการขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศ   pdf )

หมายเลขบันทึก: 216883เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 07:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ดูไม่ได้ค่ะ

เอาไฟล์ไปใส่ในแฟ้มอัลบั้ม แล้วลากลิ้งมาดีกว่าไหมคะ

แวะมาอ่านค่ะ น้องไหม เมื่อไหร่พาไปดูงานประเทศลาวอีก

 

ดีค่ะ อันนี้ ก็เป็นงานเขียนที่ควรรวบรวมไว้ในบรรณานุกรมเรื่องคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ

อีกข้อเสนอแนะ ไหมควรหัดคิดเค้าโครงของบันทึกด้วย แม้งานชิ้นเล็กๆ ก็มีเค้าโครงได้

อ.แหววช่วยคิดค่ะ เพื่อเป็นตัวอย่าง

๑.ควรเล่าว่า สภาพปัญหาการเดินทางของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติเป็นอย่างไร

๒. ควรเล่าสั้นถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะเห็นว่า บันทึกของไหมเริ่มจากตรงนี้

๓.ควรเล่าว่า ไหมเข้าไปทำงานอะไรในตรงนี้ เพราะอะไร

๔. ควรเล่าว่า ไหมทำอย่างไร ซึ่งแผนผังของไหม ก็คืองานเขียนในส่วนนี้

๕. ควรจบที่ว่า ไหมทำสำเร็จไหม ?

พี่ต้อยคะ

ตอนนี้โครงการของภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศได้รับอนุมัติงบประมาณจากทางบัณฑิตศึกษาแล้วนะคะ คราวหน้าจะไปหลวงพระบางค่ะ น่าจะราวๆต้นปีหน้า

ไว้รอฟังข่าวนะคะ

  • เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้มากมายเลยครับ
  • ขอบคุณมากนะครับที่นำมาเผยแพร่

ยอดเยี่ยมมาก สำหรับแผนผัง กระบวนการเตรียมข้อมูล การติดต่อหน่วยงานและเส้นทางเดินของผู้ไร้สัญชาติที่มีความจำเป็นจะต้องเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อไปประกาศความเก่งฉกาจของผู้ไร้สัญชาติ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่มวลมนุษยชาติ มีหลายฅนที่เป็นผู้ไร้สัญชาติใช้วิธีการนี้ เดินทางออกจากประเทศไทยไปด้วยความสามารถของตนเอง และที่ติดต่อให้น้องไหม เขียนถึงเรื่องนี้ก็เพราะได้รับการขอคำปรึกษาถึงกรณีเด้กไร้สัญชาต (PID เลข 0) อยู่โรเรียนหัวหวาย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ (ใกล้สนามบินเชียงใหม่) ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดศิลปะ จะต้องไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่น ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 แต่ด้วยไม่เคยช่วยติดตามดำเนินการให้กับใครเลย จึงขอให้อาจารย์ชลฤทัยกับน้องไหม ที่มีประสบการณ์ ช่วยเขียน Flow chart และวิธีการช่วยเหลือ จะได้เป็นแนวทางสำหรับท่านอื่นที่จะใช้ในการให้คำปรึกษา หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องจะได้เดินเรื่องได้ด้วยตนเอง ต้องขอขอบใจน้องไหมไว้ ณ ที่นี้ ที่ทำให้มีองค์ความรู้ดีๆ ช่วยเหลือผู้ไร้สัญชาติให้ได้พบเห็นโลกกว้าง สร้างชื่อให้ไทยได้ด้วย และขออนุญาตที่จะนำเอาสิ่งที่ดีๆ เช่นนี้ไปบรรจุไว้ในหนังสือ "คู่มือการกำหนดสถานะบุคคล ฉบับชาวบ้าน" ที่กำลังจัดทำด้วยครับ

เอกสารเป็น ประโยชน์มากค่ะ อาจารย์ไหม

เป็นกำลังใจให้นะค่ะ

จากวันนั้น ตุลาคม 2551 ถึงวันที่เป็นเรื่องโด่งดังทั่วประเทศและค่อนโลก คือ เรื่องราวที่มาจากฝีมือของ จารย์'ไหม คนนี้แหละ ที่ผมได้นำเอาองค์ความรู้ไปแจ้งให้ครูน้อยได้ทราบและเดินตามช่องทาง แต่ผู้มีอำนาจของกระทรวงมหาดไทยก็ออกมาปล่อยไก่ จนเป็นกระแสสังคม ซึ่งที่จริงพวกเราไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย

    และผลที่สุดก็ห้ามความสามารถของเด็กไม่ได้ กฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมายวันยังค่ำ ความเป็นเด็ก ต้องได้รับการดูแลตามสิทธิพื้นฐานที่ควรได้รับ งานนี้มีผลกระทบหลายอย่าง ผมในฐานะที่อยู่เบื้อหลังคนหนึ่งก็ ขอบอกไว้ให้ปรากฏในสังคมแห่งการเรียนรู้นี้ว่า จุดเกิดเหตุมันอยู่ที่นี่เอง นะครับ

ไหมคะ

ลองทบทวนขั้นตอนจากปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือน้องหม่องหน่อยค่ะ ในคราวนี้ ขั้นตอนที่ ตม. เปลี่ยนไป ใช่ไหมคะ

น่าจะทำ chart สำหรับการขออนุญาตออกนอกพื้นที่ด้วยนะคะ

ถึงวันนี้ แผนผังของอาจารย์ไหม "กิติวรญา รัตนมณี" ก็ได้ช่วยให้บุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร และหรือบุคคลไร้สัญชาติ ได้ออกไปประกาศความสามารถว่า บุคคลเหล่านี้ อยู่อาศัยในประเทศไทย และได้ใช้ศักยภาพตามความสามารถที่ได้รับการเพาะบ่ม มีองค์ความรู้และใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งยังได้โอกาสในการนำเสนอสิ่งที่เก่งฉกาจในผู้ฅนทั้งโลกได้ทราบ จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ และเดินทางกลับประเทศไทยอย่างเต็มภาคภุมิ ทั้งๆ ที่บุคคลนั้นๆ ยังไม่มีสัญชาติไทย ตัวอย่างล่าสุด คือ หัวหน้าวงโยธวาทิตของโรงเรียนสวนลุมพินี สังกัดกรุงเทพมหานคร และน้องสาวที่เป็นนักดนตรีในวง ก็เป็นบุคคลไร้สัญชาติด้วย แม้ว่าในความเป็นจริงหากพยายามสืบค้นกันอย่างละเอียดแล้ว อาจจะเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมายแล้ว แต่อาจจะยังติดขัดอยู่ในบางเรื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างการเรียกร้องและพิจารณาของหน่วยงานรับผิดชอบที่ต้องเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วม หากจะศึกษาเพิ่มเติมก็สืบค้นได้จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 เข้าที่ http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-1.jsp

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท