หน้าที่ กับ ความรับผิดชอบของรองผู้อำนวยการ


คนที่ปวดหัวก็หนีไม่พ้นรองผู้อำนวยการ นอกจากต้องใช้กลเม็ดเด็ดพราย ลูกล่อลูกชน ให้ลูกน้องทำงานสนองนโยบาย ขณะเดียวกันก็ถูกตำหนิจากผู้อำนวยการว่า เรื่องที่มอบหมายทำไมไม่คืบหน้าเลย

     การบริหารแบบไม่บริหาร

     ผมรู้สึกกระอักกระอ่วนใจไม่น้อยเมื่อขอความเห็นจากเจ้านายในเรื่องที่ต้องรีบตัดสินใจ เพราะหากชักช้าก็จะเสียหาย แต่เจ้านายกลับทำเหมือนไม่ได้ยิน พูดไปเรื่องอื่นที่ไม่ค่อยจะเกี่ยวข้อง และไม่ค่อยสำคัญเร่งด่วน ครั้นผมจะชวนท่านกลับมาสู่ประเด็น ผมก็รู้สึกเกรงใจท่าน ได้แต่คาดเดาไปต่างๆนานาว่า เจ้านายอาจไม่อยากตัดสินใจ อาจต้องการให้เราตัดสินใจไปเลย หรืออาจจะคิดในใจว่า มันมาเป็นรองผู้อำนวยการทำไมนะ เรื่องแค่นี้ทำตื่นเต้นไปได้ ไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านประสบปัญหาแบบผมหรือเปล่า

     เพื่อนผมที่เป็นเพื่อนนักบริหารด้วยกันหงุดหงิดจนแกล้งประชดท่าน ด้วยการไม่พูดถึงเรื่องที่หารือเจ้านายอีกเลย  ปล่อยให้ปัญหามันเกิดขึ้นมา ปล่อยให้ท่านวิ่งแก้ปัญหาเมื่อถึงกำหนด แม้ว่าบางครั้งผมจะรู้สึกไม่ค่อยดีแต่ก็เห็นใจเพื่อนเหมือนกัน คนเป็นรองผู้อำนวยการไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจใดๆเลย หากผู้อำนวยการไม่มอบอำนาจให้ แต่ดูเหมือนความรับผิดชอบกลับเป็นตรงกันข้าม เมื่อลูกน้องดื้อ ไม่ยอมทำตามนโยบายผู้อำนวยการ คนที่ปวดหัวก็หนีไม่พ้นรองผู้อำนวยการ นอกจากต้องใช้กลเม็ดเด็ดพราย ลูกล่อลูกชน ให้ลูกน้องทำงานสนองนโยบาย ขณะเดียวกันก็ถูกตำหนิจากผู้อำนวยการว่า เรื่องที่มอบหมายทำไมไม่คืบหน้าเลย ไม่เอาไหนเสียเลย

     เทคนิคการบริหารแบบนี้ผมแก้ไขด้วยการใช้เทคนิค"การบริหารเจ้านาย" แกล้งทำเป็นไม่รู้สึก แล้วค่อยหาโอกาสพูดใหม่ในจังหวะที่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็ประสานงานกับน้องๆที่เป็นระดับปฏิบัติให้เตรียมดำเนินการล่วงหน้าไปพลางก่อนตราบเท่าที่จะสามารถทำได้ แม้จะเสี่ยงที่น้องๆอาจจะไม่พอใจหากมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกทางหนึ่ง หรือเจ้านายตัดสินใจตรงกันข้าม ก็ต้องขอโทษขอโพยกันไป วิธีการแบบนี้โอกาสจะเกิดความเสียหายก็น้อยลง

...แต่ความรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ก็เอามาเป็นบทเรียนและบททดสอบ การเป็นนักบริหารและนักประสานงานที่ดีต่อไป...

คำสำคัญ (Tags): #การประสานงาน
หมายเลขบันทึก: 216818เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • มาทักทาย
  • ท่านรองหายไปนานมากๆๆ
  • จำผมได้ไหมเนี่ย
  • อิอิๆๆๆๆ

เรียนท่านdreamer

มาพบบทความที่ท่านเขียนโดยบังเอิญ ...รู้สึกถุฏใจมากๆๆเพราะตรงกับสถานการณ์ที่ตัวเองประสบอยู่ที่ตำแหน่งที่ดูเหมือนมีอำนาจแต่ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นเลย... กับความรู้สึกที่ยากจะบรรยายและคงไม่มีใครเข้าใจคนที่อยู่ตำแหน่งรอง เท่ากับคนเป็นรอง...จริงมั้ยท่าน

เป็นรองใหม่ครับ ป้ายแดงมาก เริ่มทำงานได้ 1 สัปดาห์แล้ว ยังไม่ได้รับมอบงานหน้าที่อะไรเลย วันนี้ ผอ.ถาทว่าเคยสอนวิชาอะไรจะให้เจ้าหน้าที่จัดให้ทำนองนี้แหละ ก็เล่นเอางงเหมือนกัน มาเป็นรองหรือครูผู้สอนกัน ไม่ใช่ว่าสอนไม่ได้แต่อุตสาห์ไปเล่าเรียน อบรม ฝึกการเป็นผู้บริหารตั้งนานสองนาน ใครเข้าใจผิดกันแน่

มีปัญหาเหมือนกันอยากให้ท่านรองทั้งหลายทั้งใหม่และผ่านประสบการณ์มาแล้วร่วมแชร์ความคิดหรือข้อเสนอแนะหน่อยคะ

    คือเข้ารายงานตัวรับตำแหน่งแล้วได้ 2สัปดาห์แต่ยังไม่ได้รับคำสั่งอย่างเป็นทางการ เพียงแต่เอ่ยให้ไปช่วยแก้ปัญหาสอนแทนครูขาก แต่จริงๆไม่ขาดเพราะมีครูที่ได้สอนน้อยชั่วโมงมากและหลายคน  รวมทั้งสั่งให้รับหน้าที่ฝ่ายปกครองซึ่งไม่น่าจะตรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งทั้งที่เป็นงานของครูฝ่ายบริหารทั่วไป ให้ดูแลน่าจะใช่มากกว่า  ยยังไงฝากเรียนถามท่านรองทั้งหลายช่วยเสนอแนะหน่อยว่าควรจะทำอย่างไรดี
                      ขอบคุณคะ

แสงจันทร์

วันแรกที่เดินทางรับตำแหน่ง การต้อบรับอบอุ่นมากค่ะ วันที่สองได้รับมอบหมายงานบริหารงบประมาณและบริหารงานบุคคล แต่เนื่องจากโรงเรียนที่ไปดำรงตำแหน่งนี้เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่มีรองแล้วสองคน รวมเป็นสามคน แต่ก็ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ก็คงต้องรอการมอบหมายงานจากรองคนเดิมก่อน จึงจะลงมือทำงานได้

เพ็ญจันทร์ ภูมิเทศ

การจะเป็นรองผู้อำนวยการนั้น  หากได้รับการเข้าสอน  ควรเข้าสอน เพราะผู้บริหาร อย่างน้อย สอนได้ไม่เกิน 15 คามนะคะ ส่วนการรอรับงานจาก ผอ. นั้นถูกต้องแล้ว ต้องดูว่ารับผิดชอบด้านไหน ก็ตรงตามนั้น ดูการพรรณางานก็ได้นะคะา

ปัญหาหลักมี 3 ส่วน ในความคิดผม1. ความเข้าใจในขอบข่าย หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของรองฯเพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีหากมีความเข้าใจ เรียนรู้ ปรับใช้ แต่บางบริบทแต่ละสถานศึกษาขอบข่ายฯ อาจไม่เหมือนกันในหลายๆ งาน ฉะนั้นท่านที่มีประสบการณ์จากที่หนึ่ง อาจนำมาใช้กับอีกที่หนึ่งไม่ได้หรือลำบาก ในการบริหารงานและตัดสินใจได้2. ความตระหนักของระดับนโยบาย(ผอ.) กับงานรองฯเพราะส่วนที่ช่วยให้การบริหารงานรองฯ จะพัฒนาได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่จะแปรผันกับความมุ่งหมาย ใส่ใจ ทุ่มเทของระดับนโยบายเช่นกัน ที่จะเป็นแรงผลักดัน แรงสนับสนุน ให้รองฯ ดำเนินงานได้ตรง แต่ถ้ามิใช่จะยากยิ่ง3. วัฒนธรรมองค์กร หน่วยงานเพราะทิศทางวัฒนธรรมองค์กร หน่วยงาน ก็มีผลทางอ้อมในการดำเนินงานเช่นกัน ซึ่งทุกคนมีส่วนในวัฒนธรรมองค์กร หน่วยงาน เป็นผลต่อการขับเคลื่อน- สุดท้าย ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ที่มีผลต่อการบริหาร ตัดสินใจ ของรองฯ ไม่มากก็น้อย แต่สิ่งที่รองฯ และทุกๆ คนต้องมีคือ ความเป็นธรรม ความถูกต้อง และยุติธรรม ในการบริหารงานเสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท