แก๊สน้ำตา


แก๊สน้ำตา

แก๊สน้ำตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 
ตำรวจปราบจลาจลยิงแก๊สน้ำตา
 

แก๊สน้ำตา (อังกฤษ: lachrymatory agent หรือ tear gas) เป็นอาวุธประเภทก่อกวนโดยมักใช้ในการปราบจลาจล เพื่อสลายการชุนนุม โดยทำให้มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา (conjuntiva) และแก้วตาดำ (cornea) ทำให้มีน้ำตาไหลออกมาก เยื่อบุตาจะแดงและแก้วตาดำจะบวม ตามองไม่เห็น น้ำมูก น้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่จะหาย

เอง ในไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง[1] การใช้งานมีทั้งการยิงจากปืนยิงแก๊สน้ำตา และใช้แบบระเบิดขว้าง

 

ในประเทศไทยโดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ได้วิจัยทำลูกระเบิดขว้างแก๊สน้ำตา มีระยะเวลาการเกิดควัน 50 วินาที ครอบคลุมพื้นที่ 150 ตารางเมตร [2]

ส่วนประกอบ

สารที่ใช้เป็นแก๊สน้ำตามีโดยลักษณะเป็นฝุ่นผงหลายแบบเช่น แก๊ส CS (chlorobenzylidenemalononitrile), แก๊ส CN (chloroacetophenone), แก๊ส CR (Dibenzoxazepine) และ สเปรย์พริกไทย

การเป็นพิษ

ถ้ามีการสูดหายใจแก๊สน้ำตาเข้าไป จะทำให้มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก หลอดลมและปอด ทำให้ มีอาการไอและจาม ถ้าเป็นมากอาจถึงหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบได้ [3] การสัมผัสดวงตาและผิวหนัง มีผลให้เกิดการไหม้และระคายเคืองทันทีตามบริเวณที่สัมผัสกับแก๊สน้ำตา อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสแก๊สน้ำตา ได้แก่

  • น้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด ตาแดง
  • น้ำมูกไหล จมูกบวมแดง
  • ปากไหม้และระคายเคือง กลืนลำบาก น้ำลายไหลย้อย
  • แน่นหน้าอก ไอ รู้สึกอึดอัด หายใจมีเสียงดัง หายใจถี่
  • ผิวหนังไหม้ เป็นผื่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน

โดยปกติแล้ว หลังจากออกมาจากบริเวณที่มีแก๊สน้ำตาและทำความสะอาดร่างกายแล้ว อาการที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ประมาณ 30-60 นาที เท่านั้น ถ้าสัมผัสแก๊สน้ำตาเป็นเวลานานๆ เช่น มากกว่า 1 ชั่วโมง หรือได้รับสัมผัสปริมาณมากๆ ในพื้นที่อับอากาศ อาจส่งผลกระทบร้ายแรงได้ เช่น ตาบอด ต้อหิน ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตเนื่องจากสารเคมีจะไหม้ลำคอและปอด

ที่มา :  http://www.aksorn.com

หมายเลขบันทึก: 216804เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท