ใช้แมลงหางหนีบปราบหนอนกออ้อยได้ดีที่ตาคลี


แมลงหางหนีบ

ใช้แมลงหางหนีบปราบหนอนกออ้อยได้ผลดีที่ตาคลี

ที่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ มีโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ดังนั้น จึงมีเกษตรกรที่ให้ความสนใจปลูกอ้อยกันมากยิ่งขึ้น หนอนกออ้อย เป็นศัตรูอ้อยที่สามารถทำความเสียหายได้ในวงกว้างมาโดยตลอด จึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิต แมลงหางหนีบเพื่อช่วยกำจัดหนอนกอดังกล่าว แมลงหางหนีบเป็นตัวห้ำชนิดหนึ่งที่ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะกัดกินไข่ หนอน และตัวเต็มวัยของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งในพืชผักและพืชไร่ หนอนเจาะฝักและต้นข้าวโพด หนอนเจาะยอดและลำต้นอ้อย เป็นต้น การเพาะเลี้ยงแมลงหางหนีบ เป็นการเพิ่มปริมาณแมลงหางหนีบ ซึ่งเป็นตัวห้ำของหนอนกออ้อย จำเป็นที่จะต้องมีการผลิตขยายเพิ่มเติมในธรรมชาติด้วยการเพาะเลี้ยง ซึ่งมีวิธีการ คือ
ผสมดินร่วนกับเศษใบพืช เช่นใบอ้อย ใบถั่ว จากนั้นนำดินที่ผสมแล้วใส่ในกล่องหรือกะละมัง ให้ดินสูงประมาณ 2 –
นิ้ว พ่นน้ำให้ดินมีความชื้น 

โดยสังเกตุจากการกำดินในอุ้งมือ จะไม่จับติดกันเป็นก้อนแน่น ปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมลงหางหนีบลงไป ประมาณ 50 คู่ นำอาหาร เช่น เพลี้ยอ่อน ไข่แมลงหรืออาหารแมวบดวางไว้บนผิวดินในภาชนะ นำสำลีชุบน้ำให้เปียกวางไว้บนผิวดิน เพื่อให้ความชื้นและแมลงดูดกิน นำผ้าตาข่ายที่มีซิปปิดคลุมภาชนะหรือถ้าเป็นกล่องพลาสติกให้ทำช่องระบายอากาศโดยใช้ตาข่ายหรือลวดตะแกรงแบบตาถี่  เปลี่ยนถ่ายอาหารทุกๆ 3- 7 วัน และเพิ่มความชื้นในดินอย่างต่อเนื่อง โดยสังเกตอย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์แล้ว จนวางไข่และออกเป็นตัวอ่อนวัยที่ 3 อายุ 40–50 วัน จึงแยกตัวแมลงหางหนีบปล่อยในแปลงอ้อยหรือใช้ในการเพาะเลี้ยงต่อไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ นายปริญญา เชียงทา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สนง.เกษตรอำเภอตาคลี จ.นครสวรรค์ เปิดเผยว่า โทร. 056-261997 หรือ 056-264259

           

คำสำคัญ (Tags): #แมลงหางหนีบ
หมายเลขบันทึก: 216645เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พื้นที่น่าจะมีมากกว่านี้ บทความรวมรัดเกินไป ความรู้ถ้าจะให้ควรให้ให้ละเอียด คนเข้าใจยากยังหลงเหลืออยู่นะครับ ขอขอบคุณถ้าละเอียดอีกสักนิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท