สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร


ท้องถิ่นกับการจัดการสุขภาพ

ข้อเสนอเชิงนโยบาย  การจัดการสุขภาพของท้องถิ่น  จังหวัดชุมพร

๑. ความเป็นมา

                การเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูประบบสุขภาพ  เกิดขึ้นหลังจากการประกาศใช้  รัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ.  ๒๕๔๐  และริเริ่มให้มีการจัดเวทีสมัชชาสุขภาพ  ตั้งแต่ ปี  พ.ศ.  ๒๕๔๔  พร้อมการสร้างการเรียนรู้ทางสังคมและการผลักดันเชิงนโยบายสุขภาพ  จนกระทั่งได้มี  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๕๐        ในส่วนจังหวัดชุมพรนั้นทางคณะทำงานประชาสังคมจังหวัดชุมพรได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย  เคลื่อนไหว  รณรงค์  สร้างกระบวนการเรียนรู้ระบบสุขภาพแบบองค์รวม  จวบจนในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุข  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ  จัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพประเด็น  การจัดการสุขภาพของท้องถิ่น          ทั้งในระดับพื้นที่ท้องถิ่นและระดับจังหวัด                  

๒. คำนิยาม  : มาตรา  ๓  แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ  ๒๕๕๐    ที่บัญญัติไว้ว่า

                " สุขภาพ "  ( หรือ สุขภาวะ ) หมายความว่า  ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย  ทางจิต  ทางปัญญา  และทางสังคม  เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล

"   สมัชชาสุขภาพ  "    หมายความว่า กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่

เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนนรู้อย่างสมานฉันท์  เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ  หรือความมีสุขภาพของประชาชนโดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและอย่างมีส่วนร่วม

๓. กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องต่อการจัดการสุขภาพของท้องถิ่น

๓.๑  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๕๐  มาตรา ๓ , มาตรา  ๔๐

๓.๒ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พศ.  ๒๕๔๒    :  อำนาจและหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เรื่องการส่งเสริมดูแลสุขภาพของประชาชนในเขตท้องถิ่นของตน

๓.๓    พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ. ๒๕๓๗ ( แก้ไขเพิ่มเติม  ฉบับที่  ๕  พ.ศ. ๒๕๔๖ )  ปรากฎใน มาตรา  ๖๖ ,๖๗ ,๖๘  ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลในด้าน  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  ขององค์การบริหารส่วนตำบล 

๓.๔  พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๕  มาตรา  ๔๗  เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่  โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น  ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่  โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน

จากข้อบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ  ข้างต้น  จะเห็นได้ว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จำเป็นต้องมีบทบาทและต้องสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการสุขภาพ  ในท้องถิ่นของตน

 

๔. สถานการณ์การจัดการสุขภาพของท้องถิ่นในจังหวัดชุมพร

                ๔.๑  การจัดการสุขภาพของประชาชน   นั้นได้มีประชาชนส่วนหนึ่งที่ดำเนินการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ   อาทิ  เช่น  การรณรงค์ป้องกันโรคของ อสม. , การใช้สมุนไพรพื้นบ้านของภูมิปัญญาท้องถิ่น , การแพทย์แผนไทยที่ได้ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่  การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม  การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ  เป็นต้นดังนั้นจึงมีเพียงคนกลุ่มน้อยของสังคมที่รู้และเข้าใจต่อการจัดการสุขภาพ  สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพของตน  ของครอบครัว  และชุมชน ไปในแนวทางทางที่ดีและถูกต้อง     แต่ยังมีผู้คนส่วนใหญ่ของสังคมที่ขาดความรู้ความเข้าใจต่อการจัดการสุขภาพ  ติดกับวังวลกระแสบริโภคนิยมหรือการรู้ไม่เท่าทันสถานการณ์   เช่น  อาหารฟาสฟูด , น้ำอัดลม เป็นต้น

                การปฏิบัติการนำร่องการสร้างสุขภาวะเชิงพื้นที่ ของโครงการดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้ผ่านกิจกรรมพัฒนายกระดับแหล่งเรียนรู้ชุมชน  การเสริมศักยภาพแกนนำ  การจัดทำแผนสุขภาวะ  และพัฒนากลไกการทำงานของตำบล  ในพื้นที่ห้าตำบลได้แก่ ต.นากระตาม ,ต.ตะโก ,ตะพะโต๊ะ ,ต.นาขา และ ต.ละแม  ซึ่งมีตัวอย่างรูปธรรมการดำเนินงานการจัดการสุขภาพทางสังคม

                การจัดกระบวนการเรียนรู้  ผ่านเวทีประชาธิปไตยชุมชน การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์จัดการสุขภาพ ผ่านเวที mapping สุขภาพ หรือ เวทีสมัชชาสุขภาพ และการสังเคราะห์บทเรียนองค์ความรู้ในการจัดการสุขภาพ  อาทิ  สร้างสุขที่นากระตาม , ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองหลังสวน , ขับเคลื่อนสุขภาวะท้องถิ่นละแม

เป็นต้น  ซึ่งจะใช้เป็นฐานในการขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพของท้องถิ่น          

                ๔.๒  การจัดการสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  นั้นมีการดำเนินการที่เป็นกรณีศึกษาดังนี้

                กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่  ของจังหวัดชุมพร  ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการกองทุนฯ แล้ว จำนวน  ๑๔  อปท. และ สมัครเข้าร่วมในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  จำนวน  ๑๖ อปท. และจากการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ  พบว่า  ๑) บทบาทในการบริหารจัดการกองทุนส่วนใหญ่ยังอยู่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสถานีอนามัย  ประชาชนที่เข้าร่วมเป็นกรรมการยังมีบทบาทน้อยถึงไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ๒) การดำเนินงานของกองทุนฯ ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดทิศทาง เป้าหมายแผนงานการจัดการสุขภาพอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับภาวะสุขภาพในท้องถิ่น  และบางพื้นที่ใช้งบประมาณโดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาพ  ๓) ความตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารท้องถิ่นต่อการดำเนินงานของกองทุนฯ หรือการจัดการสุขภาพท้องถิ่น  ซึ่งส่วนใหญ่ผู้บริหารท้องถิ่นยังไม่ให้ความสำคัญหรือมีทัศนคติเป็นเพียงภารกิจเสริม  ๔) การรับรู้เข้าใจและการเข้าถึงกองทุนสุขภาพฯ ของประชาชนยังอยู่ในวงจำกัด   เป็นต้น  แต่จากการปฏิบัติการเสริมหนุนการดำเนินงานกองทุนฯ  โดยใช้การพัฒนาทักษะแกนนำ  การจัดการความรู้  การใช้แผนที่ยุทธศาสตร์จัดการสุขภาพ  การใช้แผนสุขภาวะ  เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และการดำเนินงาน  พบว่า  การดำเนินงานของกองทุนฯ มีทิศทางที่ถูกต้องตรงเป้าหมายที่วางไว้และสอดคล้องกับภาวะการณ์สุขภาพของท้องถิ่น  และได้สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสุขภาพ

                การจัดบริการสุขภาพ หรือ งานด้านสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เช่น การจัดซื้อเครื่องมือคุรุภัณฑ์ให้แก่สถานนีอนามัย , การฉีดพ่นวัคซีน , การสนับสนุน อสม. เป็นต้น แต่เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการใช้งบประมาณด้านอื่น ๆ  การบริการสุขภาพยังอยู่ในเกณฑ์  ๕ - ๑๐  %  ของงบประมาณที่ใช้ไปแต่ละปี   และโครงการส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ตอบสนองการเสริมสร้างสุขภาพแก่ประชาชนอย่างแท้จริง

                ๔.๓  การจัดการสุขภาพของรัฐ  และสถานบริการสาธารณสุข

                การดำเนินงานจัดบริการสุขภาพของภาครัฐหรือ สถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดชุมพรทั้งภาครัฐและเอกชน  มีทั้งหมด  ๒๓๒  แห่ง  จำนวนประชากรจังหวัดชุมพร 482,251  คน แต่อัตราส่วนบุคลากรทางสาธารณสุขในจังหวัด  ยังมีจำนวนน้อยกว่าสองเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราส่วนในระดับประเทศ  เช่น  จำนวนแพทย์ของจังหวัดชุมพร 1: 6445  คน / ระดับประเทศจำนวนแพทย์ 1:3305  คน  ,พยาบาลวิชาชีพของจังหวัดชุมพร  1:714 คน เป็นต้น  ซึ่งส่งผลให้การเข้าถึงการบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานและเท่าเทียมกันของประชาชนนั้นเกิดขึ้นได้ยาก  แม้นว่าจะมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มขึ้นของประชาชนในจังหวัด  ต่อปี  จำนวน 12.83  ต่อประชากรพันคน   และภาวะการเจ็บป่วยและตายของประชาชนในจังหวัด  จากโรคระบบหายใจและโรคความดันโลหิตสูง  และตายด้วยโรคมะเร็ง  โรคระบบหายใจ โรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดตีบในสมอง  ภาวะการเกิดโรคต่าง ๆ เหล่านี้มาจากสาเหตุของพฤติกรรมการการบริโภคของประชาชนและระบบอาหารที่ริโภคเป็นปัจจัยหลัก

ฉะนั้นการจัดการสุขภาพจึงมิควรเป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มิใช่หน้าที่บุคลากรทางสาธารณสุข หรือ บุคลากรท้องถิ่น หรือ ของประชาชน แต่ทุกฝ่ายต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาระบบการจัดการสุขภาพไปพร้อม ๆ  กัน  จึงจะทำให้เกิดระบบจัดการสุขภาพที่พึงประสงค์

 

๕.  ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการจัดการสุขภาพของท้องถิ่น

  •  ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะต่อระดับประชาชน / ชุมชน / สังคม

 

๑. ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชุมชน อาทิ เช่น การจัดระบบข้อมูลสุขภาวะของชุมชน , การจัดกระบวนการเรียนรู้สุขภาวะชุมชน , การจัดให้มีศูนย์เรียนรู้ หรือ แหล่งเรียนรู้ ของชุมชน , การจัดทำแผนสุขภาวะ , การรณรงค์เผยแพร่ความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม , การเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิของการคุ้มครองผู้บริโภค

๒. ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพที่ถูกต้อง เช่น การบริโภคอาหารเป็นยา , การลด ละ เลิก อาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ อาทิ อาหารรสหวานหรือเค็มจัด อาหารที่ทอดด้วยน้ำมันใช้แล้วซ้ำหลายครั้ง การสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา

๓. ควรมีการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะสุขภาพของตน เช่น การตรวจคัดกรองเบาหวาน ,ตรวจวัดความดัน , ตรวจมะเร็งปากมดลูก , ตรวจสายตา ฯลฯ

๔. ควรเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีศักดิ์ศรีและรู้เท่าทันในการจัดการสุขภาพกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ สถานบริการสุขภาพ ในระดับต่าง ๆ

๕. ควรจัดระบบการจัดการสุขภาพภายในชุมชน เช่น จัดให้มีระบบสวัสดิการในชุมชน ( กองทุนสวัสดิการวันละบาท , กองทุนสวัสดิการจากดอกผลของกองทุนการเงิน ) กองทุนการช่วยเหลือ หรือ ดูแล ผู้ด้อยโอกาส เด็ก คนชรา สตรี , กองทุนสิ่งแวดล้อม , กองทุนสุขภาพ

 

  • ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๑. อปท. ควรจัดทำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพและการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และการกำหนดนโยบายสาธารณะจัดการสุขภาพ และการจัดทำแผนสุขภาวะ หรือ แผนที่ยุทธศาสตร์จัดการสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น

๒. อปท. ควรส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่ประชาชนในการจัดการสุขภาพ หรือการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการสุขภาพ และส่งเสริมสนับสนุนการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

๓. อปท. ควรจัดให้มีการดำเนินงานจัดการสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน อาทิ เช่น กองทุนสุขภาพ หรือ กองทุนหลักประกันสุขภาพ และ กองทุนสวัสดิการตำบล และกองทุนสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

๔. อปท. ควรเร่งผลิตและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสุขภาพ และรองรับการถ่ายโอนภารกิจงานสาธารณสุข (ถ่ายโอนสถานีอนามัย) เช่น การสนับสนุนการผลิตพยาบาลชุมชนโดยการให้ทุนในการศึกษา , การเพิ่มทักษะบุคลากรทางสุขภาพในท้องถิ่น

๕. อปท. ควรออกระเบียบ ข้อบังคับที่เอื้อต่อการจัดการสุขภาพและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  เช่น  มีเทศบัญญัติท้องถิ่น  ในการควบคุม  กำกับ  ดูแล  ป้องกัน  การจัดการสุขภาพท้องถิ่น (  ความสะอาดเรียบร้อยของตลาดสด / อาหารที่ปลอดภัย )   , กำหนดมาตรการห้ามจำหน่ายสินค้าที่เสี่ยง  และ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ , การกำกับ ควบคุม

 

........พร้อมกันนี้ผมได้แนบไฟล์บทเรียนสร้างสุขภาวะเชิงพื้นที่ ของจังหวัดชุมพรไว้สองพื้นที่ตำบล  เชิญอ่านและคอมเมนต์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาต่อไปครับ  ขอขอบคุณอย่างยิ่ง ....

 

...........................................................................................................................................................

คำสำคัญ (Tags): #social chumphon
หมายเลขบันทึก: 216615เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 01:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาติดตามความเคลื่อนไหวครับผม

ขอบคุณครับ

รักคนพิมพ์

เกียดคนอ่าน

คนหน้าด้าน

อ่านอยู่ได้

คนชัยนาทคับ to in the โก๋ทรู

อายกให้คนเข้ามากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

นง ชั้น ทรง อึ่ง

โก๋ทรู 3/2ผมเก๋ามีไรปะ

ถ้ามีปัญหาโทมมา 0811155222

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท