มาตรฐานการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Standard)


ทำอย่างไรดีเมื่อห้องสมุดต้องรับบทบาทด้านการพัฒนาการรู้สารสนเทศของนักศึกษา

5 มาตรฐานการรู้สารสนเทศกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

 

 

การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาเป็นการเรียนที่ผู้เรียนมีการเรียนรู้ด้วยและมีการเรียนรู้แสวงหาด้วยตนเอง ..... ห้องสมุดจึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญที่อำนวยความสะดวกในการใช้สารสนเทศในการเรียนการสอน ตลอดจนการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการรวบรวม จัดบริการและชี้แหล่งทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า   การที่ผู้เรียนจะสามารถใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องมีทักษะด้านการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ภารกิจด้านการส่งเสริมการรู้สารสนเทศจึงเป็นบทบาทหนึ่งที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน

การรู้สารสนเทศ หมายถึง ความรู้ความสามารถของบุคคลในการระบุความต้องการสารสนเทศของตนเองได้ มีความสามารถในการค้นหา ประเมินคุณค่า และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ (American Library Association, 1989) มีคำศัพท์ใช้หลากหลายคำ เช่น Information skills แต่คำที่นิมยมใช้คือ Information Literacy -IL ซึ่งยังไม่มีการบัญญํติคคำศัพท์ภาษาไทยใช้ในปัจจุบัน การรู้สารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของสารสนเทศทั้งในด้านปริมาณ รูปแบบและเนื้อหา ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้การจัดเก็บ การเผยแพร่ และการค้นคืนสารสนเทศทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น หากผู้ใช้สารสนเทศหรือผู้เรียนไม่สามารถกลั่นกรองหรือสืบค้นสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการได้แล้ว นับเป็นความล้มเหลวในการใช้สารสนเทศ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาอาจจะส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนได้ จึงทำให้บทบาทด้านการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศเป็นหน้าที่ของห้องสมุดที่ไม่สามารถปฏิเสธได้  ซึ่งในการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศในนักศึกษาจะสำเร็จได้ด้วยดีเมื่อได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย เช่น อาจารย์ผู้สอน และผู้บริหาร เพื่อเอื้อหรืออำนวยเวลา หรือกำหนดเป็นนโยบายที่สามารถทำให้ห้องสมุดทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการรู้สารสนเทศได้อย่างเต็มที่

 

ในการรู้สารสนเทศได้มีหน่วยงานทางวิชาชีพจากภูมิภาคต่างๆ กำหนดมาตรฐานขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานในการพัฒนาทักษะด้านการรู้สารสนเทศ เช่น

- สมาคมห้องสมุดห้องสมุดวิทยาลัยและวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (Association of College and Research Library-ACRL, 2000) ได้กำหนดมาตรฐานความสามารถในการรู้สารสนเทศและตัวบ่งชี้ในระดับอุดมศึกษา 5 มาตรฐาน เพื่อเป็นการประกันและรับรองว่านักศึกษาและบัณฑิตที่เป็นผลผลิตจากสถาบันการศึกษาจะเป็นผู้รู้สารสนเทศ

- คณะกรรมการบรรณารักษ์อุดมศึกษาของประเทศออสเตรเลีย กำหนดให้มี The Australain Information Literacy Standards และร่วมมือกับประเทศนิวซีแลนด์ในการกำหนด Australian and New Zealand Information Literacy Framwork-ANZIL ประกอบด้วยมาตรฐาน 6 มาตรฐาน  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการเรียนการสอนและการประเมินการรู้สารสนเทศในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ชุติมา สัจจานันท์, 2550 ; จุมพจน์ วนิชกุล, 2550 ; นงเยาว์ เปรมกมลเนตร, 2550)

- Society of College, National and University Libraries ในประเทสอังกฤษ พัฒนามาตรฐานการรู้สารสนเทศ 7 มาตรฐานขึ้นภายใต้ชื่อ Seven Pillars of Information Literacy

 

ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาอยู่แล้ว เช่น การนำชมห้องสมุด (Library Tour)  ปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด (Library Orientation) การสอนวิธีการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม (Bibliographic instruction) การฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูล (Training on Database Searching) การสอนทักษะการใช้ห้องสมุด (Library skills instruction) การสอนให้ใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม (Plagiarism) แต่ยังพบว่าการรู้สารสนเทศของนักศึกษายังอยู่ในระดับปานกลาง เช่น

-                          ปภาดา เจียวก๊ก, 2547 พบว่าระดับการรู้สารสนเทศโดยรวมของนิสิตระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรตอยู่ในระดับปานกลาง และนักศึกษาที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกัน มีความรู้สารสนเทศโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

-                          สุพิศ บายคายคม, 2550 พบว่าระดับการรู้สารสนเทศโดยรวมของนิสิตระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ชั้นปีที่ 1-4 อยู่ในระดับปานกลาง

 

-                           ศิวราช ราชพัฒน์, 2547 ศึกษาการสอนการรู้สารสนเทศทางเว็บไซต์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 17 แห่งในสหรัฐเมริกา ออสเตรเลีย และฮ่องกง พบว่ามีเพียงร้อยละ 29.41 ที่มีการสอนการรู้สารสนเทศครบ 5 มาตรฐานตามเกณฑ์ของ ACRL และ ALA

 

ข้อมูลดังกล่าวทำให้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต้องหันมามองเป้าหมายของห้องสมุดตนเองว่าจะสามารถพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้รู้สารสนเทศได้อย่างไร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับแผนงานและการบริหารจัดการในด้านต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนที่ดีจากอาจารย์ผู้สอน ผู้บริหารของห้องสมุด ผู้บริหารของคณะวิชา และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของการวัดการรู้สารสนเทศ หากไม่มีเกรด....และเรื่องของห้องสมุดยังเป็นเรื่องที่เรียนรู้ตามอัธยาศัยแล้วหล่ะก็  นักศึกษาอาจไม่ผ่านเกณฑ์การรู้สารสนเทศก็เป็นได้....หากสถาบันอุดมศึกษาใดไม่แคร์ก็ไม่เป็นไร ถือเป็นเรื่องของนโยบาย....

แต่หากเล่นเรื่อง IL แล้ว ไม่ควรมองเฉพาะแค่กิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศที่สร้างขึ้น แต่ควรมองถึงวิธีการวัดการรู้สารสนเทศว่า จะวัดเมื่อใด จะวัดกับนักศึกษากลุ่มใด...ปี 4 หรือปี 3 ควรมีการวัดความรู้ก่อนได้รับการส่งเสริมการรู้สารสนเทศหรือไม่  ใครเป็นผู้รับผิดชอบเนื้อหาของการวัด และจะทำอย่างไรให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศของห้องสมุดได 

สำหรับมาตรฐานของสมาคมห้องสมุดห้องสมุดวิทยาลัยและวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (ACRL) นั้น ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ได้แก่

มาตรฐานที่ 1 นักศึกษาสามารถกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างชัดเจน

มาตรฐานที่ 2 นักศึกษาสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

มาตรฐานที่ 3 นักศึกษาสามารถประเมินสารสนเทศและแหล่งที่ผลิตสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาน รวมทั้งสามารถบูรณาการสารสนเทศที่คัดเลือกแล้วเข้ากับระบบฐานความณู้และค่านิยมของตนเองได้

มาตรฐานที่ 4 นักศึกษาในฐานะบุคคลและสมาชิกของกลุ่มต่างๆ สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มาตรฐานที่ 5 นักศึกษามีความเข้าใจในประเด็นด้านเศรษฐกิจ กฏหมาย และสังคมที่แวดล้อมสารสนเทศรวมทั้งผลที่เกิดจากการใช้และเข้าถึงสารสนเทศอย่างถูกต้องทางจริยธรรมและกฏหมาย

เพื่อให้นักศึกษามีระดับการรู้สารสนเทศที่เพิ่มขึ้น....ห้องสมุดควรจะทำอย่างไรดี

 บรรณานุกรม 

American Library Association.  (1989).  President committee on information literacy final report.  Chicago: American Library Association. 

หมายเลขบันทึก: 216315เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2008 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ได้ความรู้มากเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

สวัสดีค่ะคุณปณิตา

ดีใจค่ะที่บันทึกของตัวเองมีประโยชน์บ้าง...

บางอย่างก็เรียนรู้มาจากแหล่งๆต่างๆ ซึ่งนำมาใช้ประกอบการทำงาน

เลยนำมาฝากบน G2K ซึ่งตนเองจะได้ใช้ค้นคว้าภายหลัง...

และสิริพรก็ได้เรียนรู้เรื่องราวหลากหลายจาก G2K

อย่างงี้ต้อง G2K จงเจิรญ

สวัสดีค่ะ ผอ.ประจักษ์

ขอบคุณที่แวะมาเป็นกำลังใจนะคะ

ขอบคุณมากคะที่มีข้อมูล พอดีแวะมาหาเรื่อง Information literacy ประกอบกาเรียน ป.โท ที่ ม.รามคำแหงคะ

ดีใจค่ะ ที่คุณติ๊กกี้ได้นำไปใช้ประโยชน์

เป็นกำลังในการเรียนนะคะ

ดีใจค่ะที่มีบรรณารักษ์ด้วยกันมาเยี่ยมชม

ก่อนที่จะมาเป็นครูบรรณารักษ์

ดิฉันก็เป็นบรรณารักษ์อยู่ที่

สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา เช่นกันค่ะ

มีอะไรแนะนำมาบ้างนะคะ

ตอนนี้ก็สอนวิชาการใช้ห้องสมุดค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จัก P

จุฑามาศ ปานคีรี เพื่อนบรรณารักษ์อีกคนค่ะ
จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโอกาสต่อไป
ว่างๆ คุยกันใหม่นะคะ

ข้อมูลมีประโยชน์มากเลยค่ะ

ดีใจค่ะที่ข้อมูลที่เก็บไว้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น

ตนเองก้อได้เข้ามาใช้ประโยชน์อยู่บ่อยครั้ง

อย่างนี้ต้องยกความดีให้ G2K ในฐานะ Free access

บรรณานุกรมไม่ถูกต้องค่ะ

ลองเช็คกับต้นฉบับนะคะ

ขอบคุณคำแนะนำจากคุณปราณีค่ะ

น่าอายจัง...

กำลังพยายามจะวางแผนการสอนใหม่ โดยเอาทักษะด้าน information literacy เข้ามาผสมผสานครับ ผ่านมาเจอบันทึกนี้ เลยต้องขอขอบพระคุณ เป็นประโยชน์มากครับ

เรียนคุณแว้บ

ดีใจค่ะที่ข้อมูลเป้นประโยชน์ต่อผู้อื่นบ้าง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท