การฝึกงานวันที่ 29 มีนาคม 2549


การใช้ Mambo จัดการกับ Homepage

-การติดตั้งระบบ CMS ด้วยโปรแกรม Mambo มี 2 แนวทางคือ

  • ติดตั้งแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ web server โดยตรง
  • ติดตั้งแบบไว้ใน home ของผู้ใช้

ในที่นี้ได้ติดตั้งแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ web server โดยตรง

-ศึกษาการติดตั้ง mambo ต่อด้วยตนเอง โดยศึกษารายละเอียดตามเอกสาร ftp://mambo.psu.ac.th/mambo/manual/mambo_research_pr.pdf

-Mambo เป็นโปรแกรมประเภท CMS = Content Management System หรือ ระบบการจัดการขอมูล เนื้อหา ขาวสารตางๆ

-ใน Mambo จะมี Template หรือรูปแบบสำเร็จรูปมาให้แล้ว แต่สามารถทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ได้ ตามต้องการ โดยการไปโหลด Template เพิ่มเติม ซึ่งในการติดตั้ง Template นั้น จะต้องใช้ไฟล์ที่เป็นนามสกุล .zip

-ในการใช้ Mambo จะต้องใช้การติดต่อฐานข้อมูลกับ My SQL ซึ่งจะเป็นตัวสำหรับเก็บข้อมูล เช่น เก็บ Template ซึ่ง Template ประกอบด้วยรูปภาพเล็ก ๆ หลาย ๆ รูปมาประกอบกันกลายเป็นภาพใหญ่ เป็นต้น

-ในการใช้งาน Mambo จะสะดวกสบายกว่าการทำ Homepage ด้วย Dreamweaver เนื่องจากใน Mambo เป็นการทำงานแบบสำเร็จรูปแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำงานกับ Code แต่ใน Dreamweaver จะต้องทำงานในส่วนที่เป็น Code และส่วนที่เป็นหน้าตาของเว็บด้วย จึงทำให้มีการใช้งานที่ยุ่งยากกว่ามาก

-Mambo มี Template มากมายให้เลือก ซึ่งทำให้มีความหลากหลายสำหรับหน้าตาของเว็บเพจ เปรียบเสมือนหน้ากากที่มีหลายอัน แต่เนื้อหาภายในของแต่ละ Template ก็ยังคงเหมือนเดิม แม้ว่าจะมีหน้าตาของเว็บไม่เหมือนกัน แต่ เนื้อหาภายในก็ยังมีเท่าเดิม

-สวนประกอบหลักในแตละTemplateไดแก Modules, Components และ Mambots

  • Modules คือ สวนที่เป็นเมนูอยู่ดานซ้ายและขวา ของหน้าWebpage
  • Components คือ สวนที่อยูตรงกลาง ของหน้าWebpage
  • Mambots คือ สวนที่มีลักษณะเหมือนโปรแกรม word ใชเขียนเนื้อหา ใสรูปภาพ หรือทําตาราง

-หลักการทำงานของ Mambo จะมีทั้งรูปแบบ Frontend และ Backend

  • Frontend คือ เบื้องหนา (เป็นหน้า Homepage)
  • Backend คือ เบื้องหลัง (เป็นหน้าของ Admin)

-สามารถทำการปรับแต่ง ลบหรือเพิ่ม Module, Components และ Contents ได้ตามต้องการ

-ในการ login เข้าไปแก้ไข webpage ที่สร้างขึ้นจากการใช้ Mambo นั้นสามารถทำได้โดยการใช้รหัส login ของ Administrator (ระดับ root)

-สะดวกในการแก้ไข เนื่องจากสามารถ login ไปแก้ไข webpage ได้โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่อง server สามารถทำการ login แก้ไข ที่ใดก็ได้ แต่จะต้องทำการแก้ไขปัญหาเรื่อง IP ของเครื่องเสียก่อน

-สามารถศึกษา Mambo เพิ่มเติมได้ที่



คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21571เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2006 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท