กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา 49 : KM


เป้าหมายหลักของการนำ KM มาใช้ในมหาวิทยาลัยนเรศวร คือ เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายโดยการพัฒนาคนในองค์กรให้มีความรู้ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและพอเพียงในการปฏิบัติงาน

     ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ  ได้จัดทำคำอธิบายตัวชี้วัด เป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนนตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2549   ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้มีการประชุมเพื่อเตรียมการในการจัดเตรียมข้อมูลเป็นระยะๆ ดิฉันจึงได้ขอนำรายละเอียดต่างๆ ในกรอบการประเมินฯ มาเสนอให้กับทุกท่านโดยจะขอเน้นที่ประเด็นด้านการจัดการความรู้  ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2549 ซึ่งหลังจากนี้ดิฉันไม่แน่ใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดอีกบ้างหรือไม่ ซึ่งก็จะต้องคอยติดตามกันต่อไป  โดยประเด็นการประเมินฯ แบ่งออกเป็น 4 มิติ ได้แก่

     มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ  ประเด็นการประเมิน  คือ
     -  ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ

     มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ  ประเด็นการประเมิน  คือ
     -  คุณภาพการให้บริการ
     -  การมีส่วนร่วมของประชาชน
     -  การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์ (Professional Ethics)

     มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ  ประเด็นการประเมิน  คือ
     ตัวชี้วัดภาคบังคับ
     -  การบริหารงบประมาณ
     -  การประหยัดพลังงาน
     -  การลดระยะเวลาการให้บริการ
     ตัวชี้วัดเลือก (1 ตัวชี้วัด)
     -  การประหยัดงบประมาณ
     -  การจัดทำต้นทุนต่อหน่วย

     มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร  ประเด็นการประเมิน  คือ
     ตัวชี้วัดภาคบังคับ
     -  การจัดการความรู้
     -  การจัดการสารสนเทศ
     ตัวชี้วัดเลือก (2 ตัวชี้วัด)
     -  การบริหารการเปลี่ยนแปลง
     -  การบริหารจัดการองค์กร
     -  การบริหารความเสี่ยง
     -  การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล

     สำหรับในมิติที่  4  มิติด้านการพัฒนาองค์กร  ซึ่งมีประเด็นการประเมินซึ่งเป็นภาคบังคับประกอบด้วยประเด็น  “การจัดการความรู้”  ตัวชี้วัดคือ  ระดับความสำเร็จของแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์  โดยเกณฑ์การให้คะแนนเป็นการกำหนดระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ  โดยพิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับ  ดังนี้

     ระดับคะแนน 1  ทบทวนและจัดทำแผนการจัดการความรู้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
     ระดับคะแนน 2  มีการดำเนินการตามแผนและเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายของแผนงาน
                          ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
     ระดับคะแนน 3  มีการดำเนินการตามแผนและเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายของแผนงาน
                          ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
     ระดับคะแนน 4  มีการติดตามประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงานตามแผน
     ระดับคะแนน 5  มีการนำผลการประเมินไปปรับใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้
                          ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนงานปกติ  และปรับปรุงแผนการจัดการความรู้

     โดยทาง ก.พ.ร. กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งแผนการจัดการความรู้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549  พร้อมกับรายงานผลการปฏิบัติราชการรอบ 6 เดือน ในวันที่ 30 เมษายน 2549 โดยทางก.พ.ร. ระบุให้แผนดังกล่าวจะต้องผ่านที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยก่อนที่จะนำส่งให้กับก.พ.ร. ตามกำหนดต่อไป

     ถึงแม้ว่าเป้าหมายหลักของการนำ KM มาใช้ในมหาวิทยาลัยนเรศวร คือ เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายโดยการพัฒนาคนในองค์กรให้มีความรู้ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและพอเพียงในการปฏิบัติงาน  ตามที่ท่านอาจารย์วิบูลย์ได้เคยเขียนรายละเอียดไว้ใน บทความบนเส้นทาง KM ใน ม.นเรศวร ซึ่งเราชาวมน.ได้ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินกิจกรรมมาในระยะหนึ่งจนเห็นผลในระดับหนึ่งแล้วนั้น  การประเมินที่ได้กล่าวมาข้างต้นอาจเป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นที่จะทำให้เราดำเนินการด้าน KM อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 21486เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2006 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • รับทราบครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท