วิจัย


ผู้ป่วยระยะสุดท้าย

จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เสียชิวิตส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลชุมชน 30 เตียง ที่ดิฉันปฏิบัติงานอยู่พบว่า ใน 3 ปีย้อนหลังปี 48-50 มีผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งหมด 49 ราย เป็นผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้าย 43ราย ทั้งที่ refer กลับจากโรงพยาบาลศุนย์ และมาจากบ้าน หรืออื่นๆ ทบทวนย้อนหลังพบว่าผู้ป่วยและญาติส่วนใหญ่ไม่ให้นวดหัวใจไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ (เซ็น NR ตั้งแต่แรกๆของการ Admit)ส่วนใหญ่จะนอนประมาณ5-6วันก็เสียชีวิต หรือวันเดียวก็มีค่ะ ส่วนอยู่นานเป็นเดอนมี 2ราย ทบทวนดูระบบไม่มีระบบการดูแลที่ชัดเจน การดูแลก็เหมือนคนไข้ทั่วๆไป และพบว่าผู้ที่ NR มักถูกปล่อยปละละเลยทั้งแพทย์ และพยาบาลเอง(NR no care)แต่พอเริ่มมีการศึกษาเรื่องนี้กันมากขึ้นส่งไปอบรม ประชุมวิชาการต่างๆ การดูแลก็เริ่มดูแลเรื่องกาย จิตมากขึ้น ค้นหาปัญหาหรือความต้องการของผู้ป่วย แนะนำญาติเรื่องการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้

แต่พบว่า จนท. ทุกคนในตึกผู้ป่วยใน(ซึ่ง จนท.ที่ผ่านการอบรมได้แลกเปลี่ยนให้เพื่อนๆฟังแล้ว)บางคนไม่เห็นความสำคัญ บางคนไม่กล้า บางคนไปแล้วผู้ป่วยญาติไม่พอใจมีข้อร้องเรียน หรือบางคนไม่ทำเลยโยนให้เพื่อนที่ไปอบรมทำ

เราจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร

ถ้าดิฉันอยากทำเป็นวิจัย ควรตั้งโจทย์วิจัยว่าอย่างไรดีคะ 

 

คำสำคัญ (Tags): #โจทย์วิจัย
หมายเลขบันทึก: 214279เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2008 04:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อรุณสวัสดิ์ ครับ คุณ peang

เท่าที่เล่ามา ผมมองว่า ตอนนี้ บรรดาผู้ดูแลในหลายลำดับ ตั้งแต่ แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วย หรือ ญาติ ต่างก็ตีความไปต่างๆ นานา

NR หมายถึง No care จึงหรือ

เพราะเราแปลความหมายว่า No care เราเลยปล่อยคนไข้ ตามยถากรรม

แต่ถ้าเราแปล NR ว่า เป็นการดูแลอย่างถึงที่สุด และลดการใช้หัตกรรมทางการแพทย์ให้น้อยที่สุด อันนี้ก็จะสอดคล้องกับ เจตนารมย์ ของวิชาชีพพยาบาลที่ว่า ดูแลคนไข้จนถึงวาระสุดท้าย เพือให้เขาตายอย่างสมศักดิ์ศรี

ทำไมผมยกเรืองนี้มาพูด เพราะ การให้การดูแลของพยาบาล เป็นไปตามความเชือ หรือ การให้ความหมายของกิจกรรมการดูแล ถ้าเราเข้าใจเป็นแบบแรก เราก็จะปล่อยคนไข้ไปตามยถากรรม แต่ถ้าเราเข้าใจความหมายของ NR แบบที่สอง เราก็จะดูแลอีกแบบ

ผมเข้าใจว่า NR ไม่น่าจะหมายถึงการดูแลโดยไม่ใช้หัตการเท่านั้น แต่น่าจะหมายความถึง การดูแลคนไข้ให้เข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบด้วย

สรุป ประเด็นการวิจัย น่าจะเป็นเรือง การศึกษาการให้ความหมายของผู้แล ต่อความว่า NR โดยทำเป็นลักษณะของ Phenomenology study น่าจะดี เพราะใช้กลุ่มตัวอย่างไม่มาก

ผลการวิจัย จะช่วยให้เราเข้าใจ ความนึกคิดของพยาบาล ทำให้เรารู้ช่องว่างที่จะพัฒนาทัศนคติของผู้ดูแล และเกิดกระบวนทัศน์ใหม่ๆ ในการดูแล ครับ

ขอบคุณมากๆนะคะ

แล้วเรื่องการวางระบบการดูแลทำก่อนหรือหลังหรือควบคู่กันไปดีคะ

คุณ peang

ผมว่าอย่าเพิ่งใจร้อนครับ ระบบการดูแลใดๆ ก็ไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าเราไม่เข้าใจธรรมชาิตของปัญหา ธรรมชาิติของการดูแล เราต้องศึกษาสภาพจริงๆ ในการทำงาน (การรับรู้ วิธีการปฏิบัิติเดิมๆ ปัญหาคืออะไร อะไรคือสิ่งที่พยาบาลยังไม่รู้ ฯลฯ) เสียก่อน ถึงจะมาคิดว่า จะวางระบบอย่างไร จะอบรมอย่างไร

ถ้าสนใจ ผมคิดว่า น่าจะเล่นประเด็นนี้ จริงๆ จังๆ ทำวิจัย ศึกษาปัญหาสักสองเรือง ทำวิจัย intervention สักหนึี่งเรือง หรือทำวิจัยแบบ single case สักรายสองราย

คิดว่า พื้นฐานขนาดนี้น่าจะเพียงพอ สำหรับนำเสนอวิชาการ ทำเอกสารขอผลงาน ตลอดจนการเตรียมตัวสอบของ APN ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท