(คิด)เป็นระบบหรือไม่เป็นระบบ...อย่างไร?


ระบบ (System) คือ อะไร ๆ ที่มากกว่า 1 อย่าง มาอยู่รวมกันเป็นองค์ประกอบ (Componant) หรือถูกพิจารณารวมกันภายใต้ขอบเขตที่กำหนด (Boundary) และสิ่งเหล่านั้นต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (Relation)

     ดูคิดเป็นระบบดีนี่! หรือ คุณนี่! คิดอะไรไม่ค่อยเป็นระบบเลย  เคยได้ยินประโยคที่ยกมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ แล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง เอาเป็นว่าบันทึกนี้ไม่ขอกล่าวถึงในประเด็นความรู้สึกนั้นครับ แต่จะกล่าวถึงที่ว่า “เป็นระบบหรือไม่เป็นระบบ...เป็นอย่างไร?” เอาประเด็นนี้ดีกว่าด้วย แล้วจะเชื่อมโยงไปยังประโยคที่ยกมาได้เองในภายหลัง

     เป็นระบบ (System) โดยสามัญสำนึก (Common Sense) น่าจะหมายถึงอะไร ๆ ที่มากกว่า 1 อย่าง มาอยู่รวมกันเป็นองค์ประกอบ (Componant) หรือถูกพิจารณารวมกันภายใต้ขอบเขตที่กำหนด (Boundary) และสิ่งเหล่านั้นต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (Relation) ซึ่งหากไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันก็จะถูกเรียกว่าเป็นเพียงกลุ่มหรือกอง (Heap) ฉะนั้นเมื่อจะกล่าวถึงระบบ (System) ก็จะต้องพิจารณาใน 3 ประเด็นหลัก คือ

          - ขอบเขต (Boundary) คืออะไร แค่ไหน เช่น ระบบสุขภาพจังหวัดพัทลุง ขอบเขตที่ว่าคือ อะไร ๆ หลาย ๆ อย่าง ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ของคนในจังหวัดพัทลุง

          - อะไร ๆ ที่มากกว่า 1 อย่าง ซึ่งเรียกว่าองค์ประกอบ (Componant) ที่อยู่รวมกันภายใต้ขอบเขตที่กำหนด (Boundary) ข้างต้น หากพิจารณาตามตัวอย่างข้างต้นก็จะหมายถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น ตัวคน สถานบริการ บุคลากรสุขภาพ การเงินการคลังสุขภาพ หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นต้น

          - ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (Relation) ของอะไร ๆ ที่มีมากกว่า 1 อย่าง หรือองค์ประกอบ (Componant) ภายใต้ขอบเขตที่กำหนด (Boundary) ขึ้นตามข้างต้น หากพิจารณาตามตัวอย่างที่ยกขึ้นไว้ในประเด็นก่อนหน้า สิ่งเหล่านั้นก็จะต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เชื่อมโยงถึงกัน

     กรณีที่ไม่เป็นระบบจะอย่างไร ก็เอาเป็นว่าขาดอย่างใด อย่างหนึ่งไป อาทิไม่มีขอบเขตที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจน มีอะไร ๆ ที่ว่าอยู่เพียงอย่างเดียว หรือสิ่งที่มีอยู่นั้นขาดความเชื่อมโยง ไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อย่างนี้จะไม่เป็นระบบ ข้อสังเกตที่จะบอกว่าอะไรเป็นระบบหรือไม่เป็นระบบ เอาง่าย ๆ คือระบบจะแบ่งย่อยได้ แต่ไม่มีลักษณะที่เป็นเหมือนเดิม พูดง่าย ๆ ก็คือหากจะดูว่าเหมือนเดิม หรือให้ผลลัพธ์เหมือนเดิมอีกไหม แล้วลองแบ่งแยกออกดู เมื่อแบ่งแยกย่อยแล้วไม่เหมือนเดิม อันนี้เป็นระบบ (System) แต่หากแบ่งแล้วยังเหมือนเดิมอันนี้จะเป็นเพียงกลุ่มหรือกอง (Heap)

     แล้วที่บอกว่าคิดเป็นระบบคืออะไร นี่สิโค้งกลับเข้าสู่หัวเรื่องที่ตั้งไว้ ในทัศนะผมคือการคิดคำนึงถึงองค์ประกอบทุกอย่างในขอบเขตที่กำหนดให้ครอบคลุม ครบถ้วน จากนั้นก็มาพิจารณาที่ความเกี่ยวข้อสัมพันธ์กันแม้จะหลบแอบอยู่ก็ต้องมองให้เห็นพิจารณาให้หมด ทั้งทางตรงทางอ้อม อันนี้ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ด้วย แต่ก็ใช่ว่าจะเริ่มต้นไม่ได้ดีเสียทีเดียว คิดว่าขบวนการกลุ่มจะช่วยได้มาก ช่วยกันคิด ช่วยกันพิจารณาครับ

     การคิดเป็นระบบไม่จำเป็นต้องคิดคนเดียวครับ “กลุ่ม” “ทีม” หรือ “เครือข่าย” จะช่วยได้เยอะมาก วิธีการหนึ่งที่จะทำให้การร่วมกันคิดและพิจารณาเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และเป็นระบบ คือ การ ลปรร. อย่างไม่ค่อยเป็นทางการ เป็นอิสระ ให้เกียรติกัน จะออกมาได้ดีมาก ตัวอย่างมีให้เห็นอย่างเด่นชัด เมื่อชาวบ้านและภาคีร่วม ในโครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน ได้ลงมือทำ ผลได้ออกน่าไม่น่าเชื่อเสมอ ไม่ลองไม่รู้ครับ (และขอติดค้างไว้เรื่องการวิเคราะห์ระบบ หรือ System Analysis จะตกผลึกเขียนอีกครั้งในประเด็น “เมื่อวิเคราะห์ระบบแล้วควรจะต้องสังเคราะห์เสียด้วย...ทำไม” ไว้ตอนต่อไปนะครับ)

     จริง ๆ แล้วเรื่องนี้มีการพูดถึงกันบ่อยมาก (คิด)เป็นระบบหรือไม่เป็นระบบ...อย่างไร? และไม่ค่อยเห็นคำอธิบายที่สั้น ๆ เท่าใดนัก จะพบก็เป็นอะไรที่ยาว ๆ เป็นเล่ม ๆ หนา ๆ ผมลองเอามาเล่าให้สั้น ๆ ตามที่เข้าใจ และอยากได้การเติมเต็มจริง ๆ ว่ามีมุมมองอย่างอื่นอีกไหมครับ ขอเชิญได้ ร่วม ลปรร.กัน

หมายเลขบันทึก: 21417เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โห! พี่ ไอ้ที่ผมว่าเข้าใจยาก ๆ นี่ไฉนหายงง เอาง่าย ๆ ดื้อ ๆ เลย ขอบคุณพี่มากครับผม

คุณชายขอบ

คำเฉลยของน้องเดม
ถือว่าเป็นความคิด...เชิงระบบ..

ตามบันทึกข้างต้น..มั๊ยคะ..

     ดีใจจังหากน้อง DN เอ get ได้

     Dr.Ka-poom ครับ ผมว่ามองเป็นเชิงระบบได้นะครับ ขอบเขตประเด็นคือ การเกิดของไก่และไข่ 2 สิ่งนี้ อะไรเกิดก่อนกัน และเขาหาความสัมพันธ์ได้ว่าไข่ต้องเกิดจากแม่ไก่ และแม่ไก่ต้องฟัก จึงจะออกเป็นตัว หากไม่มีแม่ไก่ แม้มีไข่ใบแรก ก็จะผิดเงื่อนไขความสัมพันธ์ คือไม่มีใครฟัก ไข่ก็จะเน่า หากไข่ได้รับการฟักก็เป็นไก่ ไก่จะหากินเองได้ ออกไข่ได้ต่อ แล้วฟักไข่ วนรอบไปเรื่อย ๆ

     ลองใช้ทฤษฎีระบบมาจับก็อธิบายได้ Input -->Process -->Outcome ประเด็นคือ ไข่,ไก่ --> หากิน+ฟักไข่ --> ไก่ หรือ ไข่เน่า, ไข่ เมื่อมาถึงตรงนี้ผมเริ่มเชื่อน้องเดมแล้วครับว่า ไก่เกิดก่อนไข่ แล้วทิ้งคำถามวิจัยไว้ว่า "ไก่ตัวแรกเกิดมาได้อย่างไร" (ยิ้ม ๆ เลย)

คุณชายขอบ

           ผมอ่านแล้วเข้าใจดีครับ ผมเองก็สนใจประเด็นนี้อยู่ ประเด็นที่น่าสนใจอีก ก็คือ การสังเคราะห์ ครับ ผมกำลังจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับการสังเคราะห์ เชิงประเด็น กำลังอยู่ในช่วงพิจารณาของ สกว.ครับ หากมีอะไรทึ่คืบหน้า จะนำมาแลกเปลี่ยนกันครับ(ผมกำลังพยาบามคิดเป็นระบบครับ)

     ยินดีครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เกิดเป็นปิติเลยครับ

หากมอง "ไก่" กับ "ไข่ไก่"  อะไรเกิดก่อนกัน ก็น่าจะเป็นไก่ที่เกิดขึ้นมาก่อน อาจจะเกิดจากวิวัฒนาการของสัตว์ที่ใกล้เคียง แล้วสุดท้ายเลยเป็นไก่ หากเราไม่คิดถึงไข่ที่ทำให้เกิดไก่จากวิวัฒนาการ แน่นอนไข่ไก่ก็ไม่มีทางที่จะเกิดก่อนไก่ได้ ด้วยเหตุผลนี้ ไก่ก็น่าจะเกิดก่อนไข่ไก่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท