Oh_hO
นาง ภัทรนันท์ Oh_hO แก่นท้าว

การทำจิตให้ว่าง (2)


เมื่อทำดีมีคนคิดคอยอิจฉา...ค่อนขอดว่านินทาร้ายไร้เหตุผล...ทำอย่างไรก็ไม่สิ้นเล่ห์ลิ้นคน...อย่ากังวลคนอิจฉาถ้ารักงาน...

ารทำจิตให้ว่าง ตอนที่ 2

ลังจากที่ดิฉันและโยคีท่านอื่นๆได้ถือศีล 8 เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น...ก็เริ่มเข้าสู่การปฏิบัติธรรม แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ภาคปฏิบัติวัปัสสนากัมมัฏฐานและการเดินจงกรม ก็ได้มีการทำวัตรเย็น แปล หรือเรียกว่าการสวดมนต์แปลนั่นเองค่ะ อันประกอบด้วย พุทธานุสสะติ (ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า) ,ธัมมานุสสะติ (ระลึกถึงพระคุณของพระธรรมเจ้า) ,สังฆานุสสะติ (ระลึกถึงคุณพระสังฆเจ้า) , โอวาทปาฏิโมกขคาถา ,ขอขมาพ่อแม่ ,พระคุณแม่ ,ระลึกถึงวันเกิด ,คำขอขมาลาโทษพ่อ-แม่ ,สุภาษิตสอนใจ ,เพชรในดวงใจ ,คนใจเพชร ,สูตรของคน ,เรื่องของคน ,คำกลอนสุภาษิต ,อีสานสุภาษิต ...ทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง !

ลังจากนั้นก็เข้าสู่ภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เริ่มต้นด้วย...ารเดินจงกรม คอการเดินกลับไป กลับมา โดยเอาจิตกำหนดไว้ที่เท้า กำหนดจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ประมาณ 30นาที หรือ 1ชั่วโมง แล้วแต่มีเวลามากน้อย ึ่งประโยชน์ของการเดินจงกรม มี 5 อย่าง คือ 1. ทำให้การเดินทางอดทนมาก 2. ทำให้ความพากเพียรดี 3. ทำให้เป็นผู้มีโรคน้อย 4. ทำให้ย่อยอาหารดี 5. ทำให้สมาธิตั้งมั่นอยู่ได้นาน

ารทำสมาธิ คือ การทำให้จิตนิ่งอยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ไม่สัดส่ายไปที่อื่น ไม่คิดถึงเรื่องอื่น โดยการกำหนดจิตไว้ที่ท้อง กำหนดว่า...พองหนอ ถ้าท้องพองขึ้นในขณะหายใจเข้า กำหนดว่า...ยุบหนอ ถ้าท้องยุบลงในขณะหายใจออก ึ่งประโยชน์ของสมาธิมี 8 อย่าง คือ 1. จิตแจ่มใส ใจเบิกบาน 2. ทำงานผิดพลาดน้อยลง 3. ทรงความจำ 4. ทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย 5. คลายความเครียด 6. ไม่เบียดเบียนกัน 7. ศรัทธามั่นในพระรัตนตรัย 8. มีจิตใจเมตตากรุณาต่อสังคม

วกเราใช้เวลาในการทำวัตรเย็น และวิปัสสนากัมมัฏฐาน รวมแล้วราวๆ 4ชั่วโมง ตั้งแต่ 18.00 - 22.00 น. แล้วก็แยกย้ายกันไปนอน โดยแต่ละห้องนอนรวมกันราวๆ 20-30 คนค่ะ ปูเสื่อนอนเรียงกัน คล้ายๆการออกค่ายยุวกาชาด ตอนสมัยเด็กๆ

4.00 น. โยคีทุกคนต้องตื่น ทำกิจวัตรส่วนตัว และพร้อมเพรียงกันที่โบสถ์ในเวลา 4.30 น. ในคืนแรก ดิฉันแทบนอนไม่หลับ อาจเพราะแปลกที่และกลัวตื่นไม่ทัน...ทำให้เช้าวันแรกยังรู้สึกง่วงๆ แต่ก็สดชื่นขึ้นมาทันทีหลังจากอาบน้ำ เพราะอากาศเย็นมาก และยังต้องอาบน้ำเย็น !

4.30 น. ก็เริ่มทำวัตรเช้า และวิปัสสนาฯเช่นที่เคยทำ และได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจาก พระราชธีราจารย์ ...

ในวันหนึ่งๆ พวกเราต้องทำวัตรและวิปัสสนาฯ 4 รอบ ตั้งแต่เช้าตรู่ 4.00-8.00 น. เวลาสายๆ ตั้งแต่ 9.00- 11.00 น. ช่วงบ่าย ตั้งแต่ 13.00 - 17.00 น. และช่วงเย็น

ี่ผ่านมาก็เคยปฏิบัติมาแล้ว 1ครั้ง ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมปลาย อยู่ที่พุทธมนฑล จ.นครปฐม ก็ยังพอจะจำได้บ้าง ...แต่ด้วยการทำงาน ที่นอนไม่เป็นเวลา ทำให้ดิฉันเริ่มห่างหายจากการปฎิบัติ มานาน พอได้มารื้อฟื้นอีกครั้ง เลยทำให้รู้สึกดีขึ้น...ใจเย็นขึ้นกว่าเดิม !

ื่อกล่าวถึงท่าที่นิยมใช้นั่งสมาธิ ซึ่งก็คือ ่าขัดสมาธิเพชร ือเรียกว่า ท่านั่งคู่บัลลังค์ หรือ ท่านั่งพับพนัญเชิง คือ อาขาซ้ายวางลงข้างล่าง เอาขาขวาวางทับข้างบน เอามือซ้ายวางลงข้างล่างบนตัก เอามือขวาวางซ้อนทับลงไปให้หัวแม่มือชนหัวแม่มือ อย่างเช่น พระพุทธรูปปางสมาธิ ตั้งกายให้ตรง ตั้งใบหน้าตรง ดำรงสติให้มั่น ถ้าตรงเกินไปรู้สึกไม่สบายก็ผ่อนหาจนรู้สึกสบายขนาดไหนก็ยึดเอาขนาดนั้น ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อ หลับตาพอปิดสนิท หุบปากปล่อยอารมณ์ว่างทั้งหมด เพื่อเป็นการรวมจิตเอาไว้ไม่ให้ฟุ้งซ่านออกไปทางอื่น ท่านั่งแบบนี้มีลักษณะเหมือนรูปพีระมิดฐานสามเหลี่ยม ...เมื่อก่อนเป็นท่าที่ดิฉันคิดว่านั่งแล้วเมื่อยที่สุด ปวดขา ทรมานมาก แต่หลังจากที่มาปฏิบัติในครั้งนี้ทำให้นั่งแล้วรู้สึกสบายขึ้น อาการปวดในตอนแรก..ก็ให้ภาวะนาว่า วดหนอๆๆ และละทิ้งไป กำหนดที่ท้องตลอดเวลา ทำให้นั่งได้นานขึ้นโดยที่ไม่เปลี่ยนท่านั่งเลยเป็นชั่วโมง !

หรือในขณะที่นั่งอยู่นั้น เกิดได้ยินเสียงใดก็ตามดังขึ้น อย่าเพิ่งเตลิดไปตามเสียงนั้น ! ในภาวะนาว่า ได้ยินหนอๆๆ และละทิ้งไป แล้วกลับมากำหนดที่ท้องเช่นเดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้การวิปัสสนายาวนานขึ้น และสงบมากขึ้นค่ะ !

แม้แต่ความคิดใดๆก็ตาม ที่สามารถเกิดขึ้นในขณะที่เรานั่งอยู่นั้น นั่นหมายถึงจิตเรายังไม่นิ่งพอ...ให้ภาวะนาว่า ดหนอๆๆ และละทิ้งไป , ภาพที่เห็นอาจเป็นแสงสว่างจ้าพุ่งเข้ามาหาเรา แสงสีต่างๆ ภาพต่างๆ เป็นต้น ให้ภาวะนาว่า เห็นหนอๆๆ และละทิ้งไป ... อะไรก็ตามอย่าไปยึดติดกับมันไม่ว่าจะเป็นภาพในอดีต สิ่งที่เคยทำมา เรื่องที่ยังมาไม่ถึง ให้ละทิ้งไป... มีแต่ปัจจุบัน คือ ยุบหนอ พองหนอ !

ขอให้ทุกท่าน..."จงเป็นสุขเถิดๆ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ "....

หมายเลขบันทึก: 214036เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2008 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สาธุ ด้วยค่ะ ได้เรียนรู้เรื่องดีๆ จากบล็อกนี้ค่ะ ขอบคุณนะคะ

เคยมีโอกาสได้ไปศึกษา การนั่ง เดิน สมาธิด้วยค่ะ เป็นประสบการณืที่ดี และสามารถนำมาใช้ในชีวิตได้ตลอด

ส่วนมากจะไปที่วัดอัมพวันค่ะ

การทำสมาธิ เดินจงกรม เป็นเรื่องที่ดีครับ สาธุนะครับ เพราะหาคนรุ่นใหม่รุ่นเก่าทำแบบนี้ไม่ค่อยจะมีแล้ว

สวัสดีค่ะ

- ขอร่วมอนุโมทนาสาธุ กับการทำกรรมดีคะ

ไปที่วัดอัมพวัน ดีมากค่ะ

กิจกรรมคล้ายกับที่เขียนมาเล่าให้ฟังค่ะ วันทั้งวันให้ทำสมาธิ สวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น ถือศีล8

ขอบคุณนะคะ คุณ sarah..ไว้ถ้ามีโอกาสจะไปบ้าง!

ขอบคุณ และจะเป็นกำลังใจให้ค่ะ..คุณบุหงา..

ให้จิตว่างโดยไม่ไปรู้กับสิ่งที่เกิดหรือสิ่งที่มากระทบอารมณ์ ให้สิ่งที่มากระทบดับของมันเองโดยที่ไม่ต้องไปรู้เพราะการรู้คือกรรมไม่ว่าจะรู้ดีหรือรู้ชั่ว แต่การทำมันจะยากตรงที่ไม่ไปรู้กับสิ่งที่เกิดอันนี้สิที่ทำยาก

อนุโมทนาสาูธุครับ

ขอให้เดินในรอยสัมมาทิฏฐินะครับ...

ไม่ต้องไปยึดติดกับการกำหนดไม่ว่าจะพุทโธหรือกำหนดการเดินการนั่งทำจิตให้ไม่มีอะไรมากระทบอารมณ์ให้ได้ จากที่ตัวเราเคยมีอารมณ์มากระดับนี้เราก็จะเบากว่าที่เคยเป็นแต่ทุกอย่างอยู่กับบารมีที่เคยทำมาแต่ชาติก่อนด้วยนี้คือทางฝึกดับขันต์ 5 เพียงแต่อย่าท้อในการทำแล้วก็อย่าทุกข์กับการที่ทำไม่ได้เพราะทุกอย่างไม่จีรัง สุขที่มีก็คือทุกข์ สมบัติที่ได้มาก็คือทุกข์ ให้พิจารณาแล้วฝึกละให้ไม่มีความอยาก ผมไม่รู้ว่าทำจิตว่างจะต้องไปอยู่ระดับไหนแต่ผมใช้ทุกเวลาที่มีอยู่ละทุกอย่างที่เข้ามา ที่เป็นและที่เห็นและที่อยาก ผมใช้ศัพท์ในทางธรรมไม่เป็นแต่ผมรุ้หลักในการดับ

จิตของคนเราไม่มีอะไรแน่นอนวันนี้ว่างโล่งอีกวันฟุ้งซ่าน ทุกสิ่งนี้ให้มันเกิดแต่อย่าไปแตะต้องมันเช่นโกรธ แต่อย่าไปจับมันโดยการก่อกรรมโกรธเค้าแล้วไปกระทำเค้าต่อก็คือกรรม พอเราโกรธตัวโกรธมันจะวิ่งซ่านในตัวเราอาจจะมือสั่นใจสั่นหรืออาจจะมากกว่านั้นถ้าไม่ไปกระทำปล่อยให้มันวิ่งไปแล้วมันก้จะดับเอง ต่อไปมันจะทำอะไรเราไม่ได้เราจะเห้นว่าไม่ว่าทุกอย่างมันเกิดแต่เดี๋ยวมันก็ดับเองโดยที่ไม่ต้องไปรู้กับมัน อธิบายมันง่ายแต่ตอนมันเกิดคุณจะทำยังไงในเมื่อรู้หลักแล้ว

ถ้าคุณคุ้นเคยกับมันแล้วชีวิตประจำวันที่ต้องเจอะเจอกับสิ่งที่ยั่วใจยั่วอารมณ์ยั่วกิเลศก็จะเป็นเรื่องที่ตัวคุณรู้ว่าทุกอย่างไม่จีรังคุณก็ปฏิบัติตัวตามหน้าที่ใช้ชีวิตประจำวันโดยที่ไม่ต้องทุกข์เพราะคุณจะเห็นว่ามันเกิดเดี๋ยวมันก็ดับเองโดยที่ไม่ต้องไปแตะมัน วกเข้าเรื่องธรรมะเมื่อจิตคุณว่างจากทุกอย่างแล้วคุณจะสวดมนต์แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรก็จะมีอนิสงค์หลายเท่าเพราะจิตคุณบริสุทธิ์ อุทิศให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วก็จะได้ถึง7ชั่วโคตรเลยทีเดียว ให้เทวดาๆก็รับรู้ให้เจ้ากรรมนายเวรๆก็รับรู้ เวลาจิตว่างให้กรวดน้ำถึงสิ่งที่คุณนึกถึงด้วยน่ะ จำไว้ว่าไม่ยึดติดกับทุกอย่างไม่ต้องไปรู้กับสิ่งที่เข้ามากระทบไม่ต้องกำหนดลมหายใจแล้วทุกอย่างจะว่างเอง แล้วผมมีอะไรจะมาบอกให้อีกสวัสดี

การยึดติดดีก็ขออธิบายแบบง่ายคือทำบุญแล้วขอ ทำดีกับคนก็ขอทำดีกับสัตว์ก็ขอ ก็คือติดดีนั่นแหละเพราะในความดีก็มีทุกข์ และความสุขในการทำดีก็ไม่จีรัง การทำดีย่าไปจำลืมได้ก็ลืมไปเพราะจะเป็นการติดสัญญา ส่วนการยึดติดชั่วก็คือสิ่งที่เคยทำไว้ไม่ดีไม่ว่ามากหรือน้อยก้ไม่ควรไปยึดเพราะจะทำให้จิตหม่นหมองตายไปก็ไปภพภูมิที่ไม่ดี ไม่ยึดติดชั่วแต่ไม่ใช่การให้ไปทำชั่ว พูดง่ายเดินทางสายกลางไม่ติดดีและติดชั่ว ทำจิตว่างโดยไม่ยึดติดไม่มีสัญญาอย่างเดียว ฝึกทำไว้ให้ได้ตลอดจนกว่าจะตายไม่เสียหายมีแต่ได้ เปรียบกับทางโลภแล้วทำงานซื้อบ้านซื้อรถยากกว่าทำจิตให้ว่างอีก

เมื่อเราเกิดมโนกรรมเราปล่อยให้มันดับเองเพราะมันเกิดถ้าไม่ไปเจตนาที่จะรู้ก็จะไม่เป็นการสานต่อของมโนกรรมที่เราเห็นเพราะถ้าเจตนาที่จะเข้าไปรู้ไปทำมันจะเกิดกรรม เมื่อฝึกใหม่อาจจะมีการเข้าไปพิจารณาก่อน เช่นเมื่อเราเกิดมโนกรรมว่าจะไปเที่ยวก็ต้องมีการดื่มและก็มีการบันเทิงไม่ว่าจะทางด้านไหนก็ตาม กรรมมันก็เริ่มมาจากการนึกแล้วมาต่อที่การดื่มและท้ายสุดที่สถานบันเทิงกี่กรรมแล้วนี่ ในเมื่อเกิดมโนกรรมก็ดับกรรมซะตั้งแต่เกิดเลยไม่ต้องเข้าไปรู้และไปทำมันก็จะไม่เกิดกรรม ใช้ได้ทั้งกรรมที่ดีและกรรมที่ไม่ดี มาถึงกรรมที่ดีก็ในเมื่อทำดีก็ให้ละความพอใจ ดีใจที่ทำความดี เพราะการติดดีก็มีทุกข์ ขอยกตัวอย่างเช่น ชอบการทำบุญทำดีมีคนยกย่องสรรเสริญจิตก็ติดหลงในความพอใจ พอไม่มีใครกล่าวสรรเสริญเหมือนเช่นเคยก็จะรู้สึกหดหู่ท้อใจ ทำไปก็ไม่มีใครเห็นดีเห็นชอบเลย ก็เกิดทุกข์ที่ใจอีก อยู่ระหว่างกลางสุขกับทุกข์เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีเกิดมันก็มีการดับตามกาลเวลาของสรรพสิ่งนั้นๆ

ขอให้ทุกท่านลองไปอ่านของพระอาจารย์ชานนท์ การยอมรับที่มาที่ไปของธรรมชาติ การไม่ยึดมั่นในขันธ์ 5 คือตัวเรา อาการของเรา ความรู้สึกของเรา แล้วเราจะหาทางออกของชีวิตและทางธรรม

การหาความว่างเพื่อความสงบแต่หารู้ไม่ว่าความว่างและความสงบก็ไม่เที่ยงเป็นแค่อาการของขันธ์ 5 ท้ายสุดแล้วใช้สติพิจารณากายไปว่าเราไม่มีเรากายเราก็คือธรรมชาติๆก็ไม่เที่ยง อารมณ์ก็ไม่เที่ยง มันมาได้ตามอาการของขันธ์ 5 เพราะจิตที่ยึดกับขันธ์ 5 ๆยึดจิตใช้สติสมาธิพิจารณาให้ออกไม่เอาขันธ์ 5 ทั้งหมด แต่ตราบใดยังมีกายอยู่คู่กับขันธ์ 5 ก็ต้องรู้จักใช้มันไม่สุขหรือทุกข์กับมัน ยังคำทที่ท่านพระอาจารย์ชานนท์ท่านกล่าวไว้ว่า"การปฎิบัติธรมถ้ายังปฏิบัติได้อยู่ก็คือยังยึดอยู่ เพราะการปฏิบัติที่จริงคือการล้มเหลวๆคือการไม่ยึดติดรูป-นาม ,พอใจ-ไม่พอใจ "

ประสบการณ์นั่งปฏิบัติมา สี่ เดือนก็มีอะไรมากมายตลอดรยะเวลาที่ปฏิบัติตลอดทุก ๆ วัน

ช่วงที่ได้ปฏิบัติที่วัดอัมพวันมาตั่งแต่วันที่ 3 ถึง 9 เดือนสิงหาคม 2553

ช่วง 1 ถึง 6 ก็ปฏิบัติตามปกติที่อาจารย์สอน และก็วันที่ 7 วันนี้แสนทรมานมาก ๆ ก็วันนี้อยากลองของว่าที่ทำมาปฏิบัติจะเป็นอย่างไรบ้าง ก็ เดินครึ่งชม นั่ง2ชมเลยช่วงแรกก็ไม่มีอะไรปวดก็กำหนดไปเรื่อย ๆ มันทรมานมากทั้งปวด รร้อน หนาว เย็น ปวดหัว ขนพอง เดียวก็ตัวใหญ่ ตัวสูง ตัวหดลง เมื่อกำหนดก็หายไป แล้วน้ำตาก็ใหลออกช่วงที่เราอุทิศอุศลช่วงนั่นขนลุกขนฟองออกมาน้ำตา

ก็ออก แอบอิ่มอกอิ่มใจมากเบาสบายมีความสุขมากครับ ตั้งนั้นมาก็ปฏิบัติมาทุกวันครับมีเรื่องเล่าประสบการณ์มากมาย

ก็เล่าให้วันใหม่

ศีล สมาธิ ปัญญา ทาน

ขอขอบคุณมากๆเลยนะคะ

ขออนุโมทนาสาธุด้วยคนนะคะ และจะลองนำไปปฏิบัติค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท