ฮักเมืองน่าน


ทางก้าวเดินที่ยาวไกลของกลุ่มคนทำงานเพื่อสังคมน่าน โดยใช้ประเด็นร่วมว่า "ฮักแผ่นดินถิ่นเกิด"

มูลนิธิฮักเมืองน่าน

 

ฮักเมืองน่านเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มพระสงฆ์กลุ่มชาวบ้านและกลุ่มเยาวชนที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งแต่ละกลุ่มมีพัฒนาการกลุ่มของตนในด้านต่าง ๆ ก่อนที่จะมารวมตัวกันเป็นกลุ่มฮักเมืองน่านในปัจจุบันซึ่งสามารถจำแนกพัฒนาการของกลุ่มออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

                1. ระยะเริ่มต้นก่อตัว ( ก่อนปี 2533 ) โดยกลุ่มแต่ละกลุ่มได้มีการดำเนินงานของตนเองอย่างอิสระในการพัฒนากลุ่มและชุมชนซึ่งพอแยกตามแกนนำ ได้ดังนี้  กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มองค์กรชาวบ้าน กลุ่มลูกหลานชาวบ้าน

                2 .ระยะที่สอง (ระหว่างปี 2533 – 2534 ) หลังจากที่กลุ่มต่าง ๆ ทั้งกลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มชาวบ้าน กลุ่มลูกหลานชาวบ้านได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และร่วมกิจกรรมกันในบางโอกาส จึงเกิดการรวมตัวกันเฉพาะกิจขึ้น เพื่อจัดการบวชป่าชุมชน ขึ้นเป็นครั้งแรกของจังหวัดน่านที่บ้านกิ่วม่วง ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข ในปี 2533 หลังจากนั้นพิธีกรรมบวชป่าเป็นที่สนใจของคนทั่วไป ทั้งในท้องถิ่นและนอกท้องถิ่นมีการติดต่อประสานงานด้านแนวคิดและมีการสนับสนุนเงินทุนต่าง  ๆ เข้ามายังกลุ่มมากมาย กลุ่มจึงเห็นพร้องต้องกันว่าน่าจะมีการตั้งองค์กรขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างอย่างจริงจัง จึงได้ก่อตั้งเป็นองค์กรชื่อว่า กลุ่มฮักเมืองน่านขึ้นมาโดยมีศูนย์ประสานงานอยู่ที่วัดอรัญญาวาส อำเภอเมือง  จังหวัดน่าน ถือว่าเป็นระยะแห่งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่มองค์กรต่าง ๆ 

3.ระยะที่ 3 (ระหว่างปี 2535 – 2536 )

ทางกลุ่มฮักเมืองน่านได้ดำเนินโครงการสืบชะตาแม่น้ำน่านน่าน ณ บริเวณริมแม่น้ำน่าน หน้าค่ายสุริยพงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เพื่อเป็นการเผยแพร่กิจกรรมและส่งเสริมให้ประชาชนมาสนใจร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งนี้ ได้มีการร่วมมือจากลุ่มต่าง ๆ ทั้งพระสงฆ์ ชาวบ้าน รัฐ เอกชน ผลจากโครงการสืบชะตาแม่น้ำน่าน ดังกล่าวได้เกิดองค์กรที่ช่วยในการดูแลแม่น้ำ และรักษาพันธุ์สัตว์น้ำมากขึ้น รวมทั้งกลุ่ม อนุรักษ์ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อีกมากมาย เกิดเครือข่ายกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในกลุ่มฮักเมืองน่านอีกหลายเครือข่าย จนได้ตั้งสำนักงานชั่วคราวของกลุ่มฮักเมืองน่านขึ้นโดยเช่าอาคารสำนักงานมีหน้าที่ประสานงานและเลขานุการของกลุ่มปฏิบัติงานประจำ และรับผิดชอบในการดำเนินงานด้านบริหารจัดการต่าง ๆ ร่วมทั้งมีการจัดโครงสร้างขององค์กรให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

4. ระยะที่ 4 (ปี 2536 – 2538 ) ระยะนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอย่างยิ่งอีกจุดหนึ่งของกลุ่มฮักเมืองน่านหลังจากที่มีสำนักงานและมีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนขึ้นแล้วได้มีการระดมทุนจากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศมาสนับสนุนและบริหารจัดการงานของกลุ่มฮักเมืองน่าน และยังให้การช่วยเหลือด้านงบประมาณแก่กลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ในการดำเนินงานเช่น ด้านการอนุรักษ์ป่า การอนุรักษ์พันธุ์ปลา การเกษตรผสมผสาน การออมทรัพย์ การรวมกลุ่มของเยาวชน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ  รวมทั้งได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันจน

เกิดกิจกรรมสู่ชุมชนมากขึ้น เริ่มมีผู้มาศึกษาดูงานกลุ่มมากขึ้นจนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ถือเป็นการเรียนรู้ข้ามองค์กร

 วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ

 

1.       เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคนเมืองน่านโดไม่แบ่งแยกเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา

2.       เพื่อส่งเสริมให้มีการดำรงรักษาสิ่งแวดล้อม

3.       เพื่อส่งเสริมกระบวบการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น

4.       ดำเนินการเพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือมีส่วนร่วมกับองค์กรการอื่นๆ เพื่อสาธารณะประโยชน์

5.       ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมืองแต่ประการใด

 

เป้าหมายของมูลนิธิฮักเมืองน่าน

 

1.       เพื่ออนุรักษ์ป่าและเพิ่มปริมาณป่า

2.       ฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำและที่พักอาศัยของพืชพรรณ และสัตว์ป่า

3.       อนุรักษ์และปรับปรุงสภาพของดินให้คงสภาพสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

4.       ลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกรและมีรายได้จากกิจกรรมอื่นๆนอกภาคเกษตรด้วย

5.       เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเป้าหมาย

6.       การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามเหมาะสม

7.       ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทสู่เมืองหลวง

8.    เพิ่มบทบาทของกลุ่มสตรี เด็ก และเยาวชน

 

แผนงานหลัก

 

1.       แผนงานด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

2.       แผนงานพัฒนาด้านการเกษตร

3.       แผนงานด้านการพัฒนาอาชีพและธุรกิจชุมชน

4.       แผนงานด้านการป้องกันโรคเอดส์และยาเสพติด

5.       แผนงานด้านศิลปะวัฒนธรรม

6.       แผนงานด้านการเผยแผ่ศาสนาและจริยธรรม

7.       แผนงานด้านเยาวชน

8.       แผนงานด้านการออมทรัพย์

                9. แผนงานด้านสื่อและการรณรงค์

                                                            

 

 

นี่คือแนวคิดของฮักเมืองน่านที่พยายามถ่ายทอดออกไป และพยายามทำมาจนถึงทุกวัน

หมายเลขบันทึก: 213233เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นสิ่งที่ดีมากๆครับกับงานอนุรักษ์ธรรมชาติ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท