การศึกษาทางไกล


การศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลเป็นความพยายามของนักการศึกษาในการที่จะจัดการศึกษาได้แก่ผู้ที่ไม่สามารถจะเข้ารับการศึกษาตามปกติในชั้นเรียนได้ นอกจากนี้แล้วการที่วิทยาการได้ก้าวหน้าไปอย่างมากทำให้ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ดังนั้นการจัดการศึกษาทางไกลจึงมีบทบาทต่อการศึกษาของประเทศเป็นอย่างสูง

10.5.1 ความหมายของการศึกษาทางไกล โฮน์นิชและคณะ (1993:282) ได้ให้ความหมายของการศึกษาทางไกลว่า "เป็นการศึกษาที่มีลักษณะที่ผู้เรียนอยู่ห่างไกลจากผู้สอนโปรแกรมการเรียนได้รับการจัดวางเป็นระบบ มีการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและการสื่อความหมายเป็นไปแบบสองทาง" บอร์ก โฮล์มเบิร์ก (1989:127) กล่าวว่า "หมายถึง การศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนมิได้มาเรียนหรือสอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยระบบสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม" วิจิตร ศรีสอ้าน (2529:5-7) กล่าวว่า "หมายถึงระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอยู่กับบ้านไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ"

10.5.2 ลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกล ระบบการศึกษาทางไกล มีลักษณะของการจัดการศึกษาที่ต่างไปจากระบบการเรียนการสอนโดยปกติ ซึ่งอาจจะสรุปลักษณะที่สำคัญของระบบการศึกษาทางไกลได้ดังนี้
1) ผู้เรียนผู้สอนไม่อยู่ประจันหน้ากัน เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถมาเข้าชั้นเรียน โดยปกติได้ดังนั้น ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองที่บ้าน โดยอาจมาพบผู้สอนในบางเวลา
2) เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิชาและกำหนดเวลาเรียนและกิจกรรมการเรียนของตนเอง
3) สื่อการสอนเป็นสื่อหลักในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะเป็นสื่อหลัก ในการศึกษาทางไกลสื่อหลักจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ เป็นสื่อหลัก

10.5.3 สื่อการสอนกับการศึกษาทางไกล เนื่องจากผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความสำคัญยิ่งสำหรับการศึกษาทางไกล ซึ่งสื่อการสอนที่ใช้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1)สื่อสิ่งพิมพ์
เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ได้แก่ เอกสารตำรา แบบฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนจะอาศัยสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลักเนื่องจากราคาถูก เก็บได้นานและไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบ
2)สื่อโสตทัศนูปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์
นับได้ว่าเป็นสื่อรองจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยในการเสริมความรู้ในกระบวนการเรียนของผู้เรียน โดยอาจจะเป็นการสอนทางโทรทัศน์ เทปเสียงบรรยาย เทปวีดิทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง
3)สื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคม
เนื่องจากการพัฒนาการของอิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการนำเอามาใช้ในการจัดการศึกษาทางไกล โดยใช้ระบบดาวเทียมและท่อใยแก้วนำแสงในการส่งข่าวสารข้อมูล มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

ที่มา  : http://www.nrru.ac.th

หมายเลขบันทึก: 212762เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2008 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามมาดู
  • ลองมาเขียนเรื่องการสอนดูบ้างไหมครับ
  • ขอบคุณครับ

สนใจอยู่นะคะแล้วจะลองฝึกเขียนดูนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท