Oh_hO
นาง ภัทรนันท์ Oh_hO แก่นท้าว

การทำจิตให้ว่าง (1)


ร้อนอากาศร้อนแดดที่แผดจ้า...อาบน้ำท่าน้ำบ่อก็พอหาย...ร้อนกิเลสหันหุนมันวุ่นวาย...เผากายใจให้เร่าร้อนนอนไม่ลง...

การทำจิตให้ว่าง ตอนที่ 1

สวัสดีค่ะ...ทุกท่าน (ที่มาเยี่ยมชม)

นี่เป็นการเขียนบันทึก เป็นครั้งที่ 3 ของดิฉัน ... มีเรื่องดีๆมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

หลายท่านอาจจะเคยมีอาการสับสน วุ่นวายใจ ฟุ้งซ่าน โกรธ หงุดหงิด มีความโลภ ความหลง และอื่นๆ โดยที่ท่านไม่รู้ตัว หรือเรียกว่า ขาดสตินั่นเอง...ซึ่งดิฉันก็เป็นปุถุชนธรรมดา ที่ยังตัดขาดจากกิเลสไม่ได้เช่นกันค่ะ ..และการเขียนบันทึกในครั้งนี้ อาจมีส่วนช่วยดับกิเลส เจริญสติ แด่ท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย...

ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวก่อนนะคะ ดิฉันเป็นพยาบาลวิชาชีพ อยู่แผนกเด็ก รพร.ธาตุพนม ค่ะ...         ย้อนกลับไปเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ดิฉันต้องอยู่เวรเกือบทุกวัน ผู้ป่วยเด็กๆก็เยอะ บอกตามตรงว่าเหนื่อยมากๆค่ะ แต่ด้วยหน้าที่แล้วต้องอดทน และทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด...ดิฉันรอคอยอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ซึ่งก็คือวันหยุดพักผ่อน เป็นเวลา 10 วัน ในใจก็คิดเอาไว้ว่าวันหยุดนี้จะทำอะไรบ้าง ต้องพักผ่อนให้เต็มที่ ...และในขณะนั้นทางโรงพยาบาลได้มีโครงการพัฒนาจิตใจเจ้าหน้าที่ โดยจัดให้มีการปฎิบัติธรรม ณ วัดพระธาตุพนมฯ แบ่งออกเป็น 3 รุ่น ในอาทิตย์ที่ 2,3 และ 4  โดยให้ไปในเย็นวันศุกร์ จนถึงเย็นวันอาทิตย์ ...ในตอนนั้นดิฉันคิดแต่เพียงว่า สองอาทิตย์แรกต้องอยู่เวร และอาทิตย์สุดท้ายก็เป็นวันหยุดพักผ่อน ดิฉันไม่อยากไปเลย

และในวันอาทิตย์ที่ 21 วันหยุดวันแรก ... ดิฉันได้เดินทางไปต่างจังหวัด โดยไม่สนใจที่จะไปเข้าร่วมโครงการเลย เพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบ และความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ตั้งใจว่าจะพักยาวถึงสิ้นเดือน แล้วค่อยกลับไปเริ่มต้นทำงานใหม่...

ดิฉันใช้ชีวิตเรื่อยๆ ในวันหยุด ทำกิจวัตรต่างๆ และกิจกรรมต่างๆที่อยากทำ รวมทั้งการนอน ( นอนเยอะมากค่ะ ) เมื่อเวลาผ่านไปได้ 4 วัน ก็เริ่มมีความรู้สึกเบื่อหน่าย กับเวลาว่าง ( ว่างเกินไป ) พอเข้าสู่วันที่ 5 ความคิดก็แว๊บขึ้นมาว่า ..ต้องกลับไปบวช ! ไม่ใช่เพราะอยากทำตั้งแต่แรกหรอกนะคะ คิดแต่เพียงว่า "ถ้าเราไม่กลับไปบวชจะไม่ผ่านโครงการ" , " นี่เป็นอาทิตย์สุดท้ายแล้วนะ ขี้เกียจไปซ่อมในครั้งต่อไป " ,      " อยู่เฉยๆก็ไม่มีอะไรทำ " คิดไปต่างต่าง นานา ...นี่แหละเค้าเรียกว่าความคิดฟุ้งซ่าน ในตอนนั้นก็ยังไม่รู้ตัวเองหรอกค่ะ ...แต่ก็ตัดสินใจกลับมาบ้านในตอนเย็นวันนั้น

เช้าวันที่ 26 ก็เริ่มจัดเตรียมเสื้อผ้าสีขาว ของใช้ที่จำเป็น และที่ขาดไม่ได้คือโทรศัพท์มือถือ ( ไม่จำเป็นเลย ) แต่เพียงเพราะกิเลสที่มีอยู่ ทำให้ละทิ้งไม่ได้ ...เย็นวันนั้นดิฉันก็เดินทางไปที่วัดพระธาตุพนมฯ ไปสำนักวิปัสสนา ที่ตั้งอยู่ทางด้านหลังวัด ในตอนแรก ก็รู้สึกแปลกใจว่า " ทำไมถึงตั้งอยู่ด้านข้างเมรุ? " แต่ที่แปลกใจอีกอย่างก็คือ ความรู้สึกอัคติต่างๆ ไม่มีเลย ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาที่นี่...ได้เห็นทุกคนนุ่งขาว ห่มขาว นั่งอยู่ในโบสถ์ด้วยใจสงบ โดยมีพระพุทธรูปเป็นองค์พระประธาน เมื่อไปถึงดิฉันก็ได้ทำความเคารพองค์พระประธาน ด้วยการกราบ 3 ครั้ง ( นั่งพับเพียบ )

พอสมาชิกมาพร้อมหน้าพร้อมตากัน พระวิทยากร ก็ได้กล่าวทักทาย และได้ถามว่า "ตั้งแต่เข้ามานั่ง ได้เคารพองค์พระประธานหรือยัง?" ทุกคนก็ได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "เคารพแล้วค่ะ" และพระอาจารย์ก็ได้บอกกลับมาว่า " ทำผิดหมดเลยทุกคน " ดิฉันก็รู้สึกงง และคิดในใจว่า "เราทำอะไรผิด?" และท่านก็ได้บอกมาว่า...การกราบพระที่ถูกต้องนั้นต้องกราบแบบ "เบญจางคประดิษฐ์" และในขณะที่สนทนากับพระนั้น คำลงท้ายถ้าเป็นผู้หญิง ใช้ว่า "เจ้าค่ะ" ถ้าเป็นผู้ชาย ใช้ว่า "ครับผม" ในตอนนั้นดิฉันก็ได้แต่คิดว่า ที่ผ่านมาเราทำผิดตลอด ! มีท่านใดที่เคยทำผิดเหมือนอย่างดิฉันบ้างไหมคะ?

พระอาจารย์ได้เริ่มต้นสอนการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ โดยให้กราบพร้อมกัน ตามขั้นตอน ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้นตอนหลัก คือ อัญชลี ( การพนมมือไว้ระหว่างอก เป็นรูปดอกบัวตูม นิ้วมือไม่กางออก ) วันทา ( การพนมมือจรดศีรษะ นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ) และอภิวาท ( การก้มลงกราบ หน้าผากจรดพื้น ข้อศอกไม่กางออก ) ผู้ชายและผู้หญิง แตกต่างกันที่ท่านั่ง ผู้ชาย เรียกว่า " ท่าเทพบุตร " และผู้หญิง เรียกว่า " ท่าเทพธิดา "

ในเวลา 17.30 น. นพ.มนู ชัยวงค์โรจน์ ผอ.รพร.ธาตุพนม ก็ได้มากล่าวเปิดโครงการ การนั่งวิปัสสนาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกๆพระองค์ ...ย้อนกลับไป ถ้าหากการตัดสินใจของดิฉันผิดพลาด ดิฉันคงไม่ได้มีโอกาสมาปฎิบัติธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจ และถวายเป็นพระราชกุศลฯ คงต้องเสียใจและเสียดายไปตลอด !

หลังจากเสร็จสิ้นพิธีเปิดโครงการ...พระราชธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม เจ้าคณะจังหวัดนครพนม ก็ได้มาทำพิธีอุปสมบทให้ โดยโยคีผู้ปฎิบัติธรรมทั้งหมดนั้น จะต้องรักษา " ศีล 8 "

ซึ่งศีล 8 นั้น แตกต่างจากศีล 5 คือ ศีลข้อที่ 6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือหลังเที่ยงแล้วไป
ศีลข้อที่ 7. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง และ ศีลข้อที่ 8. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย

แต่โยคีผู้ปฎิบัติธรรมนั้น สามารถดื่ม " น้ำสะอาด " และ " น้ำปานะ " ได้ในยามวิกาล ซึ่งน้ำปานะก็คือ น้ำผลไม้ น้ำนมได้แก่ น้ำฟักทอง น้ำถั่วเขียว นมถั่วเหลือง น้ำพุทรา น้ำสำรอง เป็นต้น ...สำหรับท่านใดที่กำลังคิดที่จะปฎิบัติธรรม บางท่านอาจจะกลัวหิว เพราะไม่ได้ทานมือเย็น คงสบายใจได้นะคะ

" โปรดติดตาม ตอนที่ 2 "

 

หมายเลขบันทึก: 212743เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2008 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • มาสาธุๆๆด้วยคน
  • คิดถึงโครงการอบรมเยาวชน
  • อัญชลี วันทา อภิวาท ดีจังเลย
  • รออ่านอีกครับผม
  • มาแนะนำตัว  เป็นคนทำงานเหมือนกันค่ะ
  • ไม่ได้อยู่ ward แล้ว   อยู่คลินิกส่งเสริมสุขภาพ
  • ................
  • บวช  ...ที่ว่า คือ บวชชีพราหมณ์  หรือ บวชโกนศรีษะจริงๆ
  • ถ้าบวชชีพราหมณ์  พี่ก็เคยบวชหลายครั้ง
  • แต่บวชเอง ไม่ใช่เพราะโครงการภาคบังคับ...
  • บวชแล้วสุขใจ  ได้นั่งสมาธิ
  • ใจเบาสบายจริง
  • เป็นอาการของคนอิ่มบุญ
  • หวังว่าน้อง Oh hO  ก็คงรู้สึกเช่นกัน

เจ๋งจัง วันหยุดเข้าวัด

  • ยินดีมาเป็นพี่สาวด้วยคน
  • คืนนี้อยู่เวรดึกเหรอ  คนไข้เยอะไหม
  • แต่ก่อนพี่อยู่ NICU เหนื่อยไปอีกแบบ แบบเครียดๆ
  • ...................
  • ถ้าเราจะตอบที่เขาคอมเม้นท์  ก็ตอบได้เลย
  • ส่วนจะตามไปคุยในบันทึกเขาบ้าง
  • ก็ทำแบบที่น้องโอ๋  ไปหาพี่น่ะถูกต้องแล้ว
  • ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป  เดี๋ยวก็จะมีเพื่อนเอง
  • อย่าลืมว่า  ถ้าเราอยากให้เขาทำอย่างไรกับเรา
  • เราต้องเริ่มให้เขาก่อน
  • แล้วน้องโอ๋   จะพบกัลยาณมิตร ในG2K นี้มากมาย
  • แล้วจะแวะมาเยี่ยมใหม่นะคะ

ขอบคุณนะคะ แล้วจะพยายามทำตามค่ะ

วันนี้หยุดค่ะ เริ่มทำงานเดือนหน้า ^__^

  • มาเยี่ยมค่ะ
  • สบายดีไหม
  • วันนี้เวรอะไร  คนไข้มากหรือเปล่า

ถ้ามีโอกาสก็ไปนะคะ..ดีจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท