พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549


ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และประสงค์จะเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้บังคับ ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป

พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549

มีสาระสำคัญคือกำหนดให้ข้าราชการของราชการส่วนกลาง หรือส่วนภูมิภาคที่ถ่ายโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น และข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุคมศึกษาของรัฐที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญต่อไป

ให้เพิ่มคำนิยาม ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และพนักงานมหาวิทยาลัย สมาชิก กบข. ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549

ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และประสงค์จะเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้บังคับ ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป

ในกรณีสมาชิก ที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ และให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

ให้สมาชิกดังกล่าว ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนโดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดิอนและตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน

ในกรณีที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการบริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สมาชิกซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ ยังคงเป็นมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป

ให้สมาชิกข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการบริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่บำเหน็จดำรงชีพและบำนาญพิเศษให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21257เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้รับความรู้ดีมากค่ะ

และยินดีต้อนรับเข้าร่วมชุมชนค่ะ

ยินดีด้วยครับ ขอรับเข้าร่วมชุมชนเลขานุการ/ผู้อำนวยการ ครับ

  พิชัย เล่งพานิชย์

  • ให้ข้อมูลทันสมัยดีครับ
  • ถามว่า กรณีที่ผู้รับเงินบำนาญ  ขอย้ายที่รับเงินบำนาญ เช่น จาก ม.อ.ปัตตานี  ไปรับที่ สกอ. กรณีเช่นนี้ต้นสังกัดเดิม จะต้องส่งแบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด และแบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยเหลือพิเศษกรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย ให้แก่หน่วยงานที่จ่ายเงินบำนาญที่ใหม่หรือไม่ อย่างไร  หรือถ้าให้เจ้าตัว (ผู้รับเงินบำนาญ) บันทึกแบบหนังสือฯ ดังกล่าวเป็นฉบับใหม่ได้หรือไม่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท