ปัญหาการอบรมจริยศึกษาของผู้บริหารและครูอาจารย์


ธรรมศึกษา

 

 

 

สังคมไทยได้มอบหมายโดยอัตโนมัติและผลักภาระการอบรมสั่งสอนและปลูกฝังคุณธรรมและ

จริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนของชาติให้แก่สถานศึกษาและครูอาจารย์โดยสิ้นเชิง ทั้ง ๆ ที่เด็กและเยาวชนอยู่และสัมผัสกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลต่าง ๆ ในสังคม มากกว่าเวลาที่อยู่ในสถานศึกษาครูอาจารย์ บิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลอื่น ๆ ในสังคม สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติตนอันอาจเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเด็กและเยาวชนก็ได้ แต่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูอาจารย์ ซึ่งเป็นสมาชิกหรือส่วนหนึ่งเหมือนกันไม่อาจจะปฏิบัติ ซึ่งที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งที่เด็กและเยาวชนไม่ควรเห็นเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารสถานศึกษาและครูอาจารย์ที่จะต้องยอมรับดำเนินการอย่างไม่มีทางเลี่ยงอยู่ 2 ประการ คือ

ข้อ 1 การเป็นแบบอย่างที่ดีในความประพฤติและการปฏิบัติ

 

 

นอกเหนือจากการดำเนินการจัดและอบรมสั่งสอนปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ตามแนวทาง 5 ประการ ดังกล่าวแล้ว การควบคุมความประพฤติของนักเรียน ในสถานศึกษาที่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูอาจารย์รับผิดชอบอยู่ นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำความลำบากใจให้เพิ่มขึ้นทุกวันทุกเวลา เพราะสังคมภายนอกสถานศึกษากดดันให้นักเรียน นักศึกษา ประพฤติปฏิบัติไปในทางเสื่อมเสียอย่างไม่หยุดยั้ง แม้นักเรียน นักศึกษาไปประพฤติเสียหาย หรือทำผิดกฎหมายของบ้านเมืองนอกสถานศึกษา บิดามารดาผู้ปกครองบางท่านกลับสนับสนุนส่งเสริมเด็กและเยาวชนของตน แทนที่จะช่วยกำราบห้ามปราม ช่วยสถานศึกษาครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่บ้านเมือง แก้ไขให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นกลับเป็นคนดี โดยใช้หลักการศึกษาและกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งเป็นที่น่าเห็นใจผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ เป็นอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ดี เพื่อความมั่งคงขิงชาติ และสังคมไทย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูอาจารย์ทั้งหลาย จะต้องรับหน้าที่หลักทั้งสองประการนี้ไว้อย่างมั่นคง

ในการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษา ยังมีบริการอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยการจัด และพัฒนา

จริยศึกษาให้บรรลุผลได้ดี คือ บริการแนะแนว สถานศึกษาอาจใช้บริการแนะแนวทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม โดยเฉพาะการแนะแนวเป็นกลุ่ม ถ้าจัดให้เรียบร้อยและแบ่งกลุ่มให้ดีแล้ว สอดแทรกวิชาศีลธรรมลงในบริการแนะแนวได้เป็นอันมาก เพราะนักเรียนนักศึกษาจะได้เรียนรู้ว่า อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำจากกันและกัน สามารถช่วยแก้ความบกพร่องในคุณธรรมและจริยธรรมของกันและกันได้

 

 

ในการจัดและพัฒนาจริยศึกษาในสถานศึกษา มักมีปัญหาอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเสมอ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หรือครูอาจารย์บางท่านพูดว่า ทำไมโรงเรียนโน้นไม่ทำ วิทยาลัยนั้นไม่ทำ ชั้นนั้นไม่ทำ จะให้โรงเรียนนี้ทำ ชั้นนี้ทำอยู่เพียงแต่สถานศึกษาเดียว ชั้นเดียว คนเดียว อาจจะเนื่องมาจากหน้าที่หลักทั้งสองประการดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องยาก และไม่เร้าใจให้มีความกระหายที่จะทำ ผลที่สุด การศึกษา

จริยศึกษาของชาติก็จะล้มเหลว ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่าย ทุกระดับ จะต้องช่วยกันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง กรมหรือส่วนราชการเจ้าของสังกัดสถานศึกษา หรือควบคุมสถานศึกษาก็จะต้องเป็นผู้นำและเอาจริงเอาจังกับการให้สถานศึกษา ดำเนินการจัดและการพัฒนาจริยศึกษาอย่างทั่วถึง และในสถานศึกษาหนึ่ง ๆ ผู้บริหารสถานศึกษาหนึ่ง ๆ ผู้บริหารสถานศึกษาก็จะต้องดำเนินการให้ทุกส่วนและครูอาจารย์ทุกท่าน ดำเนินการเรื่องจริยศึกษาอย่างจริงจังด้วย.

 

ข้อ 2 ดำเนินการจัดอบรมสั่งสอนและปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษาของตน

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 3
หมายเลขบันทึก: 212252เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท