วิธีสอนจริยศึกษา


ธรรมศึกษา

เป็นวิธีการ หรือวิถีทาง หรือกิจกรรม ซึ่งครูอาจารย์ควรได้จัดเตรียมเอา ไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อใช้เป็นทางนำนักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางแห่งการสอนจริยศึกษา ซึ่งได้แก่การเรียนรู้จริยธรรม ดังนั้น วิธีสอนจริยศึกษาที่ดี คือ วิธีสอนที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด ดังนี้

4.1 ลักษณะของวิธีสอนจริยศึกษาโดยทั่วไป อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

ก. วิธีสอนประเภทใช้ครูเป็นศูนย์กลาง เป็นวิธีการที่ครูอาจารย์เป็นผู้จัดและดำเนินการสอนโดยตรง ซึ่งจะเห็นว่า ครูอาจารย์ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากในห้องเรียน และต้องการให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป เพราะเด็กวัยนี้ เริ่มมีการพัฒนาทางสติปัญญา วิธีสอนประเภทนี้ได้แก่ การบรรยาย การถามตอบ การให้การบ้าน การจดบันทึก และการท่องจำ ฯลฯ

ข. วิธีสอนประเภทที่ใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นวิธีการที่ครูอาจารย์ไม่ได้สอนโดยตรง หรือไม่ได้ผูกขาดการสอนจริยศึกษาแต่เพียงผู้เดียว แต่เป็นวิธีสอนที่ครูพยายามให้นักเรียนมีประชาธิปไตยในการเรียนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น ช่วยทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดีขึ้นครูอาจารย์เป็นกันเองกับนักเรียน คอยแนะนำนักเรียน และนักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากันได้เป็นอย่างดี วิธีนี้ ใช้ได้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไปและในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจะใช้ได้ดียิ่งขึ้น เพราะเด็กวัยนี้มีการพัฒนาการทาง

สติปัญญา สังคม ชอบค้นคว้าหาความรู้ หาข้อเท็จจริงในวิชาความรู้ ชอบทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ที่สำคัญคือนักเรียนระดับนี้ เริ่มมีความคิดที่ดี และเริ่มมีระดับวุฒิภาวะเพิ่มมากขึ้น ผลแห่งวิธีสอนประเภทนี้ จึงทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์มาก มีเจตนคติ และการปฏิบัติทางด้านจริยศึกษาดีขึ้น วิธีสอนประเภทนี้ได้แก่ การอภิปราย การสาธิต การแบ่งหมู่ ศึกษาค้นคว้า และรายงาน และการแสดงละครจริยศึกษา ฯลฯในการสอนจริยศึกษาให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ ครูอาจารย์ ควรจะพิจารณาเลือกใช้วิธีสอน หรือกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง ซึ่งมีทั้งลักษณะที่ครูและนักเรียนเป็นศูนย์กลางหรือเป็นหลักประกอบกันหรือปะปนกันไปให้เหมาะสมกับโอกาส และสภาพของบทเรียน เนื้อหา หัวข้อจริยธรรมแต่ละบท

4.2 วิธีสอนหรือกิจกรรมจริยศึกษาต่อไปนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการเรียน ครูอาจารย์อาจจะจัดวิธีสอนหรือกิจกรรมอื่นใดอีกก็ได้ที่เห็นว่า สามารถทำให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแต่ละหัวข้อเรื่อง หรือแต่ละหัวข้อจริยธรรม ซึ่งมีวิธีสอนหรือกิจกรรม ดังต่อไปนี้

ก. การใช้วิธีสอนแบบบรรยายหรือปาฐกถา ให้ได้ผลดี ครูอาจารย์ควรจะพูดให้กระทัดรัดได้ใจความ ให้นักเรียนเข้าใจง่าย พยายามยกตัวอย่างและใช้ท่าทางประกอบบ้างตาม สมควร ก็จะช่วยให้นักเรียนสนใจเรียนมากขึ้น ตัวอย่างเนื้อหาหัวข้อจริยธรรม ที่ครูอาจารย์อาจใช้วิธีสอนแบบบรรยายได้ เช่น ความระลึกได้ (สติ) ความรู้ตัว (สัมปชัญญะ) ความละอายต่อบาป (หิริ)

 ข. การใช้วิธีสอนแบบการอภิปราย ครูอาจารย์ควรใช้สอดแทรกได้ในทุกเนื้อหาของหัวข้อจริยธรรมที่ต้องการ ให้นักเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง สามารถช่วยกันสรุปได้เองด้วย และฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็น การอภิปรายแก้ปัญหา โดยยั่วยุให้ผู้ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นในเชิงแก้ปัญหาหัวข้อจริยธรรมให้มากที่สุด ตลอดจนแบ่งการอภิปรายแบบไหน จะต้องเตรียมสื่อการเรียนใดที่จำเป็นไว้ให้นักเรียนบ้าง บางโอกาสครูอาจจะต้องช่วยนำ หรือกระตุ้นให้นักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็น ไม่ปล่อยให้นักเรียนอภิปรายอยู่เพียงผู้เดียว และครูอาจารย์ก็ไม่ควรสรุปเรื่องให้นักเรียนเสียเอง ตัวอย่างเนื้อหาของหัวข้อ อิทธิบาท 4 ทั้งหมด ฯลฯ

ค. การใช้วิธีสอนแบบแก้ปัญหา เป็นการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถนำมาใช้สอนจริยศึกษาได้ดี เพื่อจะช่วยฝึกให้นักเรียนได้คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น จะได้นำติดตัวไปใช้แก้ปัญหาต่อไปข้างหน้าอีกด้วย ขั้นตอนของวิธีสอนแบบนี้ ประกอบด้วยปัญหา การตั้งสมมุติ ทดลอง ทำวิเคราะห์ดูผลของการทำ ลองทำ และสรุปผล เช่น การสอน เรื่องการบำเพ็ญประโยชน์ (อัตถจริยา)

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 3
หมายเลขบันทึก: 212244เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท